ประวัติ
โคกเมืองบางแก้ว ตั้งอยู่บนแนวสันทรายในหมู่ที่ ๕ ตำบลจองถนน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง อยู่ห่างจากทะเลสาบสงขลาตอนในประมาณ ๑ กิโลเมตร
โคกเมืองบางแก้ว เป็นที่ตั้งเมืองพัทลุงเก่าสมัยสุโขทัย ตัวเมืองตั้งอยู่บนแนวสันทรายริมทะเลสาบ ซึ่งเกิดจากการทับถมของทรายและดินตะกอน พื้นที่ส่วนใหญ่ภายในเมือง เป็นเนินหรือโคกทรายสูงสลับกับที่ราบ โคกที่ใหญ่ที่สุดคือ โคกเมืองชาวบ้านเรียกว่า"ในเมือง"พื้นดินโดยทั่วไปเป็น ดินทรายมีต้นไม้ขนาดใหญ่ปกคลุมอยู่ทั่วไป เช่น ต้นยาง ต้นมะขาม ต้นประดู่ ต้นไทร ต้นมะม่วง เป็นต้น บนพื้นผิว ดินได้พบเศษเครื่องปั้นดินเผาสมัยราชวงศ์ซ้อง ราชวงศ์เหม็ง และสังคโลกสมัยสุโขทัยกระจายอยู่เป็นจำนวนมาก
ตามตำนานพื้นบ้านเรื่องนางเลือดขาวกล่าวว่าผู้สร้าง เมืองพัทลุงที่โคกเมืองคือ เจ้าพระยากุมารกับนางเลือดขาว ทั้งสองได้เป็นเจ้าเมืองพัทลุงคนแรก และเมืองนี้เป็นเมืองท่า ค้าขายกับชุมชนภายในและกับนานาซาติ เช่น จีน อาหรับ และกับหัวเมืองใกล้เคียง เป็นศูนย์กลางการปกครองทาง ฝั่งตะวันตกของทะเลสาบสงขลาในสมัยอยุธยา ต่อมาเมื่อ พระยาทุมารกับนางเลือดขาวถึงแก่อนิจกรรม เจ้าฟ้าคอลายผู้เป็นบุตรได้เป็นเข้าเมืองพัทลุงต่อมา จบกระทั่งโจรสลัดมลายู ได้ปล้นทำลายเมืองพัทลุง จึงต้องย้ายเมืองพัทลุงจากโคกเมือง ไปตั้งที่อื่น ในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑
สถานที่น่าสนใจ
ในบริเวณโคกเมืองบางแก้วมีโบราณวัตถุสถานที่สนใจหลายอย่าง ดังนี้ ๑. คูเมืองปัจจุบันชาวบ้านเรียกว่า "คลองบางหลวง" เป็นคูเมืองทางด้านทิศใต้ มีขนาดกว้างประมาณ ๓๐ เมตร แต่ส่วนใหญ่ตื้นเขินหมดเกือบหมดแล้ว บางส่วนของคูเมืองชาวบ้านได้ใช้เป็นที่ทำนา เคยขุดพบถ้วยจีนขนาดใหญ่สมัยราชวงศ์ เหม็ง ๑ ใบ ๒. พระพุทธรูปสองพี่น้อง ประดิษฐานอยู่ทางทิศตะวันตกของโคกเมือง เป็นพระพุทธรูปจำหลักหินทรายแดง จำนวน ๒ องค์สร้างสมัยอยุธยาตอนต้น ปัจจุบันซ่อมแซมใหม่เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นที่ไม่ทิ้งร่องรอยของเดิม ๓.โบราณวัตถุที่ค้นพบในเมือง ภายในบริเวณโคกเมืองได้เคยขุดพบโบราณวัตถุจำนวนมาก โดยเฉพาะเศษภาชนะดินเผาของตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซ้อง ราชวงศ์เหม็ง และราชวงศ์เซ็ง และเครื่องถ้วยอันนัม แต่ที่พบมากคือสมัย ราชวงศ์เหม็งและสังคโลกสมัยสุโขทัย นอกจากนี้เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๐ หน่วยศิลปากรที่ ๙ จังหวัดสงขลา ได้ขุดพบหัวธนู สำริด ๑ ชิ้นใกล้ๆกับโคกเมือง ลักษณะเป็นเหรียญกลมมีเส้น ผ่านศูนย์กลาง ๓ เซนติเมตร ด้านหน้าเป็นรูปสัตว์คล้ายม้า หรือโค อีกด้านหนึ่งจารึกอักษรอาหรับ เหรียญอย่างนี้เคยพบที่เมืองสทิงพระ เมืองปัตตานี เมืองนครศรีธรรมราช และ เมืองไชยา