ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 7° 37' 5.9999"
7.6183333
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 4' 23.9999"
100.0733333
เลขที่ : 194667
กัลปนาวัดเขียนบางแก้ว
เสนอโดย พัทลุง วันที่ 14 กันยายน 2564
อนุมัติโดย พัทลุง วันที่ 5 มกราคม 2566
จังหวัด : พัทลุง
0 339
รายละเอียด

ความหมาย

คำว่า"กัลปนา" ดามหนังสือพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕ ให้ความหมายไว้ว่า"ก. เจาะจงให้ น. ที่ดินหรือสิ่งอื่น เช่น อาคารซึ่งเจ้าของอุทิศผลประโยชน์ให้แก่วัดหรือศาสนา ส่วนบุญที่ผู้ทำอุทิศให้แก่ผู้ตาย"

กัลปนาวัดเขียนบางแก้ว หมายถึง การอุทิศที่ดินและผลประโยชน์ในที่ดิน ข้าโปรดคนทาน สิ่งของอื่นๆ ไว้สำหรับบำรุงรักบาวัดเขียนบางแก้ว

ประวัติ

วัดเขียนบางแก้ว (ปัจจุบันคือ วัดบรมธาตุย์เจดีเขียนบางแก้ว มีการเปลี่ยนชื่อวัด เมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๑) เป็นวัดที่ตั้งอยู่หมู่ที่ ๔ ตำบลจองถนนอำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง เป็นวัดโบราณที่สร้างขึ้นคู่เมืองพัทลุงในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ซึ่งเป็นที่ตั้งของคณะสงฆ์ ป่าแก้ว หัวเมืองพัทลุง มีความสำคัญในฐานะศูนย์กลางการปกครองสงฆ์ในลุ่มทะเลสาบสงขลาควบคู่กับวัดพะโคะ เป็นที่ตั้งของคณะลังกาชาติ หัวเมืองพัทลุง ในสมัยกรุงศรีอยุธยาพระมหากษัตริย์ได้ทรงพระราชอุทิศเพื่อกัลปนาให้วัดเขียนบางแก้วหลายครั้ง ได้ทรงพระบรมราชูทิศเพื่อกัลปนาที่ภูมิทานข้าพระโยมสงฆ์ และวัตถุสิ่งของเป็นจำนวนมากไว้สำหรับบำรุงรักษาวัดเขียนบางแก้ว เข้าใจกันว่าได้มีการพระบรมราชูทิศเพื่อกัลปนาแก่วัดเขียนบางแก้วมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาตอนตัน แต่เท่าที่ปรากฏหลักฐานทางเอกสารเวลานี้เขียนขึ้นไม่เกินสมัยสมเด็จพระเพทราชาหรือไม่เกิน พ.ศ.๒๒๔๒ แค่เนื้อหาใจความอาจมีอายุถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น และมักจะมีใจความคล้าย ๆ กัน ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า หนังสือกัลปนาวัดเขียนบางแก้วนิยมคัดลอกสืบต่อ ๆ กันมา ศักราชจึงไม่แน่นอนบางฉบับใจความเดียวกันแต่ศักราชคนละปีกัน

กัลปนาวัดเขียนบางแก้วเท่าที่คันพบในปัจจุบัน มี ๘ ฉบับ ดังนี้

๑. กัลปนาวัดเขียนบางแก้ว พ.ศ.๒๒๔๒ (ภาษาไทย)

๒. กัลปนาวัดเขียนบางแก้ว พ.ศ.๒๒๔๒ (ภาษาขอมปนไทย)

๓. กัลปนาวัดเขียนบางแก้ว พ.ศ.๒๒๔๒ (ภาษาขอม)

๔. กัลปนาวัดเขียนบางแก้ว พ.ศ.๒๒๔๒ (ภาษาขอม)

๕. กัลปนาวัดเขียนบางแก้ว ไม่ทราบศักราช (อักษรขอมหวัด)

๖. กัลปนาวัดเขียนบางแก้ว พ.ศ.๒๒๗๒ (ภาษาไทย)

๗. กัลปนาวัดเขียนบางแก้ว พ.ศ.๒๒๗๒ (ภาษาไทย)

๘ กัลปนาวัดเขียนบางแก้ว ไม่ทราบศักราช (ภาษาไทย)

การพระบรมราชูทิศเพื่อกัลปนาให้วัดเขียนบางแก้วครั้งแรกเกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ประมาณสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พ.ศ.๒๑๐๙-๒๑๑๑) โดยพระมหากษัตริย์ได้พระราชทานที่ภูมิทานเลณฑุบาต ให้แก่ วัดเขียนบางแก้วละวัดสทัง (วัดสทังใหญ่ ตำบลหานโพธิ์ อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง) เนื่องจากในขณะนั้นพระครูอินทเมาลีฯเจ้าคณะป่าแก้วหัวเมืองพัทลุง ได้ปกครองวัดเขียนบางแก้ว และวัดสทังใหญ่ ทั้งสองวัดจึงมีเลณฑุบาตรร่วมกัน ดังปรากฏหลักฐานในเพลานางเลือดขาวดังนี้

"แค่ลำน้ำบางแก้วขึ้นไปท่าแม่นางพรหมแลไป กลตุง ๆ แล่นไปหลาวหลูด ๆ แล่นไปกลางควนกะชังๆ แล่นไปควนกะทุๆ แล่นไปลำน้ำ กมอนรไสย ๆ แล่นไป หัวควนกะหยะเก่า ๆ แล่นไปตามแม่น้ำเชิงกุฏิ ๆ แล่นไปท้ายควนธิญาน ฝ่ายอุดร ๆ แล่นไปละหาน ๆ แล่นไปเปรวชะเมาแล่นไปปากแวะตีนทะเลสาบเป็นแดนต่อแดนนี้แล" นอกจากนี้พระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ได้โปรดเกล้าฯพระราชทานชาวเชิงกุฏิ ศีลบาลทานพระกัลปนา ข้าโปรดคนทานและสิ่งของ อิฐปูนรักทอง บรรทุกเรือสำเภา ๓ ลำ มอบแก่พระดรูอินทเมาลีฯ เพื่อใช้ในการบูรณะวัดวาอารามในหัวเมืองพัทลุง และโปรดเกล้าฯ ให้ยกวัดในหัวเมืองตรัง เมืองนครศรีธรรมราช และเมืองพัทลุง จำนวน ๒๙๐-๒๙๘ วัด ขึ้นกับวัดเขียนบางแก้วและวัดสทังคณะป่าแก้ว หัวเมืองพัทลุง ที่ปรากฏรายชื่อในเอกสารกัลปนาวัดหัวเมืองพัทลุง

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายการพระบรมราชูทิศเพื่อกัลปนาให้แก่วัดเขียนบางแก้ว และวัดสทังแยกออกเป็นรายวัดคือ วัดเขียนบางแก้ว มีการพระบรมราชูทิศเพื่อกัลปนาข้าพระโยมสงฆ์ มี ๑๔ หัวงาน ขุนธรรมพยาบาลเป็นนายประเพณีคุมข้าพระ ได้แก่ นางหนักทองหัวงานหนึ่ง นางเอียงหัวงานหนึ่ง นางแมะหัวงานหนึ่ง นางแกนหัวงานหนึ่ง นางศรีหัวหน้างานหนึ่ง นางพุดหัวงานหนึ่ง นางศรีคงหัวงานหนึ่ง นางศรีบุตรีหัวงานหนึ่ง นางอินท์หัวงานหนึ่ง นางยอดทองหัวงานหนึ่ง นางศรีพุดทองหัวงานหนึ่ง นางตาดหัวงานหนึ่ง นางบัวทองหัวหน้างานหนึ่ง นางเทดหัวหน้างานหนึ่ง ข้าพระเหล่านี้เจ้าเมือง ปลัดเจ้าเมืองและกรมการเมือง จะเก็บภาษีอากร หรือเกณฑ์ไปใช้งานหลวงไม่ได้ ถ้าเกิดคดีความขึ้นในหมู่ข้าพระทางวัดจะพิจารณาตัดสินกันเองยกเว้นคดีความอาญา ข้าพระเหล่านี้จะทำมาหากินบนพื้นที่กัลปนา เพื่อเก็บผลประโยชน์บำรุงวัดที่ดินกัลปนาวัดหรือที่ภูมิทานหรือที่เลณฑุบาต วัดเขียนบางแก้ว มีอาณาเขตกว้างขวางมากดังที่เอกสารกัลปนาวัดหัวเมืองพัทลุง พ.ศ.๒๒๔๒ สมัยสมเด็จพระเพทราชา พื้นที่เลณฑุบาตดังกล่าว มีอาณาเขตกว้างขวางครอบคลุม พื้นที่ตำบลจองถนน ตำบลควนขนุน ตำบลเขาชัยสน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง ตำบลนาปะขอ ตำบลท่ามะเดื่อ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง และพื้นที่ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง

หมวดหมู่
แหล่งโบราณคดี
สถานที่ตั้ง
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง
ถนน ราเมศวร์
อำเภอ เมืองพัทลุง จังหวัด พัทลุง
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
ที่มา : สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้ เล่ม ๑ (๒๘๓).กรุงเทพ.บริษัท สยามเพรส แมเนจเม้นท์ จำกัด.
บุคคลอ้างอิง นางสาวธิดา ส่งไข่
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง
ถนน ราเมศวร์
จังหวัด พัทลุง รหัสไปรษณีย์ 93000
โทรศัพท์ ๐๗๔๖๑๗๙๕๙๘ โทรสาร ๐๗๔๖๑๗๙๕๙
เว็บไซต์ https://www.m-culture.go.th/phatthalung/main.php?filename=index
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่