๑. ประวัติความเป็นมา
ถือกำเนิดหลังพุทธศาสนา 543 ปี ศาสดาคือ พระเยซู บุตรนางมาเรีย และบิดาเลี้ยง นามโยเซฟ กล่าวกันว่าท่านเป็นบุตรพระเจ้า ที่โปรดให้มาเรียสาวพรหมจารีตั้งครรภ์ เมื่อพระชนมายุได้ 30 ปี พระเยซู ได้รับศีลจุ่มจากนักบุญโยฮันในแม่น้ำจอร์แดน พอขึ้นจากแม่น้ำ พระเจ้าได้มาสถิตที่พระองค์และกระซิบสั่งให้ ไปเผยแพร่ข่าวที่ประเสริฐแก่ชาวโลก พระเยซูได้ออกไปสั่งสอน ประชาชน อยู่ 3 ปีในที่สุดก็ถูกศิษย์ทรยศ เข้ากับฝ่ายศัตรูจับไปตรึงกางเขนสิ้นพระชนม์ เมื่อพระชนมายุได้ 33 ปี คัมภีร์ของศาสนาคริสต์ คือ “ใบเบิล”
ศาสนาคริสต์ (christianity) เป็นศาสนาที่พระเยซูคริสต์เป็นศาสดา คำว่า "คริสต์" มาจากภาษา ละติน "คริสตุส (christus)" หรือมาจากภาษากรีก "คริสตอส (christos)" แปลตามตัวว่า "ได้รับการเจิม" หรือ "ได้รับการแต่งตั้งให้ศักดิ์สิทธ์" หมายถึง ผู้ที่ได้รับการเจิมให้เป็นตัวแทน ของ พระเจ้า พระเยซุคริสต์ จึงหมายถึง พระเยซูคริสต์ผู้ได้รับการเลือก หรือเจิมให้เป็น ตัวแทนของพระเจ้า
ศาสนาคริสต์ปรากฎขึ้นเมื่อพระเยซูประกาศคำสอนอย่างกว้างขวาง คำสอนของพระองค์ มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับศาสนายูดาย เช่นเดียวกับที่คำสอนของพระพุทธเจ้า มีความสัมพันธ์กับศาสนา พราหมณ์ ฮินดู ที่เป็นเช่นนั้นเพราะตามประวัติศาสตร์ทางศาสนา พระเยซูทรงถือกำเนิดขึ้นมา ในขณะที่ชนชาติอิสราเอลทั่วไปนับถือศาสนายูดาย และคำสอนของพระองค์ก็ได้อ้างถึงความเชื่อ ในศาสนายูดาย เพื่อให้มองเห็นความต่อเนื่องระหว่างศาสนายูดายกับศาสนาคริสต์ และพัฒนาการทาง ความคิด ความเชื่อที่เกิดขึ้น ในศาสนาคริสต์ จึงควรศึกษาถึงประวัติความเชื่อความศรัทธาในศาสนา ยูดายของชนชาติยิวเสียก่อน
๒. เทศกาลในศาสนาคริสต์
เทศกาลของศาสนาคริสต ์ ก็มาจากวันสำคัญทางศาสนาเช่นเดียวกัน เช่น เทศกาลคริสต์มาส จัดเป็น เทศกาลที่มีความสำคัญมากสำหรับชาว คริสต์ ซึ่งเป็นเทศกาลฉลองการประสูติ ของพระคริสต์ เทศกาลคริสต์มาสจะจัดขึ้น ใน วันที่ 24 และ 25 ธันวาคม ของทุกปี
๓. ความสำคัญของวันคริสต์มาส
วันคริสต์มาส มีความสำคัญ คือเป็นประสูติ ของพระเยซู และซันตาคลอส เริ่มขึ้นในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 4 มีเด็กชายผู้เกิดในหมู่บ้านเล็ก ๆ มีชื่อว่า"นิโคลัส”ชีวิตของเขาอยู่บนกอง เงินกองทอง เพราะพ่อแม่มีฐานะร่ำรวยไม่ช้าไม่นานพ่อแม่ก็ถึงแก่กรรม ทรัพย์สินจึงตกเป็นของเขาเพียงผู้เดียว แต่น่าแปลกที่นิโคลัส กลับมีใจโอบอ้อมอารีต่อคนยากคนจนชอบแจกสมบัติ ช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากจนกลายเป็นขวัญใจของคนทุกเพศทุกวัย
๔. พิธีกรรมสำคัญของศาสนาคริสต์พิธีกรรมสำคัญของศาสนาคริสต์ เรียกว่า พิธีรับศีลศักดิ์สิทธิ์ มี ๗ ประการ คือ
๑) พิธีศีลล้างบาป (Baptism) หรือ พิธีศีลจุ่ม
๒) พิธีศีลกำลัง (Confirmation)
๓) พิธีศีลมหาสนิท (Eucharist)
๔) พิธีศีลแก้บาป หรือ ศีลอภัยบาป (Penance)
๕) พิธีศีลเจิมคนไข้ (Anointing of the Sick)
๖) พิธีศีลอนุกรม (Holy Orders) หรือ พิธีศีลบวช
๗) พิธีศีลสมรส (Matrimony)
๕. ความสำคัญของแต่ละพิธีกรรม โดยสังเขป ดังนี้
๑) ศีลล้างบาป มีความสำคัญดังนี้
- เป็นพิธีกรรมสำหรับผู้เริ่มต้นนับถือศาสนาคริสต์ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
- เป็นพิธีกรรมที่บาทหลวงทำพิธีล้างบาป เพราะมีความเชื่อว่า มนุษย์ทุกคนมีบาปติดตัวมาตั้งแต่เกิด
- นิกายโปรเตสแตนส์เรียกพิธีนี้ว่า “ศีลจุ่ม”
- บาทหลวงทำพิธีล้างบาปด้วยการเทน้ำมนต์ลงบนศีรษะ
๒) ศีลกำลัง มีลักษณะดังนี้
– พระสังฆราชเจิมน้ำมันที่หน้าผากของเด็กโตที่รู้รับผิดชอบแล้ว เป็นรูปกางเขน
– พิธีที่แสดง ว่าพระจิตเสด็จเข้าสู่จิตใจผู้นั้นแล้ว ถือเป็นคริสต์ชน
๓) ศีลแก้บาป ปฏิบัติดังนี้
– คุกเข่าลงต่อหน้าบาทหลวงและสารภาพความผิดที่ได้ กระทำไปเป็นการปลดเปลื้องบาปของตน
– แสดงความพอใจหรือความสบายใจหลังจากการได้สารภาพ บาปแล้ว
๔) ศีลมหาสนิท ปฏิบัติดังนี้
– การไปร่วมในโบสถ์ทุกวันอาทิตย์ที่เรียกว่า“มิสซา”เพื่อระลึก ถึงชีวิตและคำสอน ของพระเยซู
– คริสตชนต้องอดอาหารก่อน 1 ชั่วโมง แล้วจึงสวดบทสวดต่าง ๆ ตามที่กำหนด ครั้นถึง เวลารับศีลก็เดินไปคุกเข่าหรือยืนที่โต๊ะ รับ ขนมปังและเหล้าองุ่นอันเป็นสัญลักษณ์แทนพระกายและพระโลหิต ของพระเยซูคริสต์จากบาทหลวง หรือพระสงฆ์มารับประทาน พิธีนี้ สืบเนื่องมาจาก “การเลี้ยงอาหารค่ำมื้อสุดท้าย” ของพระเยซูคริสต์
๕) ศีลเจิมคนไข้ หรือเจิมครั้งสุดท้าย มีลักษณะดังนี้
– เป็นพิธีเจิมคนไข้ด้วยน้ำมัน โดยบาทหลวง ต้องการให้คนไข้ระลึกถึงพระ เจ้า เพื่อให้มีกำลังใจ ที่จะเอกชนะความ เจ็บไข้ได้ป่วย
๖) ศีลสมรส มีลักษณะดังนี้
– การประกอบพิธีแต่งงานในโบสถ์ ระหว่างคู่บ่าวสาวโดยมีบาทหลวงเป็น ผู้กระทำพิธีให้ และ เป็นสามีภรรยากันโดย ถูกต้องตามกฎของศาสนา
๗) ศีลบวชหรืออนุกรม มีลักษณะดังนี้
– การประกอบพิธีบวช เป็นบาทหลวงโดยมี พระสังฆราชเป็นผู้กระทำพิธีการไปโบสถ์ในวันพระ โดยชาวคริสต์ในสมัยแรก ๆ จะถือวัน เสาร์เป็นวันพระ และวันเริ่มต้นของสัปดาห์เหมือนอย่างศาสนายิว เพิ่งมาเปลี่ยนเป็นวันอาทิตย์ในสมัยของเซนต์ปอล และถือกันเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันเมื่อถึงวันอาทิตย์ ชาวคริสต์จะไปโบสถ์เพื่อปฏิบัติศาสนกิจเป็นการพัฒนาจิตใจ การเฉลิมฉลอง วันคริสต์มาส ชาวคริสต์จะเฉลิมฉลองรื่นเริงเป็นการใหญ่เพราะถือว่าเป็นวันคล้าย วันเกิดของพระเยซู กล่าวคือ นิกายโรมันคาทอลิกและนิกายโปรเตสแตนต์ถือว่าวันที่ 25 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันเกิด ของพระเยซู แต่นิกาย ออร์ธอดอกซ์ตะวันออกถือว่า วันเกิดของพระเยซู ตกอยู่ในเดือนมกราคม เทศกาลแอดเวนต์(Advent)
สำหรับนิกายโรมันคาทอลิกและนิกายออร์ทอดอกซ์ จะมีพิธีกรรมทั้ง7 พิธี แต่สำหรับนิกายโปรเตสแตนต์ จะมีเพียง 2 พิธี คือพิธีบัพติศมาและพิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์
๑)พิธีบัพติศมาหรือศีลล้างบาปเป็นพิธีกรรมแรกที่รับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชนอย่างเปิดเผยต่อสาธารณชน เป็นการแสดงตัวว่ามอบชีวิตให้กับพระเจ้า เสมือนชีวิตเก่านั้นได้ตายแล้วและจากนี้ไปจะมีชีวิตใหม่ในพระเยซูคริสต์ ซึ่งยอห์นผู้ให้บัพติศมาเป็นผู้ริเริ่มทำพิธีเป็นครั้งแรกในสมัยที่พระเยซูคริสต์ยังมีชีวิตอยู่บนโลกนี้ ในนิกายโรมันคาทอลิกบาทหลวงจะใช้น้ำศักดิ์สิทธิ์เทลงบนศีรษะพร้อมเจิมน้ำมันคริสมาที่หน้าผาก ในนิกายออร์ทอดอกซ์ ก่อนทำพิธีล้างจะมีการแต่งตั้งนักบุญและสวดมนต์เพื่อไล่สิ่งชั่วร้ายออกจากตัวของผู้ที่เข้ารับศีลล้างบาปโดยบาทหลวงจะเป็นผู้ทำพิธี และสุดท้ายจะจุ่มตัวของผู้ล้างลงในน้ำสามครั้ง ในนิกายโปรเตสแตนต์ใข้น้ำเป็นสัญลักษณ์ว่าได้ตายจากชีวิตเก่าและถือกำเนิดใหม่ในพระคริสต์แล้วโดยอาจจุ่มทั้งตัวผู้รับบัพติศมาแล้วจึงขึ้นจากน้ำ หรืออาจประพรมด้วยน้ำลงบนศีรษะก็ได้
๒) พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์หรือศีลมหาสนิทเป็นพิธีกรรมที่แสดงถึงการร่วมสนิทเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพระเยซู มีการปฏิบัติครั้งแรกโดยพระเยซูคริสต์ในคืนวันที่จะถูกจับไปเป็นนักโทษเพื่อเข้าสู่การตรึงกางเขนซึ่งมีบันทึกไว้โดยเปาโลอัครทูตในจดหมายที่เขียนฝากไปยังคริสตชนที่เมืองโครินธ์ ซึ่งอยู่ในพันธสัญญาใหม่ของพระคัมภีร์ไบเบิล ความว่า คือในคืนที่เขาอายัดพระเยซูเจ้านั้น พระองค์ทรงหยิบ ขนมปัง ครั้นขอบพระคุณแล้วจึงทรงหัก แล้วตรัสว่า “นี่เป็นกายของเรา ซึ่งให้แก่ท่านทั้งหลาย จงกระทำอย่างนี้ให้เป็นที่ระลึกถึงเรา"เมื่อรับประทานแล้ว พระองค์จึงทรงหยิบถ้วยด้วยอาการอย่างเดียวกัน ตรัสว่า “ถ้วยนี้คือพันธสัญญาใหม่ โดยโลหิตของเรา เมื่อท่านดื่มจากถ้วยนี้เวลาใด จงดื่มเป็นที่ระลึกถึงเรา” เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลายกินขนมปังนี้และดื่มจากถ้วยนี้เวลาใด ท่านก็ประกาศการวายพระชนม์ขององค์พระผู้เป็นเจ้า จนกว่าพระองค์จะเสด็จมาและทางนิกายโรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์จะถือว่าเป็นพิธีกรรมที่ศักดิ์สิทธิ์มาก โดยจะรับประทานขนมปังและไวน์ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ความเชื่อแทนพระกายและพระโลหิตของพระเยซู (ทางศาสนจักรโรมันคาทอลิก และออร์ทอดอกซ์จะถือว่าขนมปังและไวน์ในทางอัศจรรย์จะกลายเป็นพระมังสาและพระโลหิตของพระเยซูคริสต์) และเป็นพิธีกรรมที่สืบเนื่องมาจากพิธีปัสคาของศาสนายูดาห์
๖. วัตถุประสงค์
เพื่อสามัคคีธรรมของคริสเตียน
๑) ส่งเสริมการประสานงานและความร่วมมือกัน
๒) ส่งเสริมการเผยแพร่ข่าวประเสริฐของพระเยซูคริสต์
๓) ส่งเสริมความเจริญฝ่ายจิตวิญญาณของคริสเตียน
๔) ส่งเสริมการผลิตและการใช้สื่อสารมวลชนของคริสเตียน
๕) ส่งเสริมการสังคมสงเคราะห์และสาธารณประโยชน์
โดยมีหลักข้อเชื่อ ดังนี้
๑) พระคริสตธรรมคัมภีร์ทุกตอนได้รับการดลใจจากพระเจ้า โดยพระวิญญาณบริสุทธิ์ จึงเป็นพระวจนะของพระเจ้า ที่ครบบริบูรณ์
๒) มีพระเจ้าองค์เดียวผู้สำแดงพระลักษณะ พระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์
๓) พระบิดาทรงเป็นพระเจ้าเที่ยงแท้ ผู้ทรงพระชนม์เป็นนิตย์ ทรงฤทธานุภาพทุกประการผู้ทรงเนรมิตสรรพสิ่ง
๔) พระเยซูทรงเป็นพระบุตรของพระเจ้าประสูติจากหญิงพรหมจารี โดยเดชพระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงปราศจากบาปทั้งสิ้น ทรงกระทำการอัศจรรย์ ทรงสิ้นพระชนม์บนไม้การเขน พระชนม์ชีพ และ พระโลหิตประเสริฐของพระองค์เป็นค่าไถ่บาปของมนุษย์ ทรงถูกฝังไว้แล้วในวันที่สามหลังจากนั้น ทรงฟื้น คืนพระชนม์พร้อมพระกายเสด็จสู่สวรรค์ประทับเบื้องขวาพระเจ้า และจะเสด็จมายังโลกนี้อีก ด้วยฤทธานุภาพและพระเกียรติใหญ่ยิ่ง
๕) พระวิญญาณบริสุทธิ์สถิตกับผู้เชื่อพระเยซูคริสต์เจ้าทุกคน เพื่อทรงช่วยในการดำเนินชีวิตใหม่
๖) คนบาปรอดได้โดยพระคุณพระเจ้า เพราะความเชื่อในพระเยซูคริสต์
๗) เอกภาพฝ่ายวิญญาณของผู้เชื่อพระเยซูคริสต์เจ้าในโลกนี้คือ คริสตจักรซึ่งเป็นพระกายของพระคริสต์
๘) เมื่อถึงวาระแห่งการฟื้นจากความตาย ผู้เชื่อพระเยซูคริสต์เจ้าไม่ต้องรับการพิพากษา โทษบาป ส่วนนอกนั้นต้องรับการพิพากษาโทษเป็นนิตย์จากพระเจ้า
๗. วัสดุ/อุปกรณ์
๗.๑ อุปกรณ์ที่ใช้ในเทศกาลวันคริสต์มาส ประกอบด้วย
๑) ต้นคริสต์มาส , ต้นสน , ต้นฮอลลี่
๒) สีประจำวันคริสต์มาส
-สีแดง : เป็นสีของผลฮอลลี่ หรือซานตาคลอส เป็นสีของเดือนธันวาคม ที่แสดงถึงความตื่นเต้น และหากเป็นสัญลักษณ์ตามศาสนา สีแดงจะหมายถึง ไฟ, เลือด และความโอบอ้อมอารี
-สีเขียว : เป็นสีของต้นไม้ สัญลักษณ์ของธรรมชาติ หมายถึง ความอ่อนเยาว์และความหวังที่จะมีชีวิตเป็นนิรันดร์ เปรียบได้กับว่าเทศกาลคริสต์มาสคือเทศกาลแห่งความหวัง
-สีขาว : เป็นสีของหิมะ และเป็นสัญลักษณ์ทางศาสนา คือ แสงสว่าง ความบริสุทธิ์ ความสุข และความรุ่งเรือง สีขาวนี้จะปรากฏบนเสื้อคลุมนางฟ้า, เคราและชายเสื้อของซานตาคลอส
-สีทอง : เป็นสีของเทียนและดวงดาว เป็นสัญลักษณ์ของแสงอาทิตย์และความสว่างไสว
๓) ดาว, เทียน, พวงมาลัย, เครื่องประดับและแอปเปิ้ล และของขวัญ
๗.๒ อุปกรณ์ที่ใช้ในพิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์หรือศีลมหาสนิทประกอบด้วย
๑) ขนมปังไร้เชื้อ เล็งถึงพระกายของพระเยซูคริสต์ ที่สิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน
๒) น้ำองุ่น เล็งถึงพระโลหิตของพระองค์ ที่ไหลออกมาเพื่อชำระความผิดบาป การรับประทานขนมปังและน้ำองุ่นเป็นการสามัคคีธรรมร่วมกันในฝ่ายจิตวิญญาณ กับพระกายและพระโลหิตของพระคริสต์
๗.๓ อุปกรณ์ที่ใช้ในพิธีบัพติศมา หรือศีลล้างบาป ประกอบด้วย
- แหล่งแม่น้ำที่ใช้จุ่มตัวมิดในน้ำ
๘. กระบวนการ/ขั้นตอน
๘.๑ขั้นตอนการดำเนินการเทศกาลคริสต์มาส
๑) จัดเตรียมสถานที่ในการจัดกิจกรรม การแสดงของผู้เข้าร่วมกิจกรรม
๒) จัดเตรียมคำกล่าวชีวประวัติของพระเยซู
๓) จัดเตรียมอาหาร เครื่องดื่ม ของขวัญ
๘.๒ ขั้นตอนการเข้าพิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์หรือศีลมหาสนิท
๑) ผู้ที่จะเข้ารับพิธีศีลมหาสนิท จะต้องตัดสินใจแน่ชัดแล้วว่าจะเชื่อพระเจ้าเท่านั้น จึงจะเข้าพิธีนี้ได้
๒) ผู้นำจะกล่าวนำ ในการรับขนมปังไรเชื้อ ที่จัดเตรียมไว้ พระองค์ทรงหยิบขนมปัง ครั้นขอบพระคุณแล้วจึงทรงหัก แล้วตรัสว่า “นี่เป็นกายของเรา ซึ่งให้แก่ท่านทั้งหลาย จงกระทำอย่างนี้ให้เป็นที่ระลึกถึงเรา"
๓) เมื่อรับประทานขนมปังเสร็จแล้ว จึงดื่มน้ำองุ่น พระองค์จึงทรงหยิบถ้วยด้วยอาการอย่างเดียวกัน ตรัสว่า “ถ้วยนี้คือพันธสัญญาใหม่ โดยโลหิตของเรา เมื่อท่านดื่มจากถ้วยนี้เวลาใด จงดื่มเป็นที่ระลึกถึงเรา” เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลายกินขนมปังนี้และดื่มจากถ้วยนี้เวลาใด ท่านก็ประกาศการวายพระชนม์ขององค์พระผู้เป็นเจ้า จนกว่าพระองค์จะเสด็จมา
๘.๓ ขั้นตอนการเข้าพิธีบัพติศมา หรือศีลล้างบาป
๑) ผู้ที่จะเข้ารับพิธีบัพติศมา จะต้องตัดสินใจแน่ชัดแล้วว่าจะเชื่อพระเจ้าเท่านั้น จึงจะเข้าพิธีนี้ได้
๒) นำผู้เชื่อไปที่แหล่งน้ำ ที่ได้จัดหาเตรียมไว้ ผู้นำจะทำพิธีจุ่มตัวมิดในน้ำ เป็นพิธีกรรมแรก ที่รับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชนอย่างเปิดเผยต่อสาธารณชน เป็นการแสดงตัวว่ามอบชีวิตให้กับพระเจ้า เสมือนชีวิตเก่านั้นได้ตายแล้วและจากนี้ไปจะมีชีวิตใหม่ในพระเยซูคริสต์
๙. คุณค่าและบทบาทของวิถีชุมชนที่มีต่อองค์ความรู้เรื่องนี้
๑)คุณค่าขององค์ความรู้ทางวัฒนธรรม
- เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของสมาชิกคริสเตียนทุกคน
- เป็นบ่อเกิดแห่งความสามัคคี การรักใคร่ ปรองดอง การช่วยเหลือพึ่งพาซึ่งกันและกัน
- เป็นเครื่องดับความเร้าร้อนใจทำให้จิตสงบร่มเย็น
๒)บทบาทของชุมชนในการสืบสาน รักษา ต่อยอด ขององค์ความรู้ทางวัฒนธรรม
สมาชิกคริสเตียนทุกคน จะต้องสร้างและขยายประชากรของพระองค์ โดยการออกไปประกาศข่าวประเสริฐ สร้างสาวก และการขยายอาณาจักรของพระเจ้า
๑๐. การส่งเสริม สนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ หรือภาคเอกชน หรือภาคประชาสังคม
ได้รับการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิจิตร ในการซ่อมแซมศาสนสถานที่ชำรุด
๑๑. สถานภาพปัจจุบันของการถ่ายทอดความรู้และปัจจัยคุกคาม
คริสตจักรแห่งนิมิตพิจิตร มีการถ่ายทอดความรู้
๑) มีการอบรมสั่งสอน ชี้แจง หรืออธิบายเหตุผลเรื่องราวทางศาสนา
๒) การเรียนและสอนพระคัมภีร์
๓) มีการฝึกปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา ตั้งแต่อายุยังน้อย เล่าเหตุการณ์ หรืออ่านพระคริสตธรรมคัมภีร์
๑๒. ข้อเสนอแนะ
สำหรับผู้ที่มีความเชื่อในศาสนาอื่น ๆ สามารถเข้าร่วมกิจกรรมที่คริสตจักรได้ทุกศาสนสถาน
๑๓. ข้อมูลอ้างอิงบุคคล
นายเดชา วงคำ ตำแหน่ง ประธานกลุ่มคริสเตียนโปรแตสแตนท์พิจิตร ที่อยู่หน่วยงาน/องค์กร : คริสตจักรแห่งนิมิตพิจิตร เลขที่ ๒๔/๔ ถนนoอกสถานีรถไฟ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร รหัสไปรษณีย์ ๖๖๐๐๐ เบอร์โทรศัพท์ ๐๘๑- ๕๓๔๕๖๔๙