ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 7° 37' 5.9999"
7.6183333
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 4' 23.9999"
100.0733333
เลขที่ : 194735
หวาก
เสนอโดย พัทลุง วันที่ 15 กันยายน 2564
อนุมัติโดย พัทลุง วันที่ 7 กรกฎาคม 2565
จังหวัด : พัทลุง
0 947
รายละเอียด

หวาก ตะหวาก ตะเวาะ (ภาษามลายูท้องถิ่น) ก็ว่าเป็นเครื่องดื่มประเภทเครื่องดองเมาซึ่งทำจากน้ำหวานที่ให้จากพืช เช่น ตาลโตนด จาก มะพร้าว เต่าร้าง อ้อย รากหญ้าคาเป็นต้น จำนวนดีกรีของหวากไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำตาลที่มีอยู่ในน้ำหวาน หากปริมาณน้ำตาลมากดีกรีก็สูงแต่ถ้าปริมาณน้ำหวานน้อยดีกรีของหวากก็ต่ำลงตามส่วนลักษณะของหวากเป็นน้ำขุนสีขาวคล้ายน้ำซาวข้าวมีฟองขาวและมีรสขนๆ หวานๆ บางทีก็มีรสเปรี้ยวเจือปนอยู่ด้วย ตามแต่จะปรุงแต่งรสตามที่ต้องการ หวากแบ่งเป็นชนิดใหญ่ๆ ได้ ๒ ชนิด คือ หวากลูกยอด และหวากดอง (หรือหวากหมัก)หวากลูกยอด ได้แก่ หวากซึ่งได้จากการที่ใช้ภาชนะรองรับจากการหยดจากงวงตาลหรือต้นพืชโดยตรง ส่วนหวากดอง ได้แก่ หวากซึ่งได้จากการที่นำน้ำหวานจากพืชหรือน้ำตาลละลายแล้วใช้เชื้อหวากผสมเก็บไว้จนเป็นหวาก คือมีฤทธิ์ทำให้มึนเมา

พืชที่นิยมใช้ทำหวากมากในภาคใต้คือ ตาลโตนด จากและมะพร้าว การทำหวากด้วยต้นจากนั้นไม่ต้องปืนขึ้นไปทำบนต้น เพราะต้นจากไม่สูงเหมือนพืชยืนต้นอื่นๆ แต่สำหรับการทำหวากด้วยตาลโตนดนั้นจะต้องมีพะองไม้ไผ่ที่แข็งแรง เช่น ไม้ไผ่ตง สำหรับพาดขึ้นแต่ละต้น แต่ถ้าต้นตาลนั้นอยู่ใกล้กัน เพราะโดยปกติจะปลูกต้นตาลเป็นทิวแถวใกล้ชิดกันบนคันนา เมื่อเป็นเช่นนี้ก็นิยมทอดสะพานจากต้นที่พาดพะอง แล้วไปยังต้นอื่นๆ ด้วยการทอดสะพานนี้ใช้ไม้ไผ่หรือไม้อื่นก็ได้เพียง ๖-๘ ต้น ก็เป็นการเพียงพอ ซึ่งทำให้เป็นการประหยัดเวลาในการขึ้นลงและทุนทรัพย์ในการพาดพะองด้วย ส่วนต้นมะพร้าวนิยมใช้ขวานบากลำต้นให้เป็นที่เหยียบเป็นช่วงๆ ทั้งด้านซ้ายและขวาของลำต้น โดยห่างกันพอเหมาะกับการเหยียบเพื่อใช้ปืนขึ้นไปบนต้น

วิธีทำหวาก

๑.หวากลูกยอดเอาเชื้อหวาก (คือหวากซึ่งมีเชื้อทำให้มึนเมาเต็มที่แล้ว) ๒-๓ แก้ว ใส่กระบอกไม้ไผ่ซึ่งมีความจุประมาณ ๑.๒ ลิตร แล้วนำภาชนะนี้ไปรองรับน้ำหวานที่หยดจากงวงตาลหรืองวงมะพร้าว ซึ่งเกิดจากการใช้มีดคมๆปาดวันละ ๒ เวลา เช้าและเย็น (การปาดแต่ละครั้งจะต้องปาดได้บางขนาดไม่เกิน ๒-๓ มิลลิลิตร) น้ำหวากที่ได้จากการปาดตอนเช้าจะเก็บตอนเย็น และน้ำหวากที่ได้จากการปาดตอนเย็นจะเก็บตอนเช้า จะไม่ปล่อยหวากทิ้งไว้ในภาชนะข้ามวันข้ามคืน เพราะเชื้อหวากจะมากเกินไป ทำให้หวากแก่หรือเปรี้ยว และทำให้หวากล้นภาชนะด้วย

๒. วิธีทำหวากดองหรือหวากหมักเริ่มต้นโดยการเอาเชื้อของหวากประมาณ ๑ ส่วนใน ๕ ส่วนของน้ำหวานที่จะทำหวากทั้งหมดหรือยิ่งมากยิ่งดี ใส่ลงในภาชนะแล้วผสมน้ำหวานซึ่งอาจได้จากน้ำตาลสดหรือน้ำตาลที่นำมาละลายน้ำคล้ายน้ำเชื่อม โดยเปรียบเทียบว่าให้หวานเหมือนน้ำตาลสดใส่ลงในภาชนะที่จะใช้หมักหวากนั้นประมาณร้อยละ ๘๐ ของน้ำที่จะทำให้เป็นหวากดองทั้งหมด แล้วปิดให้มิดชิดเก็บไว้ประมาณ ๒ วัน ถ้าจะให้ดีควรเก็บไว้ในที่ที่แดดส่องถึง เพราะหวากจะเป็น (ได้ที่) เร็ว และสะอาดดีด้วย หวากที่เป็นแล้วจะมีฟองอากาศปุดๆ ขึ้น เมื่อชิมดูได้ที่แล้วนำออกมาดื่มได้แต่รสชาติของหวากดองย่อมด้อยกว่าหวากลูกยอดเป็นธรรมดาคือ อาจจะรู้สึกจืดชืดกว่า

รสชาติของหวากที่นิยมดื่ม

รสชาติของหวากที่นิยมดื่มย่อมขึ้นอยู่กับผู้ดื่มแต่ละคนและแต่ละท้องถิ่น กล่าวคือ บางคนชอบรสอ่อน คือมีรสหวานผสมอยู่ด้วย แต่บางคนชอบรสแก่ คือรสขมคล้ายเบียร์หรือมีรสเปรี้ยวผสม และบางท้องที่ก็ไม่นิยมใส่เปลือกไม้แช่ไว้ในหวาก แค่บางท้องที่ก็นิยม ฉะนั้นรสชาติอันนี้ผู้ดื่มหรือผู้ทำหวากจะต้องปรุงแต่งให้ได้ตามความต้องการ โดยการแต่งกระบอกหรือภาชนะที่ใส่หวาก หรืออาจใส่เปลือกไม้ซึ่งเตรียมไว้แล้วใส่ลงในกระบอกหรือภาชนะที่ใช้รองรับหวากนั่นเองแต่โดยทั่วไปแล้วถือว่าหวากที่ล้างกระบอกให้สะอาดไม่มีตะกอนและไม่ใส่เปลือกไม้ลงไปแช่เอาไว้เป็นหวากที่สะอาด เมื่อดื่มแล้วจะไม่ให้โทษแก่ร่างกาย

โดยปกติหวากที่ได้จากต้นตาลซึ่งอยู่ริมแม่น้ำที่มีน้ำเค็มขึ้นถึง หรือหากที่ได้จากต้นจากจะมีรสเค็มนิดหน่อย และหวากที่ได้จากตาลเมียจะมรดีกรีค่อนข้างสูง เพราะน้ำหวานที่หยดออกมามีรสหวานจัดจึงมีรสดี โดยทั่วไปจึงนิยมรสชาติของหวากประเภทนี้มากกว่ารสอื่นๆ

วัฒนธรรมและความเชื่ออื่นที่เกี่ยวข้อง

การทำหวากจากต้นตาล ผู้ทำหวากในบางท้องที่มีความเชื่อไปต่างๆ นานา เช่น การเริ่มพาดพะองเพื่อขึ้นไปทำหวากนั้นจะต้องดูฤกษ์ยามตามตำราโหราศาสตร์เสียก่อน บ้างก็เชื่อว่าห้ามเริ่มพาดในวันอังคารและวันพุธ เพราะถือว่าวันอังคารเป็นการทำเพื่อโจร ฉะนั้นหากเริ่มทำในวันนี้ก็อาจทำให้มีคนขโมยหวากในภายหลัง และถ้าทำในวันพุธซึ่งเป็นวันที่เน่าเปื่อยก็อาจทำให้ผู้ทำหวากมีอุบัติเหตุตกจากต้นตาล หรือได้ปริมาณหวากน้อย เป็นต้น สำหรับวันที่จัดเป็นวันดีในการเริ่มพาดพะองเพื่อเริ่มต้นทำหวาจากต้นตาลนั้น ถือว่าควรเป็นวันพฤหัสบดีหรือวันเสาร์และทิศทางของพะองที่พาดห้ามอยู่ทางทิศตะวันตกของต้นตาลเพราะถือว่าอาจทำให้ผู้ทำหวากเกิดอุบัติเทตุจากต้นตาลได้ และทิศที่ดีก็คือ ทิศตะวันออกและทิศเหนือของต้นตาล

ในการทำหวากจากต้นตาลเมียนั้น ผู้ทำหวากบางคนต้องใช้คาถาในการหนีบงวงตาลด้วยคือ เมื่อเริ่มหนีบที่ลูกตาลก็ต้องว่าคาถาดังต่อไปนี้ ๓ คาบเสียก่อน คือ “โอมจักขุทะลุบาดาล ให้มึงออกวันหนึ่งเจ็ดทะนาน แล้วมหาจักขุ” เป็นต้น

คำสำคัญ
หวาก
สถานที่ตั้ง
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง
ตำบล คูหาสวรรค์ อำเภอ เมืองพัทลุง จังหวัด พัทลุง
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้ เล่ม 17 (8499).กรุงเทพ.บริษัท สยามเพรส แมเนจเม้นท์ จำกัด.
บุคคลอ้างอิง นางสาวธิดา ส่งไข่
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง
ตำบล คูหาสวรรค์ อำเภอ เมืองพัทลุง จังหวัด พัทลุง รหัสไปรษณีย์ 93000
โทรศัพท์ ๐๗๔๖๑๗๙๕๘ โทรสาร ๐๗๔๖๑๗๙๕๙
เว็บไซต์ https://www.m-culture.go.th/phatthalung/main.php?filename=index
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่