พระธาตุจอมแว่ ได้สร้างขึ้นโดยพญางำเมือง เจ้าเมืองภูกามยาว (พะเยา) ในรวม จ.ศ.๖๕๖ (พ.ศ.๑๘๓๗) โดยที่พระองค์ได้เสด็จขึ้นดอยซางคำ (ชื่อเดิมของดอยจอมแว่) เพื่อตรวจดูอาณาเขตบ้านเมืองของพระองค์ ว่ามีไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ว่าอยู่ตรงไหนบ้าง จางนั้นจึงเสด็จไปยังดอยอีกลูกหนึ่งซึ่งอยู่ตอนเหนือของลำน้ำแม่คาวด้วน และเสด็จเลียบต้นดอยด้วน (ดอยงาม) แล้วเสด็จไปยังเมืองภูกามยาว เมื่อพระองค์เสด็จถึงเมืองภูกามยาวในเดือน ๔ ปีเดียวกัน จึงโปรดให้ขันฑเสนามาตย์นำผู้ที่มีความรู้ในการก่อสร้างเจดีย์ พร้อมกับไพร่ฟ้าปลายแดนมาลงแรงช่วยกันสร้างพระธาตุจอมแว่ขึ้นที่ดอยซางคำ โดยได้ก่อทับรอยฟานเอาไว้ บรรจุพระเกศาธาตุ และแก้วแหวนเงินทองเอาไว้ สร้างเสร็จสมบูรณ์ในเดือน ๘ จึงได้มีพิธีเฉลิมฉลองสมโภชพระเจดีย์เป็นเวลา ๓ วัน ๓ คืน
ในสมัยเจ้าเมืององค์ต่อมา บ้านเมืองอยู่ในสภาวะไม่สงบสุขประชาชนจึงได้อพยพไปอยู่ที่อื่น ทำให้พระธาตุจอมแว่ทรุดโทรมปรักหักพังจากภัยธรรมชาติ จนในปี จ.ศ.๑๑๙๙ (พ.ศ.๒๓๘๐) พระยาหาญเจ้าเมืองพานคนแรกจึงได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่จากซากเดิม จนในสมัยพญาไชยชนะสงคราม เจ้าเมืองพานคนที่ ๓ ได้รวมศรัทธา ๓ หมู่ ร่วมกันบูรณะพระธาตุขึ้นมาใหม่ให้ใหญ่กว่าเดิมแล้วบรรจุ พระมหาชินธาตุเอาไว้ 1/11 ต.เมืองพาน อ.พาน จ.เชียงราย โดยวัดพระธาตุจอมแว่ เป็นหนึ่งในพระธาตุ ๙ จอม ปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงราย
ความเชื่อ ในการไหว้ พระธาตุดอยจอมแว่
- แว่...เป็นภาษาเหนือ แปลว่า แวะถ้าผู้ใดผ่านมาแวะกราบไหว้บูชาก็จะแคล้วคลาดปลอดภัยจากสิ่งเลวร้ายทั้งปวง
- แว่...เปรียบเหมือนเสียงเริ่มพูด เริ่มเจรจา ถ้าได้กราบไหว้และตั้งจิตอธิฐานการเจรจาธุรกิจจะประสบผลสำเร็จ
คำบูชาพระธาตุ
อะหัง วันทามิ มหาชินะ เกศา ธาตุโย
พุทธรูปัง โคตมัง อะหัง วันทามิ