ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 7° 37' 5.9999"
7.6183333
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 4' 23.9999"
100.0733333
เลขที่ : 194406
วัดพระเกิด
เสนอโดย พัทลุง วันที่ 9 กันยายน 2564
อนุมัติโดย พัทลุง วันที่ 26 มิถุนายน 2565
จังหวัด : พัทลุง
0 547
รายละเอียด

วัดพระเกิด หรือที่ชาวบ้านเรียกสั้นๆ ว่า "วัดเกิด" ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๔ ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน
จังหวัดพัทลุง อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ ๘ กิโลเมตร หรือห่างจากสถานีรถไฟบ้านควนเคี่ยมไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ ๔ กิโลเมตร

วัดพระเกิดเป็นวัดโบราณ คนเฒ่าคนแก่เล่าสืบต่อกันมาว่า นานมาแล้ว มีตาสามโมกับยายเพชร สองคนผัวเมียได้มาอาศัยทำไร่ทำนา วันหนึ่งได้ถางป่าแล้วเผาไหม้ แต่เผาเท่าไร ๆ ไฟก็ไม่ใจว่าเป็นพระพุทธรูปที่เกิดขึ้นเอง ต่อมาตายายได้สร้างวัดขึ้นบริเวณนั้นให้ชื่อว่า "วัดพระเกิด"

มีบางตำนานกล่าวว่า นางเลือดขาวได้โดยสารเรือสำเภาผ่านเข้ามาทางคลองฝาละมี เรือได้อับปางลงใกล้ ๆ กับสถานที่แห่งหนึ่งซึ่งเรียกว่า"สวนจีน" นางเลือดขาวขึ้นบกเดินทางต่อไปจนได้คลอดบุตรเป็นหญิงให้ชื่อว่า "นางพิมพ์" พร้อมกับได้สร้างวัดขึ้นวัดหนึ่งเรียกว่า "วัดพระเกิด" ซึ่งหมายถึงที่เกิดหรือที่คลอดบุตรนั่นเอง พงศาวดารเมืองพัทลุงระบุว่าตาสามโมกับยายเพชร สองผัวเมียอาศัยอยู่ที่บ้านพระเกิด เป็นหมอสะดำเลี้ยงช้างส่งเจ้าพระยากรุงทองเจ้าเมืองสทิงพระปีละ ๑ เชือก ต่อมาจึงเรียกว่า "ที่คช" หรือ "ที่ส่วยช้าง"

แต่ไม่ได้กล่าวถึงการสร้างวัด มีข้อน่าสังเกตว่าเมื่อตากับยายเข้าไปอาศัยอยู่ที่บ้านพระเกิดนั้นบ้านพระเกิดคงเป็นชุมชนเจริญมาแล้ว ต่อมาเมื่อผู้คนอพยพเข้าไปอาศัยอยู่มากขึ้นจึงได้สร้างวัดขึ้นเป็นวัดประจำหมู่บ้านเพื่อใช้ประกอบกิจทางศาสนา คงไม่เกินพุทธศตวรรษที่ ๑๙

วัดพระเกิด สร้างขึ้นมื่อ พ.ศ.๑๔๓๙ ตามทำเนียบวัดในจังหวัดพัทลุงของพระครูอริยสังวร(เอียด) อดีตเจ้าคณะจังหวัดพัทลุงระบุว่าตรงกับสมัยสุโขทัยตอนปลายหรือสมัยอยุธยาตอนต้น แต่ในเวลานี้หลักฐานที่พอจะสืบคันได้ปรากฏว่าเดิมวัดพระเกิดเป็นวัดร้างมาก่อนช้านาน จนปี พ.ศ.๒๔๘๖ ได้มีพระสงฆ์ ไม่ปรากฏนามบูรณะวัดขึ้นอีก พ.ศ.๒๔๖๗ มีพระแดงเป็นผู้ดูแลวัด ต่อมาพระแดงได้จากวัดไปเมืองนครศรีธรรมราช แล้วลาสิกขา พ.ศ.๒๔๗๘ มีพระแดง โชติโก มาจำพรรษาช่วยบูรณะวัดจน พ.ศ.๒๔๙๔ พระแดง โชติโก ได้ย้ายไปสร้างวัดควนนางพิมพ์ พระท่อน ปภงฺสโร จึงเป็นผู้ดูแลวัดต่อมาจนปัจจุบัน

วัดพระเกิด ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๕

เจ้าอาวาสปัจจุบัน ชื่อ พระครูสุทธิสารมงคล

ศาสนวัตถุ

๑. ศาลาการเปรียญเดิมเข้าใจว่าน่าจะเป็นอุโบสถหรือไม่ก็วิหารอย่างหนึ่งอย่างใด ต่อมาพระท่อนได้บูรณะขึ้นใหม่ครอบอาคารเดิมแบบก่อด้วยอิฐถือปูนไว้ภายใน ภายในศาลาการเปรียญมีพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยปั้นติดไว้กับผนังก่ออิฐแบบนูนสูงจำนวน ๓ องค์ ด้านหน้ามีสาวกปูนปั้นประทับขึ้นประนมมือ ๒ องค์
ด้านซ้ายมือของพระประธานมีพระพุทธรูปปูนปั้นนูนสูงปางมารวิชัย ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ ชาวบ้าน เรียกว่า "พระเกิด" มีขนาดหน้าตักกว้าง ๓๓ เซนติเมตรสูง ๔๕ เซนติเมตร พระเกิดนี้องค์เดิมเล่ากันว่าเป็นพระพุทธรูปทองคำ แต่ถูกขโมยหายไปนานแล้ว องค์ที่มีอยู่เป็นของที่สร้างขึ้นในสมัยหลัง ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์มาก ทุกๆ ปี ในวันแรม ๑ ต่ำ เดือน ๖ ประชาชนจะจัดให้มีงานสมโภช เรียกว่า "รำโนราถวายพระเกิด"

ด้านหน้าผนังมีรูปยายไอ เป็นรูปปูนปั้น ชำรุดมากแล้วต่อมาพระท่อนได้ปั้นซ่อมด้วยดินเหนียว ข้างๆ มีรูปหงส์จำหลักไม้ ๑ ตัว คนเคยนำไปทิ้งคลองพระเกิดครั้งหนึ่ง แต่พระสงฆ์ที่วัดได้นำกลับมาได้ ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสงขลา รูปหงส์นี้เติมมี ๒ ตัว ปักไว้ที่หน้าศาลาการเปรียญ แต่ต่อมาได้หักพังไปหมด สำหรับตอนบนของผนังทางมุมขวามือของพระประธาน มีรากไม้ตัดเป็นรูปคนขี่พญานาคด้านซ้ายมือเป็นรูปคนขี่จระเข้ เข้าใจว่าเป็นเรื่องนายไกร (ไกรทอง)

๒. พระพุทธรูปไม้จันทน์เป็นพระพุทธรูปประทับยืนปางอุ้มบาตรทรงเครื่องใหญ่ พระเศียร
สวมชฎามงกุฎมีเครื่องประดับสวยงามแต่ถูกทาสีทองทับไว้ จึงทำให้ความคมของลายลดลงไป พุทธลักษณะ เป็นศิลปะท้องถิ่นสมัยรัตนโกสินทร์ มีขนาดสูง ๑๒๗ เซนติเมตร ฐานสูง ๒๓ เซนติเมตร

๓. เจดีย์ตั้งอยู่ด้านหลังศาลาการเปรียญ เป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน ปัจจุบันไม่เหลือหลักฐานไว้เลย เพราะว่าถูกขุดทำลายไปหมด เล่ากันว่าเดิมเป็นเจดีย์ที่ชำรุดเหลือแต่ฐานต่อมาพระแดง ให้เด็กวัดช่วยกันขุดเอาอิฐมาใช้ประโยชน์ ได้พบศิลปะโบราณวัตถุจำนวนมาก เช่น เพชร ๔ หัว แหวน ๔ วง ทอง ๔ แท่ง เงินเฟื้อง ๑ ขัน พระพุทธรูปเงินยวง และหมักดำผาใส่กระดูก สิ่งเหล่านี้พระแดงได้นำไปถวายไว้ที่วัดพระมหาธาตุฯ เมืองนครศรีธรรมราฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๗

๔. กลองหรือ โพนมีขนาดใหญ่ ๑ ใบ ชาวบ้านเรียกว่า "โพนหนูจันทร์" มีขนาดสูง ๑ เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง ๑ เมตร สร้างจากไม้มะม่วง โดยพระแดงได้โค่นไม้มะม่วงในบริเวณวัดเมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ.๒๔๖๖ ทำเป็นตัวโพนหุ้มด้วยหนังควายผืน เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๖๖ ดังจารึกที่โพนว่า "ค้อน จ.ศ.๑๒๘๕ วันที่ ๒๕ กันยายน หุ้มวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๖๖"

โพนใบนี้ทางวัดจะนำออกมาใช้เมื่อเวลามีประเพณีการชักพระ ในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี
และเล่ากันว่าเสียงโพนนี้จะดังไปไกลมากได้ยินไปถึงอำเภอสทิงพระจังหวัดสงขลา ซึ่งอยู่คนละฝั่งทะเลสาบสงขลา

๕. สระน้ำตั้งอยู่ทางทิศเหนือของศาลาการเปรียญ ๑ สระ และตั้งอยู่หน้าวัด ๑ สระเป็นสระน้ำรูปสี่เหลี่ยม เล่ากันว่าภายในสระมีทรัพย์สมบัติซ่อนไว้ เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๒ ทางวัดได้ขุดลอกสระกายในวัดพบกระปุกสังคโลก ๑ ใบ และชิ้นส่วนเครื่องถ้วยชามจำนวนมาก ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นสระน้ำศักดิ์สิทธิ์

คำสำคัญ
วัดพระเกิด
หมวดหมู่
ศาสนสถาน
สถานที่ตั้ง
วัดพระเกิด
หมู่ที่/หมู่บ้าน
ตำบล ฝาละมี อำเภอ ปากพะยูน จังหวัด พัทลุง
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๓.(๘๕๘).กรุงเทพ.โรงพิมพ์การศาสนา.
บุคคลอ้างอิง นางสาวจิตตรา จันทรโชติ
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง อีเมล์ culture-phatthalung@hotmail.com
ถนน ราเมศวร์
ตำบล คูหาสวรรค์ อำเภอ เมืองพัทลุง จังหวัด พัทลุง รหัสไปรษณีย์ 93000
โทรศัพท์ ๐๗๔๖๑๗๙๕๙๘ โทรสาร ๐๗๔๖๑๗๙๕๙
เว็บไซต์ https://www.m-culture.go.th/phatthalung/main.php?filename=index
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่