๑. ประวัติความเป็นมา
ประชาชนในหมู่บ้านหมู่ที่ ๒ ตำบลคู้ยายหมี ส่วนใหญ่ปลูกขนุนไว้สำหรับรับประทาน โดยชาวบ้านจะนำขนุนอ่อนมาแปรรูปด้วยการทำลาบขุนและนำมาจิ้มกับน้ำปลาร้าสับไว้รับประทานกันภายในครอบครัว แต่ถ้าเป็นขนุนแก่จะนำมาทอด เนื่องจากในสมัยก่อนบรรพบุรุษประกอบอาชีพทำนา ทำสวน ทำไร่ จึงไม่มีเวลาทำกับข้าวให้ลูกหลานได้รับประทาน จึงนำขนุนอ่อนมาแปรรูปเห็นลาบขนุนไว้รับประทานภายในครอบครัวและถ่ายทอดให้กับลูกหลาน จนเป็นอาหารที่นำมาใช้ในประเพณีท้องถิ่น
๒. จุดเด่น / เอกลักษณ์ของอาหารพื้นถิ่น
การนำมะพร้าวมาคั่ว กระเทียมเผา หอมเผา กะปิเผา แล้วนำมาปรุงใส่ในลาบขนุนให้ได้รสชาติกลมกล่อม
๓. วัตถุดิบในการทำอาหารพื้นถิ่น
๑.ขนุนอ่อน ๑ ลูก
๒. กระเทียม ๒๐ กลีบ
๓. หัวหอมแดง ๒๐ หัว
๔. กะปิ ๑ ช้อนโต๊ะ
๕. มะขามเปียก ๑ ก้อน
๖. มะนาว ๓ ลูก
๗. มะพร้าวแก่ ๑ ลูก
๘. ข่าและตะไคร้ (นำไปคั่ว)
๙. พริกแห้งเม็ดใหญ่ และพริกแห้งเม็ดเล็ก อย่างละ ๕ เม็ด
๑๐. น้ำปลา
๑๑. น้ำตาลทราย
๑๒. น้ำปลาร้า
๑๓. ผักชีใบเลื่อย (ผักชีใบยาว หรือ ผักชีฝรั่ง)
๔. วิธีการทำ
วิธีการต้มขนุน
๑.นำขนุนมาหั่นเป็นแว่นๆ แล้วนำไปต้ม ใช้เวลาในการต้ม ๑ ชั่วโมง พอขนุนเปื่อยให้ตักขึ้นพักให้ขนุนเย็น
๒. นำขนุนที่ต้มสุกเย็นตัวแล้วไปฉีกเป็นชิ้นๆ พักไว้
วิธีการเตรียมน้ำปรุงรสลาบขนุน
๑. นำหอมแดง กระเทียม พริกแห้ง กะปิ ไปเผาไฟ
๒. นำข่า ตะไคร้ ที่คั่วแล้วมาตำให้ละเอียด ใส่หอมแดง กระเทียม กะปิที่เผาแล้วลงไปตำให้ละเอียดเข้ากัน
๓. นำน้ำมะขามเปียก น้ำมะนาว น้ำตาลทราย น้ำปลาและน้ำปลาร้า ผสมกัน ชิมรสตามชอบ เพื่อนำมาเป็นน้ำปรุงรส
๔. นำพริกแห้งที่คั่วแล้วโขลกละเอียดแล้วมาผสมกับน้ำปรุงรส
๕. นำมะพร้าวที่คั่วแล้วมาใส่กับขนุนที่ฉีกและคลุกเคล้าให้เข้ากันกับน้ำปรุงรส
๖. ใส่ผักชีใบเลื่อย ที่หั่นเป็นชิ้นเล็กๆแล้ว
๗. ใส่มะพร้าวคั่วโรยหน้า ตามความชอบ มะพร้าวคั่วจะให้ความหอมและเพิ่มรสชาติให้กลมกล่อมชวนให้รับประทาน
๘. ตักลาบขนุนใส่จาน หรือ ภาชนะที่เตรียมไว้ หรือภาชนะที่มีในท้องถิ่น เช่น ใบเล็บครุฑลังกา เพื่อเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์อาหารพื้นถิ่นุ