ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 31' 8.3996"
13.5189999
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 8' 32.0136"
100.1422260
เลขที่ : 193787
ไทยพื้นถิ่น
เสนอโดย สมุทรสาคร วันที่ 11 มิถุนายน 2564
อนุมัติโดย สมุทรสาคร วันที่ 16 มิถุนายน 2564
จังหวัด : สมุทรสาคร
0 456
รายละเอียด

คนไทยพื้นถิ่นสมุททรสาครนั้น คาดว่าคงมีความเป็นมาไม่ต่างจากคนไทยพื้นถิ่นในส่วนอื่นๆของประเทศไทย นั่นคือ เชื่อกันว่าเป็นผู้คนที่มีมาแต่โบราณดั้งเดิม ไม่อาจระบุที่มาหรือเชื้อชาติในสายเลือดได้แน่ชัดอาจเกิดจากการรวมกันเข้ากับ พ่อค้า นักบวช นักรบ
นักเสี่ยงโชค และนักเดินทางจากทุกหนแห่งและตลอดเวลา มีปฏิสัมพันธ์กันทางสังคมผ่านการค้าขาย การเผยแผ่ศาสนา การเมือง การสงคราม รูปแบบวิถีชีวิตหรือวัฒนธรรมในระยะเริ่มแรกอาจเป็นไปในแบบแยกส่วน ต่างคนต่างอยู่ตามแบบแผนของใครของมัน หรือเอาแบบอย่างรับอิทธิพลระหว่างกันบ้าง ต่อเมื่อมีการยอมรับนับถือศาสนาที่เข้ามาจากนอกภูมิภาค การค้าขายการกวาดต้อนผู้คนในแบบ "เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง" รูปแบบการทำสงครามแบบชาวเอเชียที่ผู้ชนะไม่ได้ยึดครองบ้านเมืองของผู้พ่ายแพ้ แต่กวาดต้อนผู้คนกลับมาเป็นกำลังให้กับบ้านเมืองของตนเอง ตลอดจนการแต่งงานระหว่างคนต่างกลุ่ม เหล่านี้ล้วนก่อเกิดเป็นวัฒนธรรมลูกผสม ครั้นเนิ่นนานมาจึงกลืนกลายขาดหายเรื่องเล่าแหล่งที่มา ไม่อาจแบ่งแยกแบบแผนวิถีชีวิตหรือวัฒนธรรม ตลอดจนสายเลือดที่ผ่านการคัดสรรหรือหลอมรวมจนเป็นน้ำเนื้อเดียวกันออกจากกันได้เกิดเป็นไทยพื้นถิ่นในวันนี้

"ชาวไทยพื้นถิ่น" ในจังหวัดสมุทรสาคร ปัจจุบันจึงน่าจะหมายถึงผู้คนที่อยู่ในวัฒนธรรมไทยและอาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครมาแต่ดั้งเดิม กล่าวคือ เป็นกลุ่มคนที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในที่ราบภาคกลาง
อย่างน้อยตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เป็นต้นมา พื้นที่สมุทรสาครสมัยนั้นน่าจะเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนสุวรรณภูมิ จากการขุดค้นพบหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์โบราณคดีจำนวนมาก ที่กล่าวถึงความรุ่งเรืองของอาณาจักรสุวรรณภูมิ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นพื้นที่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออุษาคเนย์ (
Southeast Asia) หลายประเทศเชื่อกันว่าตนเองเป็นศูนย์กลางของสุวรรณภูมิ รวมทั้งประเทศไทยที่นอกจากจะเชื่อว่าศูนย์กลางของสุวรรณภูมิอยู่ในดินแดนประเทศไทยแล้ว นักวิชาการจำนวนหนึ่งยังเชื่อว่า ศูนย์กลางดังกล่าวน่าจะอยู่ในพื้นที่ที่เมืองสุพรรณบุรีอีกด้วย นอกจากนี้เส้นทางน้ำที่ก่อให้เกิดความมั่งคั่งจากการค้าทางทะเล
สายสำคัญของสุพรรณบุรีที่เรียกกันว่า "แม่น้ำสุพรรณบุรี" ซึ่งแยกตัวออกจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ชัยนาทตรงปากคลองมะขามเฒ่า ตรงนั้นจึงได้ชื่อว่า "แม้น้ำมะขามเฒ่า" และเมื่อไหลจากสุพรรณบุรีผ่านเมืองโบราณ
นครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นเมืองสำคัญเมื่อยุคโบราณทวารวดีก็ได้ชื่อว่า "แม่น้ำนครชัยศรี" กระทั่งออกสู่อ่าวไทย ยังชุมชนชาวประมงที่ต่อมามีพัฒนาการเป็นลำดับภายหลังดินดอนปากแม่น้ำทับถมตื้นเขินเกิดเป็นแผ่นดิน ผู้คนอพยพเข้ามาจับจองสร้างบ้านเรือนในลำเลที่ตั้งอันเหมาะสม กระทั่งพ่อค้าจากเอเชียตะวันออก ตะวันออกกลาง และมลายู แล่นสำเภาเข้ามาจอดเพื่อค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้ากัน จากชุมชนชาวประมงชายฝั่งทะเลขนาดเล็กกลายเป็นชุมชนการค้าขนาดใหญ่เกิดเป็น "บ้านท่าจีน" ครั้นปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙
เกิดอาณาจักรใหม่ขนาดใหญ่บนที่ราบภาคกลาง ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา นามว่า กรุงศรีอยุธยา "บ้านท่าจีน"
จึงได้รับการเลื่อนสถานะเป็นหัวเมืองชายทะเล ทำหน้าที่เมืองหน้าด่านคอยเฝ้าระวังศึกสงครามที่อาจเข้ามาทางทะเลจากความสำคัญ ดังกล่าวจึงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นเมืองสาครบุรี กลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ส่วนแม่น้ำสายเดียวกันนั้นได้ชื่อว่า "แม่น้ำท่าจีน" ตามชื่อชุมชนการค้าชายทะเล และเป็นสายเลือดหลักหล่อเลี้ยงจังหวัดสมุทรสาครในปัจจุบัน

กลุ่มคนไทยพื้นถิ่นย่านนี้ปรับตัวประกอบอาชีพตามลักษณะสภาพแวดล้อมอันพิเศษของสมุทรสาคร
ที่มี ๓ น้ำ ได้แก่ เขตน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มน้ำจืด ดังนั้น คนไทยพื้นถิ่นสมุทรสาครส่วนใหญ่จึงเคลื่อนย้ายเข้าไปตั้งบ้านเรือนใกล้กับที่ราบลุ่มซึ่งเหมาะแก่การทำนา แม้จะไกลจากทางสายน้ำหลัก แต่ก็เข้าถึงได้ด้วยทางน้ำสายน้ำรอง คือ คลองสาขาที่แยกย่อยจากแม่น้ำท่าจีน และคลองหลักต่างๆ ดำรงชีพด้วยการทำนาปลูกข้าว ทำไร่อ้อย และสวนผลไม้ ส่วนกลุ่มคนไทยพื้นถิ่นที่ตั้งบ้านเรือน
ริมแม่น้ำท่าจีนและชายฝั่งทะเล นิยมประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน จับปลาทะเล ปลาน้ำจืด แปรรูปทำปลาเค็ม
กุ้งแห้ง กะปิ และน้ำปลา กลุ่มที่ตั้งบ้านเรือนในเขตน้ำกร่อย คือ ริมคลองสุนัขหอน คลองมหาชัย และใกล้เคียง ซึ่งมีป่าจากและไม้ยืนต้นขึ้นอยู่มากมายนิยมประกอบอาชีพตัดจาก เย็บจากตัดฝืน เผาถ่านส่วนกลุ่มที่
ตั้งบ้านเรือนในเขตน้ำเค็มและอยู่ไม่ห่างจากทะเลนิยมประกอบอาชีพทำนาเกลือและประมงน้ำลึก

คนไทยพื้นถิ่นสมุททรสาครนั้น คาดว่าคงมีความเป็นมาไม่ต่างจากคนไทยพื้นถิ่นในส่วนอื่นๆของประเทศไทย นั่นคือ เชื่อกันว่าเป็นผู้คนที่มีมาแต่โบราณดั้งเดิม ไม่อาจระบุที่มาหรือเชื้อชาติในสายเลือดได้แน่ชัด อาจเกิดจากการรวมกันเข้ากับ พ่อค้า นักบวช นักรบ นักเสี่ยงโชค และนักเดินทางจากทุกหนแห่งและตลอดเวลา มีปฏิสัมพันธ์กันทางสังคมผ่านการค้าขาย การเผยแผ่ศาสนา การเมือง การสงคราม รูปแบบวิถีชีวิตหรือวัฒนธรรมในระยะเริ่มแรกอาจเป็นไปในแบบแยกส่วน ต่างคนต่างอยู่ตามแบบแผนของใครของมัน หรือเอาแบบอย่างรับอิทธิพลระหว่างกันบ้าง ต่อเมื่อมีการยอมรับนับถือศาสนาที่เข้ามาจากนอกภูมิภาค การค้าขายการกวาดต้อนผู้คนในแบบ "เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง" รูปแบบการทำสงครามแบบชาวเอเชียที่ผู้ชนะไม่ได้ยึดครองบ้านเมืองของผู้พ่ายแพ้ แต่กวาดต้อนผู้คนกลับมาเป็นกำลังให้กับบ้านเมืองของตนเอง ตลอดจนการแต่งงานระหว่างคนต่างกลุ่ม เหล่านี้ล้วนก่อเกิดเป็นวัฒนธรรมลูกผสม ครั้นเนิ่นนานมาจึงกลืนกลายขาดหายเรื่องเล่าแหล่งที่มา ไม่อาจแบ่งแยกแบบแผนวิถีชีวิตหรือวัฒนธรรม ตลอดจนสายเลือดที่ผ่านการคัดสรรหรือหลอมรวมจนเป็นน้ำเนื้อเดียวกันออกจากกันได้เกิดเป็นไทยพื้นถิ่นในวันนี้

"ชาวไทยพื้นถิ่น" ในจังหวัดสมุทรสาคร ปัจจุบันจึงน่าจะหมายถึงผู้คนที่อยู่ในวัฒนธรรมไทยและอาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครมาแต่ดั้งเดิม กล่าวคือ เป็นกลุ่มคนที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในที่ราบภาคกลาง
อย่างน้อยตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เป็นต้นมา พื้นที่สมุทรสาครสมัยนั้นน่าจะเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนสุวรรณภูมิ จากการขุดค้นพบหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์โบราณคดีจำนวนมาก ที่กล่าวถึงความรุ่งเรืองของอาณาจักรสุวรรณภูมิ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นพื้นที่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออุษาคเนย์ (Southeast Asia) หลายประเทศเชื่อกันว่าตนเองเป็นศูนย์กลางของสุวรรณภูมิ รวมทั้งประเทศไทยที่นอกจากจะเชื่อว่าศูนย์กลางของสุวรรณภูมิอยู่ในดินแดนประเทศไทยแล้ว นักวิชาการจำนวนหนึ่งยังเชื่อว่า ศูนย์กลางดังกล่าวน่าจะอยู่ในพื้นที่ที่เมืองสุพรรณบุรีอีกด้วย นอกจากนี้เส้นทางน้ำที่ก่อให้เกิดความมั่งคั่งจากการค้าทางทะเล
สายสำคัญของสุพรรณบุรีที่เรียกกันว่า "แม่น้ำสุพรรณบุรี" ซึ่งแยกตัวออกจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ชัยนาทตรงปากคลองมะขามเฒ่า ตรงนั้นจึงได้ชื่อว่า "แม้น้ำมะขามเฒ่า" และเมื่อไหลจากสุพรรณบุรีผ่านเมืองโบราณ
นครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นเมืองสำคัญเมื่อยุคโบราณทวารวดีก็ได้ชื่อว่า "แม่น้ำนครชัยศรี" กระทั่งออกสู่อ่าวไทย ยังชุมชนชาวประมงที่ต่อมามีพัฒนาการเป็นลำดับภายหลังดินดอนปากแม่น้ำทับถมตื้นเขินเกิดเป็นแผ่นดิน ผู้คนอพยพเข้ามาจับจองสร้างบ้านเรือนในลำเลที่ตั้งอันเหมาะสม กระทั่งพ่อค้าจากเอเชียตะวันออก ตะวันออกกลาง และมลายู แล่นสำเภาเข้ามาจอดเพื่อค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้ากัน จากชุมชนชาวประมงชายฝั่งทะเลขนาดเล็กกลายเป็นชุมชนการค้าขนาดใหญ่เกิดเป็น "บ้านท่าจีน" ครั้นปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙
เกิดอาณาจักรใหม่ขนาดใหญ่บนที่ราบภาคกลาง ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา นามว่า กรุงศรีอยุธยา "บ้านท่าจีน"
จึงได้รับการเลื่อนสถานะเป็นหัวเมืองชายทะเล ทำหน้าที่เมืองหน้าด่านคอยเฝ้าระวังศึกสงครามที่อาจเข้ามาทางทะเลจากความสำคัญ ดังกล่าวจึงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นเมืองสาครบุรี กลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ส่วนแม่น้ำสายเดียวกันนั้นได้ชื่อว่า "แม่น้ำท่าจีน" ตามชื่อชุมชนการค้าชายทะเล และเป็นสายเลือดหลักหล่อเลี้ยงจังหวัดสมุทรสาครในปัจจุบัน

กลุ่มคนไทยพื้นถิ่นย่านนี้ปรับตัวประกอบอาชีพตามลักษณะสภาพแวดล้อมอันพิเศษของสมุทรสาคร
ที่มี ๓ น้ำ ได้แก่ เขตน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มน้ำจืด ดังนั้น คนไทยพื้นถิ่นสมุทรสาครส่วนใหญ่จึงเคลื่อนย้ายเข้าไปตั้งบ้านเรือนใกล้กับที่ราบลุ่มซึ่งเหมาะแก่การทำนา แม้จะไกลจากทางสายน้ำหลัก แต่ก็เข้าถึงได้ด้วยทางน้ำสายน้ำรอง คือ คลองสาขาที่แยกย่อยจากแม่น้ำท่าจีน และคลองหลักต่างๆ ดำรงชีพด้วยการทำนาปลูกข้าว ทำไร่อ้อย และสวนผลไม้ ส่วนกลุ่มคนไทยพื้นถิ่นที่ตั้งบ้านเรือน
ริมแม่น้ำท่าจีนและชายฝั่งทะเล นิยมประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน จับปลาทะเล ปลาน้ำจืด แปรรูปทำปลาเค็ม
กุ้งแห้ง กะปิ และน้ำปลา กลุ่มที่ตั้งบ้านเรือนในเขตน้ำกร่อย คือ ริมคลองสุนัขหอน คลองมหาชัย และใกล้เคียง ซึ่งมีป่าจากและไม้ยืนต้นขึ้นอยู่มากมายนิยมประกอบอาชีพตัดจาก เย็บจากตัดฝืน เผาถ่านส่วนกลุ่มที่
ตั้งบ้านเรือนในเขตน้ำเค็มและอยู่ไม่ห่างจากทะเลนิยมประกอบอาชีพทำนาเกลือและประมงน้ำลึก

ปัจจุบัน คนไทยพื้นถิ่นได้อยู่อาศัยกลมกลืนกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ตั้งแต่
ราวสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นต้นมาจนถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้แก่ ชาวจีน มอญ ไทยทรงดำ รวมทั้งคนไทยจากภูมิภาคอื่นๆ ที่เคลื่อนย้ายเข้ามาทำมาหากินและตั้งถิ่นฐานในระยะหลัง เช่น ชาวมุสลิม ชาวจีนโพ้นทะเล และชาวอีสาน เป็นต้น รวมถึงกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่เข้ามาค้าขายแรงงานและมีแนวโน้มที่จะลงหลักปักฐาน
ในระยะยาว เช่น ชาวมอญ พม่า กะเหรี่ยง ทวาย ไทใหญ่ ชิน กะฉิ่น และปะโอ ดังนั้นประชากรที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสมุทรสาครปัจจุบัน ทั้งประชากรที่ปรากฏตามทะเบียนบ้านและประชาการแฝง โดยเฉพาะในชุมชนขนาดใหญ่ย่านเขตอุตสาหกรรม จึงเป็นการผสมผสานทางชาติพันธุ์ระหว่างคนไทยพื้นถิ่นที่อยู่มาแต่เดิม
กลุ่มคนไทยเชื้อสายต่างๆ และกลุ่มคนที่เข้ามาอยู่ใหม่ด้วยสาเหตุนี้ วัฒนธรรมคนไทยพื้นถิ่นในจังหวัดสมุทรสาคร จึงมีลักษณะของการผสมผสานสูง เช่น ชุมชนขนาดใหญ่ที่มีคนไทยเชื้อสายจีนเป็นกล่มคนที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่าง "มหาชัย-ท่าฉลอม" ได้มีการผสมผสานหลอมรวมประเพณีความเชื่อเกี่ยวกับ "เจ้าที่" แบบชาวไทยพื้นถิ่นเข้ากับ "เทพเจ้า" แบบชาวจีน ดังปรากฏในรูปของ "เจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาคร"

ที่ผสมผสานทั้งตำนานรูปแบบความเชื่อ เนื้อหาพิธีกรรม งานศิลปกรรมและรูปแบบการเฉลิมฉลอง หรือเทศกาลกินเจของชาวจีนซึ่งปรากฏว่า ประเพณีการถือศีลกินเจนี้ไม่พบในประเทศจีนแต่อย่างใด หากแต่พบได้เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น นับได้ว่าเป็นประเพณีลูกผสมที่เกิดขึ้นในเมืองไทยโดยชาวไทยพื้นถิ่นกับชาวจีนในประเทศไทยปัจจุบัน คนไทยพื้นถิ่นได้อยู่อาศัยกลมกลืนกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ตั้งแต่
ราวสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นต้นมาจนถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้แก่ ชาวจีน มอญ ไทยทรงดำ รวมทั้งคนไทยจากภูมิภาคอื่นๆ ที่เคลื่อนย้ายเข้ามาทำมาหากินและตั้งถิ่นฐานในระยะหลัง เช่น ชาวมุสลิม ชาวจีนโพ้นทะเล และชาวอีสาน เป็นต้น รวมถึงกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่เข้ามาค้าขายแรงงานและมีแนวโน้มที่จะลงหลักปักฐาน
ในระยะยาว เช่น ชาวมอญ พม่า กะเหรี่ยง ทวาย ไทใหญ่ ชิน กะฉิ่น และปะโอ ดังนั้นประชากรที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสมุทรสาครปัจจุบัน ทั้งประชากรที่ปรากฏตามทะเบียนบ้านและประชาการแฝง โดยเฉพาะในชุมชนขนาดใหญ่ย่านเขตอุตสาหกรรม จึงเป็นการผสมผสานทางชาติพันธุ์ระหว่างคนไทยพื้นถิ่นที่อยู่มาแต่เดิม
กลุ่มคนไทยเชื้อสายต่างๆ และกลุ่มคนที่เข้ามาอยู่ใหม่ด้วยสาเหตุนี้ วัฒนธรรมคนไทยพื้นถิ่นในจังหวัดสมุทรสาคร จึงมีลักษณะของการผสมผสานสูง เช่น ชุมชนขนาดใหญ่ที่มีคนไทยเชื้อสายจีนเป็นกล่มคนที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่าง "มหาชัย-ท่าฉลอม" ได้มีการผสมผสานหลอมรวมประเพณีความเชื่อเกี่ยวกับ "เจ้าที่" แบบชาวไทยพื้นถิ่นเข้ากับ "เทพเจ้า" แบบชาวจีน ดังปรากฏในรูปของ "เจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาคร"
ที่ผสมผสานทั้งตำนานรูปแบบความเชื่อ เนื้อหาพิธีกรรม งานศิลปกรรมและรูปแบบการเฉลิมฉลอง หรือเทศกาลกินเจของชาวจีนซึ่งปรากฏว่า ประเพณีการถือศีลกินเจนี้ไม่พบในประเทศจีนแต่อย่างใด หากแต่พบได้เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น นับได้ว่าเป็นประเพณีลูกผสมที่เกิดขึ้นในเมืองไทยโดยชาวไทยพื้นถิ่นกับชาวจีนในประเทศไทย

หมวดหมู่
ชาติพันธุ์
สถานที่ตั้ง
ตำบล บางโทรัด อำเภอ เมืองสมุทรสาคร จังหวัด สมุทรสาคร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
หนังสือมรดกภูมิปัญญา พหุวัฒนธรรมชาติพันธ์สาครบุรี
บุคคลอ้างอิง สุภาพร สิรวณิชย์ อีเมล์ culture-skn@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสมุทรสาคร
จังหวัด สมุทรสาคร รหัสไปรษณีย์ 74000
โทรศัพท์ 034411325 โทรสาร 034411325
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่