ประวัติความเป็นมา
วัดบึงนาราง เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่ปรากฏผู้ก่อสร้าง และได้ร้างลงตอนเสียกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๖๒ ได้มีพระพร้อมคณะศรัทธาร่วมกันบูรณปฏิสังขรณ์ และได้รับวิสุงคามสีมา ในปี พ.ศ. ๒๓๗๖ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ปัจจุบันมีเจ้าอาวาสมาแล้ว ๑๓ รูป โดยภายในวัดมีสถานที่สำคัญ ดังนี้
๑) อุโบสถหลังเก่า สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา และบูรณปฏิสังขรณ์ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นโบสถ์มหาอุตถ์ อายุกว่า ๕๐๐ ปี เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปเชียงแสน และรูปหล่อหลวงปู่ชม อดีตเจ้าอาวาส และศาลาการเปรียญ เป็นศาลาโบราณ อายุกว่า ๑๐๐ ปี เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อสุโข พระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ อายุกว่า ๗๐๐ ปี และพระพุทธรูปโบราณอื่น ๆ
๒) พิพิธภัณฑ์บึงนาราง ( ตั้งอยู่ด้านบนของศาลาการเปรียญวัดบึงนาราง) ซึ่งจัดแสดงวัตถุโบราณตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงยุคปัจจุบัน
คุณค่าและบทบาทของวิถีชุมชนที่มีต่อองค์ความรู้เรื่องนี้
๑. คุณค่าขององค์ความรู้ทางวัฒนธรรม
ภายในวัดบึงนารางมีโบราณสถาน เช่น อุโบสถหลังเก่า ซึ่งเป็นโบสถ์มหาอุตถ์ อายุกว่า ๕๐๐ ปี ศาลาการเปรียญ เป็นศาลาโบราณ อายุกว่า ๑๐๐ ปี เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อสุโข พระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ อายุกว่า ๗๐๐ ปี และพระพุทธรูปโบราณอื่น ๆ และเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์บึงนารางซึ่งจัดแสดงวัตถุโบราณตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงยุคปัจจุบัน ซึ่งสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์แก่เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป
๒. บทบาทของชุมชนในการสืบสาน รักษา ต่อยอด ขององค์ความรู้ทางวัฒนธรรม
ประชาชนในชุมชนได้เล็งเห็นความสำคัญของวัตถุโบราณ ซึ่งสามารถบอกเล่าเรื่องราว วิถีชีวิตของประชาชนในสมัยอดีต ประเพณีวัฒนธรรม การดำรงชีพ ประวัติความเป็นมาของชุมชนในอดีต และได้ถวายวัตถุโบราณ เครื่องมือ ข้าวของเครื่องใช้ของบรรพบุรุษในสมัยอดีตให้แก่วัดบึงนารางเพื่อเก็บรักษาและตั้งแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์บึงนาราง เพื่อให้เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป ได้ศึกษา
ข้อมูลอ้างอิงบุคคล
พระปลัดสงกรานต์ ธมฺมเสฏโฐ ตำแหน่ง เจ้าคณะตำบลบึงนาราง
ที่อยู่ วัดบึงนาราง เลขที่ ๘๓ หมู่ที่ ๒ ตำบลบึงนาราง อำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร รหัสไปรษณีย์ ๖๖๑๓๐ เบอร์โทรศัพท์ ๐๘๗-๒๐๒๗๘๘๑