ชนชาติจีน มีบันทึกประวัติศาสตร์ยาวนานหลายพันปีก่อนพุทธกาล ด้วยบุคลิกลักษณะของชนชาติที่มีความเป็นนักคิด ดังปรากฏคำสอนของนักปราชญ์ชาวจีนที่เป็นอมตะวาจามากมาย ชาวจีนยังเป็นนักต่อสู้สามารถเอาชนะธรรมชาติด้วยการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องทุ่นแรง ที่สำคัญชาวจีนเป็นชนชาติที่นิยมการจดบันทึก (อดุลย์ รัตนมั่นเกษม,๒๕๔๘) ที่นอกจากจะเป็นคุณูปการต่อชนชาติของตนแล้ว ยังก่อประโยชน์แก่ชนชาติอื่นที่ข้องเกี่ยวสัมพันธ์ด้วย ในการค้นคว้าหลักฐานทางประวัติศาสตร์เพื่อศึกษาความเป็นมาในอดีตของชนชาติตน (ต้วน ลี เชิง, พลิกต้นตระกูลไทย) จึงมีหลักฐานยืนยันความเก่าแก่และยิ่งใหญ่ของอารยธรรมจีนในระดับโลก อย่างไรก็ตาม แม้ว่าประเทศจีนจะมีขนาดพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ ๓ ของโลก รองจากประเทศรัสเซียและแคนนาดา ทว่าประชากรจีนกลับมีมากที่สุดในโลก เป็นเหตุให้ทรัพยากรไม่เพียงพอต่อจำนวนประชากรที่หนาแน่น และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างควบคุมได้ยาก ประกอบกับเกิดความยุ่งยากทางการเมือง และขาดแคลนอาหาร
คนจีนจำนวนมากจึงมีความต้องการออกไปเสี่ยงโชคยังดินแดนอื่น โดยเฉพาะการเข้ามายังภูมิภาคแอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีระยะทางใกล้กว่าภูมิภาคอื่นอย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันได้ปรากฏชุมชนคนจีนอยู่ทั่วทุกมุมโลก และมักเป็นกลุ่มคนที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของสังคมนั้นๆ แทบทั้งสิ้น ดังจะเห็นว่าเมืองใหญ่ของแต่ละประเทศล้วนและแต่มี "ไซน่าทาวน์" (China town) ตั้งอยู่ในย่านการค้าด้วยเสมอ
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบุว่า มีคนจีนเดินทางเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัย ต่อเนื่องมาจนถึงสมัยอยุธยาและธนบุรีแต่เชื่อว่าคนจีนรุ่นดังกล่าวได้กลืนกลายเป็นคนไทยไปมากแล้ว ที่ยังคงสืบสายเลือดและวัฒนธรรมจีนอย่างที่เห็นเด่นชัดในปัจจุบัน ส่วนใหญ่เป็นคนจีนที่อพยพเข้ามาในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์เป็นต้นมา
ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีประชากรคนไทยเชื้อสายจีนประมาณ ๘ ล้านคน ส่วนมากเป็นเชื้อสายแต้จิ๋ว ซึ่งมีมากที่สุดคือประมาณ ๕๖ เปอร์เซ็นต์ รองลงมาได้แก่ จีนแคะ ๑๖ เปอร์เซ้นต์ จีนไหหลำ ๑๑ เปอร์เซ็นต์ จีนกวางตุ้ง ๗ เปอร์เซ็นต์ จีนฮกเกี้ยน ๗ เปอร์เซ็นต์ และจีนอื่นๆ ๑๑ เปอร์เซ็นต์ เช่นเดียวกับชุมชนคนจีน
ในจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนจีนแต้จิ๋วเช่นกัน แม้คนแต้จิ๋วจะเป็นคนกลุ่มน้อยในประเทศจีน แต่เนื่องจากเมืองแต้จิ๋วตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ มีเส้นทางการเดินทางมาสู่ประเทศไทยได้ง่ายกว่าคนจีนกลุ่มอื่น อีกทั้งจีนกลุ่มแรกๆ ที่มาลงหลักปักฐานมั่งคงแล้วได้ชักชวนเพื่อนบ้านญาติพี่น้องติดตามกันมาจนกลายเป็นดินแดนเป้าหมายที่คนจีนแต้จิ๋วนิยมมาแสวงโชคเมื่อครั้งอดีต
ด้วยเหตุที่คนจีนในตัวเมืองสมุทรสาครส่วนใหญ่เป็นคนจีนแต้จิ๋ว เช่นเดียวกับคนจีนส่วนใหญ่
ในเมืองไทย คนไทยจึงคุ้นเคยกับผู้คน ภาษา อาหาร และศิลปวัฒนธรรมแบบจีนแต้จิ๋ว ส่วนหนึ่งคงเนื่องมาจากคนแต้จิ๋ว เข้ามาอยู่เมืองไทยก่อนคนจีนกลุ่มอื่นและมีปริมาณมากกว่าคนจีนทุกกลุ่ม รวมทั้งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่มีเชื้อสายแต้จิ๋วและยังได้คนจีนแต้จิ๋วมาเป็นกำลังสำคัญในการสู้รบกอบกู้เอกราชคืนจากพม่า (นิธิ เอียวศรีวงศ์,๒๕๔๗)
การอพยพของคนจีนมายังเมืองไทยในยุคท้ายโดยมากป็นการอพยพทางเรือ เมื่อถึงฝั่งแผ่นดินบริเวณปากแม่น้ำที่ติดกับทะเล อันเป็นทำเลที่ตั้งเหมาะสมสำหรับการประกอบอาชีพก็จับกลุ่มกัน
ตั้งบ้านเรือน เช่น ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ปากแม่น้ำแม่กลองและปากแม่น้ำท่าจีน อันเป็นที่ตั้งของเมืองสมุทรสาคร เป็นต้น ดำเนินชีวิตด้วยการประกอบอาชีพประมง ทำโป๊ะ ผลิตอาหารจากผลผลิตทางทะเล โดยอาศัยภูมิปัญญาดั้งเดิมจากเมืองแม่ สร้างตัวจนมีฐานะมั่งคง กลายเป็นเศรษฐีในท้องถิ่น นอกจากอาชีพประมงแล้วยังพบว่าคนจีนได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจกับรัฐบาล ในตำแหน่งเจ้าภาษีนายอากร เป็นกรรมกรรับจ้างขุดลอกคูคลอง และในภาคเกษตรกรรมซึ่งชาวจีนมีความชำนาญ เนื่องจากพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ประเทศจีนเป็นระบบเกษตรกรรม ที่ได้สั่งสมองค์ความรู้กันมายาวนานอย่างเป็นระบบทำให้มีประสบการณ์ สามารถสร้างผลิตผลทางการเกษตรได้ในปริมาณสูงอย่างต่อเนื่อง เช่น การปลูกอ้อย เพื่อนำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำตาลทรายซึ่งแต่เดิมกิจการทำนองนี้มักดำเนินการโดยชาวตะวันตก เช่น โปรตุเกสและอังกฤษ โดยเฉพาะโรงงานผลิตน้ำตาลทรายบริเวณลุ่มแม่น้ำนครชัยศรีจนตลอดสายแม่น้ำท่าจีน อันเป็นที่ตั้งของจังหวัดสมุทรสาคร แรงงานที่ใช้ในการผลิตน้ำตาลทรายล้วนเป็นคนจีนทั้งสิ้น ตั้งแต่การปลูกอ้อย การเก็บผลผลิต กระบวนการผลิต ระบบธุรกิจ และการขนส่ง รวมถึงพ่อค้าปลีกรายย่อย ก่อนที่น้ำตาลทรายจะเดินทางมาถึงครัวเรือนของคนไทย
หลักฐานเกี่ยวกับการขายของชาวจีนซึ่งปรากฏอยู่ที่เมืองสมุทรสาครที่สำคัญคือ ชื่อบ้านนามเมืองอันเป็นที่รู้จักทั่วไป นั่นคือ"ตำบลท่าจีน"ที่แสดงให้เห็นหลักแหล่งชุมชนคนจีนในอดีต อันมีจุดเริ่มต้นมาจาก "บ้านคนจีน" ที่ทำการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า ต่อมามีการติดต่อกับพ่อค้าต่างถิ่นกระทั่งชุมชนการค้าเจริญเติบโตขยายขึ้นเป็น"เมืองท่าจีน"หลักฐานดังกล่าวแสดงถึงการมีอยู่ของชุมชนการค้าขายของคนจีน ที่น่าจะมีความคับคั่งคึกคักเป็นที่รับรู้ของผู้คนทั่วไป จึงได้มีการเรียกขานชุมชนเมืองท่าค้าขายปากแม่น้ำแห่งนี้ว่า"เมืองท่าจีน"ก่อนจะกลายเป็น"ตำบลท่าจีน"สังกัดหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครปัจจุบัน และยังเป็นชื่อเรียกแม่น้ำสายสำคัญที่มีจุดเริ่มต้นจากแม่น้ำสาขาของแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลท่าซุง อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี ก่อนที่จะไหลลงสู่อ่าวไทยที่ตำบลบางหญ้าแพรก อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ที่บ้านท่าจีน โดยมีชื่อเรียกว่า"แม่น้ำท่าจีน"
อันแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของชุมชนปากแม่น้ำแห่งหนึ่ง ที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีได้เป็นอย่างดี
ในส่วนของคนมอญในจังหวัดสมุทรสาคร ยังมีการเรียกขานชุมชนคนจีนไว้ด้วยเช่นกัน ซึ่งยังคงเรียกขานต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ด้แก่ การกล่าวรียกย่านตลาดการค้าในตำบลมหาชัยว่า"ฟะเจิด"ซึ่งกร่อนคำมาจาก"กวานอะเจิด"แปลว่าหมู่บ้านคนจีน นั่นย่อมแสดงถึงว่า ในสายตาของคนมอญแล้วพ่อค้าแม่ค้าในตลาดมหาชัยในอดีตส่วนใหญ่ล้วนเป็นคนจีนทั้งสิ้น
นอกจากนี้ยังหลงเหลือหลักฐานที่สามารถพบเห็นได้ในปัจจุบันคือ อาคารเรือนแก้วไม้เก่าบริเวณตลาดสุขาภิบาลท่าฉลอม ด้านฝั่งตรงข้ามกับตำบลมหาชัย เรือนแถวยาวแบ่งซอยเป็นห้องขนาดเล็ก เมื่อครั้งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ชาวบ้านเรียกกันว่า"โรงยาฝิ่น"เนื่องจากมีคนจีนจำนวนมาก
มารวมตัวกันดูดยาฝิ่นเป็นที่เปิดเผย ปัจจุบันเรือนแถวไม้ดังกล่าวยังคงอยู่ แต่ทว่าได้รับการปรับปรุงให้เป็นที่อยู่อาศัยของผู้คนในท้องถิ่นตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
คนจีนในเมืองสมุทรสาครเท่าที่ผู้เขียนได้พูดคุยสัมภาษณ์ทั้งรุ่นผู้เฒ่าผู้แก่ และวัยรุ่นหนุ่มสาว ทุกคนล้วนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า รักเมืองไทย รักในทุกสิ่งที่ประกอบขึ้นเป็นคนไทยเชื้อสายจีนในทุกวันนี้ และถือว่าปู่ย่าตายายตัดสินใจถูกต้องแล้วที่เลือกอพยพมาเมืองไทย และแม้จะมีความพึงพอใจในความเป็นคนไทยเชื้อสายจีนเพียงใด แต่ในขณะเดียวกัน พวกเขาต่างก็มีความภาคภูมิใจในเชื้อสายเผ่าพันธุ์ดั้งเดิม พวกเขาต่างหวงแหน เฝ้าเก็บรักษาวัฒนธรรมประเพณีของตนด้วยความกตัญญูไม่ยอมให้สูญสลายหายไปกับกระแสสังคมสมัยใหม่ เพราะต่างเชื่อว่า วัฒนธรรมที่แตกต่างกันสามารถที่จะอยู่ร่วมกันได้ วัฒนธรรมที่แตกต่างหลากหลาย
ในสังคมไทยเปรียบได้กับดอกไม้หลากสีที่ย่อมหนุนเสริมให้สวยเด่นและล้วนงดงามเมื่อยามเบ่งบานอยู่รวมกันชนชาติจีนมีบันทึกประวัติศาสตร์ยาวนานหลายพันปีก่อนพุทธกาล ด้วยบุคลิกลักษณะของชนชาติที่มีความเป็นนักคิด ดังปรากฏคำสอนของนักปราชญ์ชาวจีนที่เป็นอมตะวาจามากมาย ชาวจีนยังเป็นนักต่อสู้สามารถเอาชนะธรรมชาติด้วยการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องทุ่นแรง ที่สำคัญชาวจีนเป็นชนชาติที่นิยมการจดบันทึก (อดุลย์ รัตนมั่นเกษม,๒๕๔๘) ที่นอกจากจะเป็นคุณูปการต่อชนชาติของตนแล้ว ยังก่อประโยชน์แก่ชนชาติอื่นที่ข้องเกี่ยวสัมพันธ์ด้วย ในการค้นคว้าหลักฐานทางประวัติศาสตร์เพื่อศึกษาความเป็นมาในอดีตของชนชาติตน (ต้วน ลี เชิง, พลิกต้นตระกูลไทย) จึงมีหลักฐานยืนยันความเก่าแก่และยิ่งใหญ่ของอารยธรรมจีนในระดับโลก อย่างไรก็ตาม แม้ว่าประเทศจีนจะมีขนาดพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ ๓ ของโลก รองจากประเทศรัสเซียและแคนนาดา ทว่าประชากรจีนกลับมีมากที่สุดในโลก เป็นเหตุให้ทรัพยากรไม่เพียงพอต่อจำนวนประชากรที่หนาแน่น และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างควบคุมได้ยาก ประกอบกับเกิดความยุ่งยากทางการเมือง และขาดแคลนอาหาร
คนจีนจำนวนมากจึงมีความต้องการออกไปเสี่ยงโชคยังดินแดนอื่น โดยเฉพาะการเข้ามายังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีระยะทางใกล้กว่าภูมิภาคอื่นอย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันได้ปรากฏชุมชนคนจีนอยู่ทั่วทุกมุมโลก และมักเป็นกลุ่มคนที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของสังคมนั้นๆ แทบทั้งสิ้น ดังจะเห็นว่าเมืองใหญ่ของแต่ละประเทศล้วนและแต่มี "ไซน่าทาวน์" (China town) ตั้งอยู่ในย่านการค้าด้วยเสมอ
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบุว่า มีคนจีนเดินทางเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัย ต่อเนื่องมาจนถึงสมัยอยุธยาและธนบุรีแต่เชื่อว่าคนจีนรุ่นดังกล่าวได้กลืนกลายเป็นคนไทย
ไปมากแล้ว ที่ยังคงสืบสายเลือดและวัฒนธรรมจีนอย่างที่เห็นเด่นชัดในปัจจุบัน ส่วนใหญ่เป็นคนจีนที่อพยพเข้ามาในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์เป็นต้นมา
ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีประชากรคนไทยเชื้อสายจีนประมาณ ๘ ล้านคน ส่วนมากเป็นเชื้อสายแต้จิ๋ว ซึ่งมีมากที่สุดคือประมาณ ๕๖ เปอร์เซ็นต์ รองลงมาได้แก่ จีนแคะ ๑๖ เปอร์เซ้นต์ จีนไหหลำ ๑๑ เปอร์เซ็นต์ จีนกวางตุ้ง ๗ เปอร์เซ็นต์ จีนฮกเกี้ยน ๗ เปอร์เซ็นต์ และจีนอื่นๆ ๑๑ เปอร์เซ็นต์ เช่นเดียวกับชุมชนคนจีน ในจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนจีนแต้จิ๋วเช่นกัน แม้คนแต้จิ๋วจะเป็นคนกลุ่มน้อยในประเทศจีน แต่เนื่องจากเมืองแต้จิ๋วตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ มีเส้นทางการเดินทางมาสู่ประเทศไทยได้ง่ายกว่าคนจีนกลุ่มอื่น อีกทั้งจีนกลุ่มแรกๆ ที่มาลงหลักปักฐานมั่งคงแล้วได้ชักชวนเพื่อนบ้านญาติพี่น้องติดตามกันมา จนกลายเป็นดินแดนเป้าหมายที่คนจีนแต้จิ๋วนิยมมาแสวงโชคเมื่อครั้งอดีต
ด้วยเหตุที่คนจีนในตัวเมืองสมุทรสาครส่วนใหญ่เป็นคนจีนแต้จิ๋ว เช่นเดียวกับคนจีนส่วนใหญ่
ในเมืองไทย คนไทยจึงคุ้นเคยกับผู้คน ภาษา อาหาร และศิลปวัฒนธรรมแบบจีนแต้จิ๋ว ส่วนหนึ่งคงเนื่องมาจากคนแต้จิ๋ว เข้ามาอยู่เมืองไทยก่อนคนจีนกลุ่มอื่นและมีปริมาณมากกว่าคนจีนทุกกลุ่ม รวมทั้งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่มีเชื้อสายแต้จิ๋วและยังได้คนจีนแต้จิ๋วมาเป็นกำลังสำคัญในการสู้รบกอบกู้เอกราชคืนจากพม่า (นิธิ เอียวศรีวงศ์,๒๕๔๗)
การอพยพของคนจีนมายังเมืองไทยในยุคท้ายโดยมากป็นการอพยพทางเรือ เมื่อถึงฝั่งแผ่นดินบริเวณปากแม่น้ำที่ติดกับทะเล อันเป็นทำเลที่ตั้งเหมาะสมสำหรับการประกอบอาชีพก็จับกลุ่มกันตั้งบ้านเรือน เช่น ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ปากแม่น้ำแม่กลองและปากแม่น้ำท่าจีน อันเป็นที่ตั้งของเมืองสมุทรสาคร เป็นต้น ดำเนินชีวิตด้วยการประกอบอาชีพประมง ทำโป๊ะ ผลิตอาหารจากผลผลิตทางทะเล โดยอาศัยภูมิปัญญาดั้งเดิมจากเมืองแม่ สร้างตัวจนมีฐานะมั่งคง กลายเป็นเศรษฐีในท้องถิ่น นอกจากอาชีพประมงแล้วยังพบว่าคนจีนได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจกับรัฐบาล ในตำแหน่งเจ้าภาษีนายอากร เป็นกรรมกรรับจ้างขุดลอกคูคลอง และในภาคเกษตรกรรมซึ่งชาวจีนมีความชำนาญ เนื่องจากพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ประเทศจีนเป็นระบบเกษตรกรรม ที่ได้สั่งสมองค์ความรู้กันมายาวนานอย่างเป็นระบบทำให้มีประสบการณ์ สามารถสร้างผลิตผลทางการเกษตรได้ในปริมาณสูงอย่างต่อเนื่อง เช่น การปลูกอ้อย เพื่อนำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำตาลทรายซึ่งแต่เดิมกิจการทำนองนี้มักดำเนินการโดยชาวตะวันตก เช่น โปรตุเกสและอังกฤษ โดยเฉพาะโรงงานผลิตน้ำตาลทรายบริเวณลุ่มแม่น้ำนครชัยศรีจนตลอดสายแม่น้ำท่าจีน อันเป็นที่ตั้งของจังหวัดสมุทรสาคร แรงงานที่ใช้ในการผลิตน้ำตาลทรายล้วนเป็นคนจีนทั้งสิ้น ตั้งแต่การปลูกอ้อย การเก็บผลผลิต กระบวนการผลิต ระบบธุรกิจ และการขนส่ง รวมถึงพ่อค้าปลีกรายย่อย ก่อนที่น้ำตาลทรายจะเดินทางมาถึงครัวเรือนของคนไทย
หลักฐานเกี่ยวกับการขายของชาวจีนซึ่งปรากฏอยู่ที่เมืองสมุทรสาครที่สำคัญคือ ชื่อบ้านนามเมืองอันเป็นที่รู้จักทั่วไป นั่นคือ"ตำบลท่าจีน"ที่แสดงให้เห็นหลักแหล่งชุมชนคนจีนในอดีต อันมีจุดเริ่มต้นมาจาก "บ้านคนจีน" ที่ทำการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า ต่อมามีการติดต่อกับพ่อค้าต่างถิ่นกระทั่งชุมชนการค้าเจริญเติบโตขยายขึ้นเป็น"เมืองท่าจีน"หลักฐานดังกล่าวแสดงถึงการมีอยู่ของชุมชนการค้าขายของคนจีน ที่น่าจะมีความคับคั่งคึกคักเป็นที่รับรู้ของผู้คนทั่วไป จึงได้มีการเรียกขานชุมชนเมืองท่าค้าขายปากแม่น้ำแห่งนี้ว่า"เมืองท่าจีน"ก่อนจะกลายเป็น"ตำบลท่าจีน"สังกัดหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครปัจจุบัน และยังเป็นชื่อเรียกแม่น้ำสายสำคัญที่มีจุดเริ่มต้นจากแม่น้ำสาขาของแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลท่าซุง อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี ก่อนที่จะไหลลงสู่อ่าวไทยที่ตำบลบางหญ้าแพรก อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ที่บ้านท่าจีน โดยมีชื่อเรียกว่า"แม่น้ำท่าจีน"อันแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของชุมชนปากแม่น้ำแห่งหนึ่ง ที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีได้เป็นอย่างดี
ในส่วนของคนมอญในจังหวัดสมุทรสาคร ยังมีการเรียกขานชุมชนคนจีนไว้ด้วยเช่นกัน ซึ่งยังคงเรียกขานต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ด้แก่ การกล่าวรียกย่านตลาดการค้าในตำบลมหาชัยว่า"ฟะเจิด"
ซึ่งกร่อนคำมาจาก"กวานอะเจิด"แปลว่าหมู่บ้านคนจีน นั่นย่อมแสดงถึงว่า ในสายตาของคนมอญแล้วพ่อค้าแม่ค้าในตลาดมหาชัยในอดีตส่วนใหญ่ล้วนเป็นคนจีนทั้งสิ้น
นอกจากนี้ยังหลงเหลือหลักฐานที่สามารถพบเห็นได้ในปัจจุบันคือ อาคารเรือนแก้วไม้เก่าบริเวณตลาดสุขาภิบาลท่าฉลอม ด้านฝั่งตรงข้ามกับตำบลมหาชัย เรือนแถวยาวแบ่งซอยเป็นห้องขนาดเล็ก เมื่อครั้งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ชาวบ้านเรียกกันว่า
"โรงยาฝิ่น"เนื่องจากมีคนจีนจำนวนมาก มารวมตัวกันดูดยาฝิ่นเป็นที่เปิดเผย ปัจจุบันเรือนแถวไม้ดังกล่าวยังคงอยู่ แต่ทว่าได้รับการปรับปรุงให้เป็นที่อยู่อาศัยของผู้คนในท้องถิ่นตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
คนจีนในเมืองสมุทรสาครเท่าที่ผู้เขียนได้พูดคุยสัมภาษณ์ทั้งรุ่นผู้เฒ่าผู้แก่ และวัยรุ่นหนุ่มสาว ทุกคนล้วนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า รักเมืองไทย รักในทุกสิ่งที่ประกอบขึ้นเป็นคนไทยเชื้อสายจีนในทุกวันนี้ และถือว่าปู่ย่าตายายตัดสินใจถูกต้องแล้วที่เลือกอพยพมาเมืองไทย และแม้จะมีความพึงพอใจในความเป็นคนไทยเชื้อสายจีนเพียงใด แต่ในขณะเดียวกัน พวกเขาต่างก็มีความภาคภูมิใจในเชื้อสายเผ่าพันธุ์ดั้งเดิม พวกเขาต่างหวงแหน เฝ้าเก็บรักษาวัฒนธรรมประเพณีของตนด้วยความกตัญญูไม่ยอมให้สูญสลายหายไปกับกระแสสังคมสมัยใหม่ เพราะต่างเชื่อว่า วัฒนธรรมที่แตกต่างกันสามารถที่จะอยู่ร่วมกันได้ วัฒนธรรมที่แตกต่างหลากหลาย ในสังคมไทยเปรียบได้กับดอกไม้หลากสีที่ย่อมหนุนเสริมให้สวยเด่นและล้วนงดงามเมื่อยามเบ่งบานอยู่รวมกัน