ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 7° 18' 14.8536"
7.304126
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 15' 20.2716"
100.255631
เลขที่ : 194411
วัดทุ่งขุนหลวงนิมิต
เสนอโดย พัทลุง วันที่ 9 กันยายน 2564
อนุมัติโดย พัทลุง วันที่ 26 มิถุนายน 2565
จังหวัด : พัทลุง
0 398
รายละเอียด

วัดขุนหลวงนิมิต ที่อยู่เลขที่ ๗๘ หมู่ที่ ๙ ตำบลหารเทา อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอไปทางทิศตะวันตก ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร วัดขุนหลวงนิมิตรเป็นวัดโบราณ แต่ยังไม่ปรากฎหลักฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยใด และคำว่า "ทุ่งขุนหลวง"เป็นชื่อที่แปลกหูอยู่ไม่น้อยอาจเคยเป็นสถานที่สำคัญมาแล้วในอดีตดังตำนานเล่าต่อ ๆ มาว่า ในสมัยหนึ่งเมื่อพระเจ้าศรีธรรมโศกราช เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชได้สร้างพระบรมธาตุเจดีย์ขึ้นที่หาดทรายแก้ว หัวเมืองขึ้นต่างก็พากันนำทรัพย์สมบัติและผู้คนไปช่วยกันสร้าง พระเจดีย์ด้วยทางฝ่ายหัวเมืองปัตตานีได้รวบรวมเงินทองโดยมีขุนหลวงผู้หนึ่งซึ่งพระเจ้าศรีธรรมโศกราชส่งไปรับเงินทอง เป็นผู้คุมขบวนทรัพย์สมบัติ ในระหว่างทางได้หยุดพักแรม ณ สถานที่แห่งหนึ่งพอตกกลางคืนได้มีพวกโจรบุกเข้าปล้นทรัพย์ แต่ขุนหลวงได้ใช้กลอุบายขนทรัพย์ทิ้งลงไปในคลอง พวกโจร จึงไม่ได้ทรัพย์อะไรไปเลย หลังจากนั้นขุนหลวงได้ขนทรัพย์ขึ้น จากคลองแล้วให้สร้างวัดใกล้ๆ กับคลองให้ชื่อว่า “วัดทุ่งขุนหลวง”

วัดขุนหลวงนิมิตร ตามทำเนียบวัดของอำเภอปากพะยูน สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๑๗๑ ต่อมาได้กลายเป็นวัดร้างไปตั้งแต่ สมัยใดไม่ปรากฎหลักฐาน จนกระทั่ง พ.ศ.๒๔๖๗-๒๔๖๘ ได้มีพระสงฆ์จากวัดเสือจังหวัดสงขลาได้ร่วมมือกับชาวบ้านบูรณะวัดขึ้นใหม่ โดยมีพระผอมชาวบ้าน ฝาละมีเป็นผู้รักษาวัด แต่อยู่ได้ไม่นานก็ ลาสิกขาไปเป็นกำนันตำบลฝาละมี หลังจากนั้นพระเคว็จ เตชวโร พี่ชายของพระผอมเป็นผู้ดูแลรักษาวัด

วัดขุนหลวงนิมิตร มีโบราณวัตถุที่สำคัญคือ พระประธาน ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยประดิษฐานในศาลาการเปรียญ พระพุทธรูปองค์นี้ก่อติดกับผนังปูนผสมกรวดแบบนูนสูง ปัจจุบันถูกซ่อมแซมใหม่จึงดูผิดส่วนไปมาก ของเดิมมีเฉพาะพระพักตร์เท่านั้น เป็นฝีมือช่างท้องถิ่นสมัยอยุธยา ขนาดหน้าตักกว้าง ๒ เมตร สูง ๔ เมตร ชาวบ้านเรียกว่า "ยายทองตาหลวง" หรือ "ตาหลวงยายทอง" นอกจากนี้ยังมีพระสาวกทางซ้ายขวา ทางด้านขวา ซึ่งเป็นพระสารีบุตร ถูกช้างเหยียบพังทลาย หมดตั้งแต่สมัยที่เป็นวัดร้าง ส่วนพระสาวกทางด้านซ้ายซึ่งเป็นพระโมคคัลลานะนั้นก็ชำรุดมาก พระเศียรขาดตกอยู่ข้าง ๆ องค์พระ สาเหตุเพราะในสมัยก่อนบริเวณพระพุทธรูปเป็นป่ารกร้าง มีแต่กระแชงเท่านั้นที่คลุมพระพอกันแดดกันฝนได้บ้าง จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๙๙ ทางวัดได้ขุดหาลูกนิมิตที่หน้าพระประธาน แต่ไม่พบหลักฐานอะไร จึงได้สร้างศาลาการเปรียญครอบไว้โดยตัดไม้ในบริเวณใกล้ๆ กิ่งไม้ได้ล้มลงถูกเศียรพระโมคคัลลานะขาดตกลงมา พระเศียรมีขนาดสูง ๔๗ เซนติเมตร กว้าง ๓๐ เชนติเมตร
องค์พระสูงจากฐานถึงพระศอ ๑๐๖ เซนติเมตร เป็นศิลปะสมัยอยุธยา พระประธานและพระสาวกเคยถูกคนร้าย เจาะพระเศียรและองค์พระ รอยเจาะยังมีอยู่จนปัจจุบัน

เจ้าอาวาสปัจจุบัน ชื่อ พระวัชรินทร์ ปุญญาคโม

โบราณสถาน

กุฏิโบราณ

กุฏิไม้ทรงปั้นหยาผสมบรานอ ขนาดกว้าง ๓๐ เมตร ยาว ๑๐ เมตร ยกใต้ถุนสูง หันหน้าไปทางทิศใต้ กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียน ปี พ.ศ. ๒๔๗๘

ศาสนวัตถุ

๑. รูปปั้นตาหลวง ยายทอง

๒. พระพุทธรูปปางมารวิชัย

หมวดหมู่
ศาสนสถาน
สถานที่ตั้ง
วัดทุ่งขุนหลวงนิมิต
เลขที่ ๗๘ หมู่ที่/หมู่บ้าน ๙ บ้านทุ่งขุนหลวง
ตำบล หารเทา อำเภอ ปากพะยูน จังหวัด พัทลุง
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๓.(๗๒๒).กรุงเทพ.โรงพิมพ์การศาสนา.
บุคคลอ้างอิง นางสาวจิตตรา จันทรโชติ
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง อีเมล์ culture-phatthalung@hotmail.com
ถนน ราเมศวร์
จังหวัด พัทลุง รหัสไปรษณีย์ 93000
โทรศัพท์ ๐ ๗๔๖๑ ๗๙๕๘ โทรสาร ๐ ๗๔๖๑ ๗๙๕๙
เว็บไซต์ https://www.m-culture.go.th/phatthalung/main.php?filename=index
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่