ปูม ปุณศรี ถือกำเนิด ๑๐ เมษายน ๒๔๑๙ ท่านเป็นคหบดี ชาวจันทบุรี ที่กระเหม็ด กระแหม่ เก็บเล็กผสมน้อย ถือกำเนิดมาจากหลวงประมวญราชทรัพย์ จีนจำปา และนางเปี่ยม ปุณศรี ครอบครัวนายกองส่วยทองคำ ผู้มีความเป็นผู้มัธยัสถ์ ด้วยเพราะท่าน มีครอบครัวใหญ่ และเด็กๆ ลูกเลี้ยง ทั้งลูกตัวและลูก เด็กงาน ในโรงบ่มยาง บ้านนายฝรั่ง ผู้ร่วมค้าน้ำยาง และผู้นำเม็ดยางพารา จากทางใต้มาปลูก ๖๐ ต้น ตายหมดจนเหลือ ๓ ต้น นั่นคือจุดเริ่มต้นเก็บเม็ดสามต้นนี้ มาบ่มเพาะ ลองผิดลองถูก และใช้วิธีขี่ม้าตาบอด โดยนายมาก คนงานคนสนิทเลี้ยงไว้ ใช้ขี่ ม้า แล้วใช้หนังสติ๊ก ยิงลูกยางทิศต่างๆ ทั่วผืนไร่ แบบขึ้นสะเปะ สะปะ จนเต็มพื้นที่เป็นร้อยไร่ จนขยายไปเป็นพันไร่ ด้วยจุดเริ่มต้นยางจันทบุรี บางครั้ง ต้องลงเข้าสวนจากบ้านริมน้ำไปทางเกวียนโดยวัวชื่อ เจ้าร่มโพธิ์ ร่มไทร บรรทุกปุ๋ยมูล และสิ่งของไปดูแลสวนที่ ห้องคูหา หน้าเขาสระบาป จนเป็นที่มา สวนและบ้านนายฝรั่งผู้ร่วมค้าส่งออกผลิตภัณฑ์จากยางพารา บางครั้ง เพื่อให้ทันเวลา และบรรทุกมาก จะใช้บริการรถสัมปทานเดินรถของนายซองกุ่ย ศรีบุญเรือง (เจ้าสัวจีนฮกเกี้ยน คนใต้บังคับฝรั่งเศส จันทบุรียุคแรก จนมาเป็นคหบดีผู้มั่งคั่ง ตระกูลใหญ่สมเกียรติ ของวงศ์ชาวจันทบุรี) บรรทุก สัมภาระไปสู่ท่าเรือ และส่งของไปยังบริษัท The East Asiatic nation company ที่ริมน้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นโรงเก็บสินค้าก่อนขึ้น สำเภาใหญ่ ค้าส่งออก จนเป็น ที่มาที่ปรึกษา รัชกาลที่ ๖ จนได้รับตำแหน่งหลวงราชไมตรี โดยไม่เคยสอบเข้ารับราชการ ถือเป็นบุคลกรสำคัญของโลก วงการค้าต่างประเทศ ความที่ท่านมีลูกหลาน มาก ต้องมีเรือนนอน แบ่งแยกชายหญิง จึงเรียกว่า ห้องนักเรียนชาย ห้องนักเรียนหญิง สอนถ่ายทอดทั้งงานเก็บน้ำยาง มาหมัก ทำอัดแผ่น รีด รมควัน บ่มแห้ง ด้วยระบบโบราณ โดยใช้ฟืนไฟ จนถึงสอนให้รู้จักเพาะพันธุ์เมล็ดยาง เรียกว่า ติ่มยาง เพื่อขยายพันธุ์ต่อไป เด็กๆ จึงเรียกนายพ่อ ซึ่งเป็นทั้งพ่อ เป็นทั้งนาย ๑๕๐ กว่าปีผ่านไป ยางพารายุคเก่าโค่นทิ้ง จนปลูกยางพันธุ์ใหม่ สวนก็ตกมาถึงรุ่นลูกคือนายประพันธ์ ปุณศรี และรุ่นหลานนายมนตรี ปุณศรี (ท่านให้เกียรติเล่า และบอกที่มาอย่างละเอียด)ใจดีและบอกให้ทราบว่า ลูกชายคนสุดท้าย นายประพันธ์ อายุวัย ๙๐ กว่าปี ปู่ชรานอนติดเตียงแล้ว สวนยาง อีสเอเซียติก ก็ยังคงสภาพเดิม ใช้ระบบบริหารและการทำยางด้วยแรงมือคนงาน ทั้งระบบ ริมถนนสายบางนา-ตราด หมู่บ้านห้องคูหา ตำบลคลองนารายณ์ จันทบุรียังต้อนรับ นักประวัติศาสตร์ เรียนรู้รุ่นหลังอย่าง
สำหรับต้นยางพาราชุดแรกในสวนหลวงราชไมตรีแม้จะเหลืออยู่เพียงไม่กี่ต้น แต่หนึ่งในนั้นก็คือ ต้นยางที่ว่ากันว่าใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ยางต้นนี้มีเส้นรอบวง7 เมตร หรือสี่คนโอบ ตามคำบอกเล่าต่อๆกันมาของชาวบ้านที่นี่ เชื่อว่า“หากผู้ใดคิดกรีดยางจากต้นยางต้นนี้ จะต้องมีเรื่องไม่คาดฝันเกิดขึ้นกับผู้นั้นเสมอ”ทำให้ยางพาราต้นนี้จึงไม่เคยผ่านการกรีดมาเลย
รถคันแรก จิ๊บ ฟอร์ด อเมริกันคันแรกของจันทบุรี ทะเบียน จบ.๐๐๐๑ ยังอยู่หรือไม่
มอเตอไซด์ฮาเล่ย์ คันแรกจันทบุรี จบ.๐๐๑ ของลูกชายท่าน ยังอยู่หรือไม่หวังว่า คงได้ยลโฉมมันอีกครั้งหนึ่ง
ขุนสุริยเดช ชมศาสตร์ ๘ มิถุนายน ๒๕๖๑ ร้อยเรียง