ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : - ลองจิจูด (แวง) : -
เลขที่ : 194659
พระมหาธาตุเจดีย์ วัดบรมธาตุเจดีย์เขียนบางแก้ว
เสนอโดย พัทลุง วันที่ 14 กันยายน 2564
อนุมัติโดย พัทลุง วันที่ 5 มกราคม 2566
จังหวัด : พัทลุง
0 357
รายละเอียด

พระมหาธาตุเจดีย์ วัดบรมธ่ตุเจดีย์เขียนบางแก้ว อยู่ที่วัดเขียนบางแก้ว หมู่ที่ ๔ ตำบลจองถนน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง เป็นพระธาตุเจดีย์แบบเดียวกับที่วัดพะโคะ ตำบลชุมพ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา และน่าจะสร้างขึ้น ในระยะเวลาที่ใคล้เดียงกัน เพราะคติทางสถาปัตยกรรมคล้ายคลึงกัน ใช้วัสดุและเทคนิควิธีอย่างเดียวกันเป็นส่วนใหญ่ หรือถ้ามิเช่นนั้นก็น่าจะมีอิทธิพลต่อกัน

พระมหาธาตุเจดีย์องค์นี้ประดิษฐานอยู่ด้านหลังอุโบสถคลองบางแก้ว ก่อด้วยอิฐถือปูน มีฐาน ๘ เหลี่ยมวัดโดยรอบยาว ๑๖.๘๐ เมตร สูงถึงยอค ๒๒ เมตร ที่ฐานมีซุ้มจะระนำ ๓ ซุ่ม แต่ละซุ่มกว้าง ๑.๒๘ เมตร สูง ๑.๖๓ เมตร ลักษณะของซุ่มคล้ายกับซุ่มพระพิมพ์ดินดิบที่พบที่ถ้ำมืด จังหวัดยะลา แต่ละซุ่มมีพระพุทธรูปประทับนั่งขนาดหน้าตักกว้าง 0.94 เมตร สูง ๑.๒๔ เมตร รอบพระเศียรมีประภามณฑล เหนือซุ่มจะนำเป็นสถูปเจดีย์รูปทรงสี่เหลี่ยมอิทธิศิลปะจีน ระหว่างซุ่มทั้ง ๓ มีรูปหัวช้างปูนปั้นโผล่ออกมา ด้านทิศตะวันออกมีบันใดขึ้นสู่ฐานทักษิณา เหนือบันใดทำเป็นซุ่มยอดอย่างจนตรงมุมบันใดทั้ง ๒ ข้างมีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูป ฐานที่ติดกับองค์เจดีย์เป็น ๘ เหลี่ยม มีลายปูนปันเป็นลายเครือเถา (แต่เดิมเป็นรูปยักษ์แบก) เหนือฐานขึ้นไปเป็นองค์เจดีย์แบบโอคว่ำหรือคล้ายระฆังคว่ำ เหนือขึ้นไปเป็นรัตนบัลลังก์ เป็นแท่นรองรับแกนปล้องไฉน เป็นรูปสี่เทลี่ยมจัตุรัสมีถ้วยชามดินเผาฝังประดับไว้อย่างสวยงาม ที่มุมทั้ง ๔ ของรัตนบัลลังก์มีรูปกา

(อีกา) ปูนปัน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนสมณศักดิ์ของคณะสงฆ์ ๔ คณะคือ กาแก้ว การาม กาชาติ และกาเดิม รูปกานี่เพิ่งทำขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๐๔ พระมหาประพันธ์ ธมฺมนาโก ให้ช่างทำขึ้นเหนือรัตนบัลลังก์เป็นเสามะหวด ระหว่างเสามีพระอรหันต์ ๘ ทิศ ปูนปั้นแบบนูนสูงกึ่งนูนต่ำ เหนือขึ้นไปเป็นปล้องไฉน ๒๘ ปล้อง ถัดจากนั้นขึ้นไปเป็นบัวคว่ำ บัวหงาย แล้วเป็นปลียอด ส่วนยอดสุดของพระมหาธาตุเจดีย์ซึ่งมีช่วงความยาว ๑.๑๓ เมตร เส้นรอบวง ๔๐ เซ็นติเมตร เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๔ ได้มีการหุ้มส่วนนี้ด้วยทองคำหนัก ๙๗ บาท ๒ สถึง รอบองค์พระมหาธาตุเจดีย์มีเจดีย์ทิศประดิษฐานอยู่ทั้ง ๔ มุม ๒ องค์ที่อยู่ตรงมุมด้านหลังมีลักษณะเป็นฐานสูงรูปสี่เหลี่ยมองค์ระฆังแบบโอคว่ำ คอระฆังใหญ่ ตรงกลางคอด

เมื่อสุลต่านมูฮัมหมัดถึงแก่กรรมลง ได้มีการตั้งเชื้อพระวงศ์ขึ้นเป็นพระยาตานีอีก ๔ องค์ คือ เต็งกูปูเตะ เป็นพระยาตานีองค์ที่ ๒ เต็งกูบือซาร์ (เต็งภูตีมุง) เป็นพระยาตานีองค์ที่ ๓ เต็งกูบอสู (เต็งกูสุไลมาน ซาฟุตดิน) เป็นพระยาตานีองค์ที่๔ และเต็งกูยับดุลกอร์เดร์ กามารุดดิน เป็นพระยาตานีองค์ที่ ๕ พระยาตานีเหล่านี้ได้ประทับอยู่ ณ วังจะบังติกอดตลอดมาจนกระทั่งถึงสมัยพระบาทสมเด็จฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้รวม ๗ หัวเมือง (ได้แก่ เมืองปัตตานี หนองจิก รามัน ยะถา ระแงะ สายบุรี และยะหริ่ง ในภาคใต้เป็นมณฑลปัตตานี ตำแหน่งพระยาตานีซึ่งสืบทอดโดยราชวงศ์กลันตันจึงสิ้นสุดลง

หมวดหมู่
โบราณสถาน
สถานที่ตั้ง
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง
ถนน ราเมศวร์
จังหวัด พัทลุง
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้ เล่ม ๖ (๒๙๒๑).กรุงเทพ.บริษัท สยามเพรส แมเนจเม้นท์ จำกัด.
บุคคลอ้างอิง นางสาววนัธศนันท์ ดุษฎีศุภการย์ อีเมล์ easting17@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง
ถนน ราเมศวร์
จังหวัด พัทลุง รหัสไปรษณีย์ 93000
โทรศัพท์ ๐๗๔๖๑๗๙๕๘ โทรสาร ๐๗๔๖๑๗๙๕๙
เว็บไซต์ https://www.m-culture.go.th/phatthalung/main.php?filename=index
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่