ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 31' 33.0316"
16.5258421
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 33' 7.6111"
100.5521142
เลขที่ : 194212
การทำข้าวหลาม
เสนอโดย พิจิตร วันที่ 6 กันยายน 2564
อนุมัติโดย พิจิตร วันที่ 6 กันยายน 2564
จังหวัด : พิจิตร
10 1639
รายละเอียด

๑. ประวัติความเป็นมา

ถิ่นกำเนิดข้าวหลามยังไม่ทราบแน่นอน แต่น่าจะเป็นภูมิปัญญาที่ตกทอดกันมารุ่นสู่รุ่นทำข้าวคำว่า”หลาม”เป็นการปรุงอาหารสำหรับการเดินทาง เพราะในสมัยโบราณทั้งอาหารและของทุกอย่างที่ใส่กระบอกและนำไปเผาไฟจะเรียกว่า "หลาม" เช่น ปลาหลาม ยาหลาม (ยาสมุนไพรที่เผาในกระบอกให้ สุก) ดังนั้นข้าวเหนียวผสมกะทิ และเครื่องปรุงรสในกระบอกจึงเรียกว่า"ข้าวหลาม"ต่อมาข้าวหลามเป็นอาหารที่คนนิยมรับประทาน และนำเป็นของฝากญาติมิตรในเทศกาลต่าง ๆ ทำให้ชาวบ้านบางส่วนหันไปประกอบอาชีพเผาข้าวหลามขาย ตลอดฤดูกาลตลอดปี มีการคิดดัดแปลงมาโดยนำข้าวเหนียวกับถั่วดำมาปนคลุกเคล้ากันแล้วใส่กระบอก แต่บางคนบอกว่าทำด้วยข้าวเหนียวแดงใส่ถุงแล้วหาบขาย ต่อมานิยมทำกันมาเรื่อย ๆ จนกลายเป็นข้าวหลามใส่กระบอกไม้ไผ่ นางวันเพียร พรมคำดี ประชาชนในชุมชนบ้านสากเหล็ก หมู่ที่ ๑ ตำบลสากเหล็ก อำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร ได้รับการถ่ายทอดการเผาข้าวหลามมาจากบรรพบุรุษ และได้ยึดเป็นอาชีพทำส่งให้กับลูกค้า และทำขายบริเวณหน้าร้านเป็นประจำทุกวันโดยสามารถเดินทางโดยรถยนต์ไปตามถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๕ สายกำแพงเพชร – สากเหล็ก หรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ สายอินทร์บุรี–เชียงใหม่เมื่อถึงบริเวณสี่แยก สากเหล็ก จะมองเห็นป้ายร้านข้าวหลามไทไทย ตั้งอยู่ติดถนนเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ สายอินทร์บุรี–เชียงใหม่

๒. วัตถุประสงค

๑)เพื่อจัดเก็บองค์ความรู้เรื่องการทำข้าวหลามของนางวันเพียร พรมคำดี ชุมชนบ้านสากเหล็ก หมู่ที่ ๑ ตำบลสากเหล็ก อำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร

๒) เพื่อเป็นการสืบสาน รักษา และสืบทอดองค์ความรู้เรื่องการทำข้าวหลาม

๓. วัสดุ/อุปกรณ์

๓.๑ วัตถุดิบ

๑) ข้าวเหนียวชนิดดำหรือขาว
๒) น้ำตาลทราย
๓) น้ำกะทิ
๔) เกลือ

๓.๒ อุปกรณ์

๑) ไผ่ข้าวหลาม
๒) ถ่านหรือฝืน และตะแกรงสำหรับวางเพื่อเผา
๓) ค้อนสำหรับทุบกระบอกไม้ไผ่

๔. กระบวนการ/ขั้นตอน

๑) นำข้าวเหนียวแช่น้ำค้างคืน
๒) ซาวข้าวเหนียวที่แช่น้ำไว้กับน้ำกะทิ น้ำตาล และเกลือ
๓) ใส่ข้าวเหนียวที่คลุกเคล้าส่วนผสมแล้วลงในกระบอกไม้ไผ่ที่ทำความสะอาดไว้แล้ว โดยให้เหลือพื้นที่จากปากกระบอกไว้ประมาณ 2 นิ้ว โดยเติมน้ำกะทิที่ปรุงรสไว้ด้านบนสุดของกระบอก

๔) นำข้าวหลามไปเผาไฟความร้อนปานกลาง ควรเป็นลักษณะไฟถ่าน เวลาประมาณ ๒ ชั่วโมง
๕) เมื่อสุกได้ที่ ให้ยกลง และทุบข้าวหลามให้แตกก่อนบริโภค

๕. คุณค่าและบทบาทของวิถีชุมชนที่มีต่อองค์ความรู้เรื่องนี้

๕.๑ คุณค่าขององค์ความรู้ทางวัฒนธรรม

๑) ทำให้ทราบถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการองค์ความรู้ เรื่องการทำข้าวหลามในปัจจุบันของอำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร

๒) ทำให้ทราบถึงข้อเสนอแนะแนวทางการจัดการองค์ความรู้ เรื่องการทำข้าวหลามของอำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร ให้มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน

๕.๒) บทบาทของชุมชนในการสืบสาน รักษา ต่อยอด ขององค์ความรู้ทางวัฒนธรรม

๑. การนิยมในสินค้าไทย อุดหนุนสินค้าที่ผลิตจากภูมิปัญญาไทย

๒. การเข้าร่วมในวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นภูมิปัญญาไทยทุกครั้ง

๓. การรวมกลุ่มเพื่อร่วมอนุรักษ์ภูมิปัญญาในด้านต่าง ๆ ตามความสนใจ ความสามารถของตนเองนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต

๖. การส่งเสริม สนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ หรือภาคเอกชน หรือภาคประชาสังคม

ภาครัฐ โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิจิตร ร่วมกับเครือข่ายภูมิปัญญาจัดทำฐานข้อมูลมรดกภูมิปัญญาของนางวันเพียร พรมคำดี ชุมชนบ้านสากเหล็ก หมู่ที่ ๑ ตำบลสากเหล็ก อำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร เรื่องการทำข้าวหลามโบราณเพื่อเป็นการรักษา และสืบทอดองค์ความรู้

๗. สถานภาพปัจจุบัน

๗.๑สถานะการคงอยู่ขององค์ความรู้ :มีการปฏิบัติอย่างแพร่หลาย

๗.๒ สถานภาพปัจจุบันของการถ่ายทอดความรู้และปัจจัยคุกคาม

ข้าวหลาม หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำข้าวเหนียว กะทิ น้ำตาล และเกลือ อาจเติมส่วนประกอบ อื่น ๆ เช่น สังขยา เผือก ถั่ว เนื้อสัตว์ ผัก หรือ ผลไม้มาบรรจุในกระบอกไม้ไผ่ แล้วปิ้งจนสุก และอาจนำเนื้อข้าวหลามจากกระบอกไม้ไผ่ มาบรรจุในภาชนะบรรจุอื่น ซึ่งในสมัยก่อนคนไทยจะใช้กระบอกไม้ไผ่ในการหุงข้าว ข้าวที่ได้มีลักษณะเป็นทรงกระบอกที่ถูกเชื่อมกันไว้ด้วยเยื่อไผ่ทำให้เป็นรูปทรงสวยงามปัจจุบันยังคงมีการทำ ข้าวหลามอยู่ในหลายพื้นที่ แตกต่างกันไปตามสูตร วัตถุดิบ และบรรจุภัณฑ์ที่หลากหลายทำให้มีรสชาติที่แตกต่างกันตามรสนิยมและความชอบของผู้คนยุคปัจจุบัน

๘. ข้อเสนอแนะ

ปัจจุบันนี้คนไทยนิยม รับประทานข้าวหลามเป็นขนมหวาน โดยมีส่วนผสม หลักคือ ข้าวเหนียว กะทิ และน้ำตาล บางสูตรอาจมีการ ใส่ถั่วดำ ดังนั้นเพื่อให้เกิดความหลากหลายและเป็นทางเลือกให้กับลูกค้าควรมีการเพิ่มส่วนผสมอื่นที่หลากหลายขึ้น เช่น ข้าวหลามไส้ถั่วไข่เค็ม แห้ว เผือก มะพร้าวอ่อน ฯลฯ ผสมใส่ลงใน เนื้อข้าวหลาม จะทำให้ได้รสชาติกลมกล่อมและเสริมคุณค่าทางโภชนาการมากขึ้น

๙. ข้อมูลอ้างอิงบุคคล

ชื่อ-นามสกุล นางวันเพียร พรมคำดี

ตำแหน่ง ปราชญ์ชาวบ้าน

ที่อยู่ บ้านเลขที่ หมู่ที่ ๑ ตำบลสากเหล็ก อำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร.

รหัสไปรษณีย์ ๖๖๑๖๐ เบอร์โทรศัพท์ ๐๘๐๖๘๔๖๓๑๖

สถานที่ตั้ง
ชุมชนบ้านสากเหล็ก
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน 1 ซอย - ถนน -
ตำบล สากเหล็ก อำเภอ สากเหล็ก จังหวัด พิจิตร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิจิตร
บุคคลอ้างอิง นางสุรีย์พร ผดุงฉัตร อีเมล์ suripadung@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิจิตร อีเมล์ culture.phichit01@gmail.com
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน - ซอย - ถนน บุษบา
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองพิจิตร จังหวัด พิจิตร รหัสไปรษณีย์ 66000
โทรศัพท์ 0-5661-2675-6 โทรสาร 0-5661-2675-6
เว็บไซต์ https://www.m-culture.go.th/phichit/main.php?filename=index
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่