ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 7° 37' 5.9999"
7.6183333
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 4' 23.9999"
100.0733333
เลขที่ : 194227
นายแปลก ชนะบาล
เสนอโดย พัทลุง วันที่ 6 กันยายน 2564
อนุมัติโดย พัทลุง วันที่ 5 มกราคม 2566
จังหวัด : พัทลุง
0 520
รายละเอียด

นายแปลก ชนะบาล เป็นโรงโนรามีชื่อคณะหนึ่งของจังหวัดพัทลุง

เกิด : เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๓ ณ บ้านท่าแค อำเภอเมืองพัทลุง

ครอบครัว : บุตรนายเนตร - นางขำ ชนะบาล

ความเป็นมา

นายแปลก ชนะบาล เป็นนายโรงโนรามีชื่อคณะหนึ่งของจังหวัดพัทลุง รู้จักกันในชื่อโนราว่า แปลก ท่าแค นายแปลก ชนะบาล เกิดเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๓ ณ บ้านท่าแค อำเภอเมืองพัทลุง เป็นบุตรนายเนตร นางขำ ชนะบาล เมื่อวัยเด็กไม่ได้เรียนหนังสือ จึงทำให้อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ แต่มีปฏิภาณในการว่ากลอน "มุดโต" หรือกลอนสดเป็นพิเศษ ทั้งยังมีความจำดีเยี่ยม สามารถจำบทโนราโบราณได้เกือบทั้งหมด นายแปลกเริ่มหัดโนราครั้งแรกเมื่ออายุ ๗ ปี กับโนราล้วน ซึ่งเป็นคนบ้านเดียวกัน ภายหลังได้พยายามฝึกรำด้วยตัวเองโดยการจดจำท่ารำจากโนราต่าง ๆ ที่เคยดู โนราแปลกมีความเชื่อว่าตัวเองเป็นโนรา "เทพสิงหรณ์" คือเป็นคนที่ครูหมอโนราได้คัดเลือกที่จะให้เป็นผู้สืบทอดการรำโนรา และเชื่อว่าครูโนราเหล่านั้นจะมาสอนท่ารำและบทร้องให้ในเวลาหลับ เมื่ออายุ ๑๒ ปีก็สามารถเป็นนายโรงด้วยตนเองและเปิดการแสดงจนเป็นที่รู้จักทั่วไปในจังหวัดพัทลุงและใกล้เคียง

เมื่อเริ่มมีชื่อเสียง ได้แข่งขันประชันโรงกับโนรามีชื่อในยุคนั้นหลายคณะ เช่น ประชันกับโนราแป้น เครื่องงาม หรือ "แป้น เจ็ดหาบ" แห่งจังหวัดตรัง เป็นต้น การประชันโรงครั้งสำคัญมีหลายครั้งด้วยกัน เช่น ประชันกับ โนราเหมีย ห้วยลึก ถึง ๓ ครั้ง ประชันกับโนราเลียบซึ่งเป็นโนราหญิงคณะแรกที่วัดคูหาสวรรค์ อำเภอเมือง พัทลุง ประชันกับโนราเอื้อน นาขา เป็นต้น

โนราแปลกมีลูกศิษย์เป็นจำนวนมาก ที่มีชื่อเสียง ได้แก่ โนราพิณ คงถม (หัวหน้าคณะโนรา พิณ-พัน) และโนราน้อมโหละหนุน เป็นต้น นอกจากนี้หนังตะลุงคณะพร้อมน้อยตะลุงสากล (พร้อม บุญฤทธิ์) ซึ่งเป็นนายหนังคะลุงที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดคณะหนึ่ง เคยเป็นศิษย์ร่วมเดินโรงกับโนราแปลกมาแล้วเช่นกัน โนราแปลกยังเคยได้รับเชิญไปรำในงานสำคัญ ๆ อีกหลายครั้งหลายครา เช่น รำที่โรงละครแห่งชาติ ๒ ครั้ง ครั้งแรกไปรำพร้อมกับขุนอุปถัมภ์นรากร (พุ่ม เทวา) โดยการสนับสนุนของพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าเฉลิมพลทิฆัมพรและครั้งหลังได้รับเชิญไปแสดงในงาน "มหกรรมโนรา" ซึ่งจัดโดยสถาบันทักษิณคดีศึกษา เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ นอกจากที่โรงละครแห่งชาติแล้ว โนราแปลกยังเคยรำโชว์ที่สยามสมาคมและที่ศูนย์สังคีตศิลป์ของธนาคารกรุงเทพ จำกัด อีกด้วย

โนราแปลกเป็นโนราชั้นครู รักษาลีลาการรำและขนบนิยมของโนราโบราณมาโดยตลอด ทั้งยังมีความเชื่อว่าครูต้นของโนราท่านหนึ่งคือขุนศรัทธาราม อยู่ที่ท่าแค ดังนั้นทุกปีในวันพุธที่ ๒ ของเดือน ๖ โนราแปลกจะจัดพิธีไหว้ครูโดยรำโนราโรงครูถวายภายในบริเวณวัดอภัยยารามหรือวัดท่าแคซึ่งมีศาลพ่อขุนศรัทธาตั้งอยู่ ในงานจะมีประชาชนจากหลายแหล่งซึ่งเชื่อว่าตัวเองมี "ตายายโนรา" ร่วมกันมาชุมนุมอย่างคับคั่ง นอกจากนั้นผู้ที่ต้องการแก้เหมรยต่าง ๆ ก็จะมาแก้กันในงานนี้ด้วย นับเป็นการอนุรักษ์และสืบทอดการรำโนราแบบโบราณได้อย่างดียิ่ง

หมวดหมู่
ศิลปิน
สถานที่ตั้ง
ตำบล ท่าแค อำเภอ เมืองพัทลุง จังหวัด พัทลุง
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้ เล่ม ๑๐(๔๖๖๕).กรุงเทพ.บริษัท สยามเพรส แมเนจเม้นท์ จำกัด.
บุคคลอ้างอิง นางสาวจิตตรา จันทรโชติ
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง อีเมล์ culture-phatthalung@hotmail.com
ถนน ราเมศวร์
ตำบล คูหาสวรรค์ อำเภอ เมืองพัทลุง จังหวัด พัทลุง รหัสไปรษณีย์ 93000
โทรศัพท์ ๐ ๗๔๖๑ ๗๙๕๘ โทรสาร ๐ ๗๔๖๑ ๗๙๕๙
เว็บไซต์ https://www.m-culture.go.th/phatthalung/main.php?filename=index
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่