มีเรื่องเล่ากันมาว่า ในเขตตำบลท่าแคที่เกี่ยวข้องกับเรื่องโนรา กล่าวถึงขุนศรีศรัทธาหรือขุนศรัทธาว่าเป็นโอรสของนางศรีคงคาหรือนางศรีมาลาหรือนางนวลทองสำลี ซึ่งถูกพระบิดาเนรเทศโดยการลอยแพ และได้ไปอาศัยอยู่ที่เกาะกะชังจนบางให้กำเนิดโอรสและตั้งชื่อว่าเจ้าชายน้อย เจ้าชายน้อยได้ฝึกร่ำโนรากับพระมารดาจนชำนาญ ภายหลังได้เดินทางกลับบ้านเมืองของตนคือเมืองพัทลุง ต่อมาได้มีโอกาสเข้ารำโนราถวายพระอัยกา พระอัยกาประทานเครื่องทรงกษัตริย์ให้เป็นเครื่องแต่งตัวโนรา และทรงตั้งเจ้าชายน้อยเป็นขุนศรีศรัทธา
ขุนศรีศรัทธาได้มาครอบครองดินแดนที่เรียกว่า "ท่าแค" แล้ว ตั้งโรงฝึกหัดรำโนราขึ้นในบริเวณที่เรียกว่า"โคกขุนทา" ตำบลท่าแค อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง ปัจจุบันจึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ขุนศรัทธาท่าแค" และเชื่อกันว่าขุนศรีศรัทธาเป็นคนคนเดียวกับพระเทพสิงขร เพียงแต่เป็นคนละภาค (กับ) กัน ตามความเชื่อของคณะโนรา และชาวบ้านในตำบลท่าแคนั้นเชื่อว่าขุนศรีศรัทธามีหลายคน คือ ศรัทธาเทพ ศรัทธาแย้ม ศรัทธาราม ศรัทธาเกลา ซึ่งขุนศรีศรัทธาน่าจะเป็นชื่อตำแหน่งมากกว่าชื่อบุคคล และอาจจะเป็นตำแหน่งของเจ้าผู้ครองเมืองหรือตำแหน่งผู้นำกลุ่มหรือชุมชน แล้วชื่อบุคคลเหล่านั้น เช่น ศรัทธาเทพ ศรัทธาแย้ม เป็นต้น แต่ตำแหน่งนี้จะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับการละครพ้อนรำหรือโนราส่วนหนึ่งด้วย ในบริเวณวัดท่าแค ตำบลท่าแค มีสถานที่ที่เรียกว่า "เขื่อนขุนทา" เชื่อกันว่าเป็นสถานที่ที่บรรจุอัฐิของขุนศรีศรัทธา ซึ่งมีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดโนราโรงครูใหญ่วัดทำแค และเรียกโนราโรงครูแห่งนี้ว่า "โรงครูขุนทา" เขื่อนขุนทาในวัดท่าแคนั้นเป็นที่เคารพนับถือของคณะโนรา ลูกหลานตายายโนรา และชาวบ้านโดยทั่วไป นอกจากนี้ที่เขื่อนขุนหาจะมีคนเฝ้าอยู่เป็นประจำคล้ายกับเป็นคนคอยรับใช้ขุนศรีศรัทธานั่นเอง ปัจจุบันนี้ คือ รับศรีศรัทธานั่นเอง ปัจจุบันนี้คือ นายเที่ยง ชูศรี ซึ่งจะได้กล่าวรายละเอียดต่อไปในเรื่องพระม่วงทอง ครูหมอโนราที่สำคัญอีกองค์หนึ่ง