ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 7° 59' 3.5192"
7.9843109
ลองจิจูด (แวง) : E 98° 19' 50.6885"
98.3307468
เลขที่ : 193901
ฮูแช้
เสนอโดย ภูเก็ต วันที่ 15 กรกฎาคม 2564
อนุมัติโดย ภูเก็ต วันที่ 12 ตุลาคม 2565
จังหวัด : ภูเก็ต
0 753
รายละเอียด

ฮูแช้หรือ ที่ใครต่อใครกล่าวขานกันว่า นี่คือสลัดผักสไตล์ภูเก็ต รับประทานโดยราดกับน้ำจิ้มพริกแห้งถ้าปัจจุบันก็น่าจะใช่ที่สามารถเรียกอย่างนั้น เนื่องจากพ่อค้าแม่ขาย มักจะทำฮูแช้โดยใช้ผักสดเป็นส่วนประกอบหลัก ไม่ว่าจะเป็น ผักกาดหอม แครอทซอย มันแกวซอย แตงกวาหั่นซอย บ้างก็มีเมล็ดข้าวโพดต้มสุก

แต่แท้ที่จริงแล้ว ฮูแช้ในสมัยก่อนส่วนประกอบหลักที่ขาดไม่ได้ คือจะต้องมีผักบุ้งลวก ถั่วงอกลวก ปลาหมึกแช่ด่างแต่ปัจจุบันที่ขายกันอยู่ในท้องตลาด ไม่นิยมใส่กัน ซึ่งไม่ทราบว่าทำไม แต่คาดว่าน่าจะเป็นเพราะกลิ่นของผักลวก ถ้าทิ้งไว้ท่ามกลางอากาศร้อนนาน ๆ อาจจะมีกลิ่นไม่น่ารับประทาน และไม่อร่อย จึงปรับเปลี่ยนเป็นผักสดแทนอย่างนั้นกระมัง หรือผักสดน่าจะมีวิตามินมากกว่าหรืออย่างไร อันนี้ก็ไม่ทราบแน่ชัด

แต่วัตถุดิบอย่างอื่น ไม่ว่าจะเป็น เต้าหู้เหลืองทอดหั่นซอย ไข่ต้ม หมี่กรอบ ก็ยังคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลงจากอดีต

ส่วนน้ำจิ้มฮูแช้จะได้มาจากพริกแห้งใหญ่ กระเทียม เกลือ ซีอิ้วขาว ซอสจีน (ตีเจียว) น้ำมะขามเปียก น้ำตาล มะนาว วิธีทำโดยนำเครื่องปรุงทั้งหมดมาปั่นรวมกัน แล้วเติมแป้งข้าวโพด หรือแป้งมัน นิดหน่อยเพื่อให้น้ำจิ้มข้นและเหนียวขึ้น ตั้งไฟ พอเดือดยกลง ชิมให้ได้รส หวาน เค็ม เปรี้ยว และเผ็ดเล็กน้อย

จากนั้นใส่ถั่วลิสงคั่ว งาขาวคั่วลงในน้ำจิ้มแล้วคนให้เข้ากันก่อนราดลงบนจานผักอูแช้ที่เตรียมไว้ แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากันก่อนรับประทาน

ฮูแช้ คนภูเก็ตนิยมใช้เป็นของว่างยามบ่ายเพราะมีรสชาติครบทั้ง 4 รส เปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ด แถมได้ความกรุบของหมี่กรอบ ช่วยให้เคี้ยวในปากได้เพลิน ๆ แถมเป็นอาหารที่ไม่หนักท้องจนเกินไป พอถึงอาหารค่ำก็ทันหิวพอดี

คำสำคัญ
ฮูแช้
สถานที่ตั้ง
จังหวัด ภูเก็ต
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
http://phuketcuisine.com/?p=607
จังหวัด ภูเก็ต
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่