ประวัติ
พระเสื้อเมืองพัทลุง เดิมประดิษฐานอยู่ในศาลพระเสื้อเมือง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๔ ตำบลลำป้า อำเภอเมืองพัทลุง พระเสื้อเมืองพัทลุงปัจจุบันได้สูญหายไปเสียแล้ว จากการบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ได้ความว่า พระเสื้อเมืองเดิมเป็นรูปพระจีน แกะสลักด้วยไม้ ต่อมาเมื่อเมืองพัทลุงได้ย้ายจากตำบลลำปำไปตั้งที่ตำบลคูหาสวรรค์ เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๖ ศาลพระเสื้อเมืองถูกทิ้งร้างไม่มีใครสนใจ พระเสื้อเมืองและประติมากรรมอื่น ๆ ได้มีชาวจีนจากจังหวัดตรังนำไปเพื่อประดิษฐานไว้ในศาลเจ้าจีน แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเป็นศาลเจ้าใด ปัจจุบันจึงเหลือแค่อาคารศาลพระเสื้อเมือง มีลักษณะเป็นรูปเก๋งจีนหรือโรงพระจีนก่อด้วยอิฐถือปูน รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้างประมาณ ๕ เมตร ยาวประมาณ ๑๐ เมตร ภายในแบ่งเป็นส่วนไว้รูปเคารพหรือหน้าพระ และส่วนที่ใช้สำหรับกราบไหว้บูชา ปัจจุบันอาคารถูกทิ้งร้างชาวบ้านได้ดัดแปลงเป็นฉางข้าว ใช้เก็บข้าวเปลือกและฟางข้าว
พระหลักเมืองพัทลุง เดิมสร้างด้วยไม้แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าประดิษฐานอยู่ที่ไหน ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสาหลักเมืองถูกทิ้งร้างอยู่ทางทิศตะวันตกของวัดวิหารเบิก หมู่ที่ ๔ ตำบลลำปำ อยู่ใกล้กับสะพานข้ามคลองน้ำเชี่ยวในปัจจุบัน เกี่ยวกับพระหลักเมืองพัทลุง สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ได้เสด็จตรวจราชการแหลมมลายู พ.ศ.๒๔๔๕ ได้เสด็จผ่านเมืองพัทลุงด้วย ได้ทรงพระนิพนธ์ไว้ใน"จดหมายระยะทางไปตรวจราชการแหลมมลายู ร.ศ.๑๒๑" ตอนหนึ่งกล่าวไว้ว่า
"ข้ามตพานเดินเลยไปหน่อยแล้วกลับมาทางเดิม เห็นเสาต้นหนึ่งปักอยู่ริมศาลาเชิงสพาน มีผ้าขาวผ้าแดงผูก ถามเขาว่าอะไร เขาว่าหลักเมือง เดิมปักไว้ที่ริมศาล ทำถนนใหม่กีด ถอนย้ายมาปักไว้ที่นี้การนี้มีความสังเวชหน่อยที่ข้าราชการเราศิวิไลยเร็วนัก ได้ขอให้เขาทำหลังคาคร่อมไว้"
จากบันทึกนี้แสดงให้เห็นว่าเดิมพระหลักเมืองสร้างด้วยไปตามกาลเวลา จนทุกวันนี้มีน้อยคนนักที่จะรู้จักพระหลักเมืองพัทลุงไม้ปักไว้ใกล้ ๆ กับศาลเก่า แต่เมื่อสร้างถนนอภัยบริรักษ์หรือถนนสายพัทลุง-ลำป้า จึงได้รื้อพระหลักเมืองไปปักไว้ริมสะพานทางทิศตะวันตกของวัดวิหารเบิก สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงเห็นถึงความสำคัญของสิ่งนี้ จึงได้ทรงให้ข้าราชการ ในสมัยนั้นทำหลังคาคร่อมไว้ แต่ต่อมาคงไม่มีใครสนใจคิดจะบำรุงรักษา จึงทำให้พระหลักเมืองหักพัง