นาคู “แหล่งค้นพบรอยเท้าไดโนเสาร์”
ประวัติความเป็นมา ภูมิลำเนาเดิมของชาวอำเภอนาคู
บริเวณพื้นที่ที่ตั้งอำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ ด้วยการสืบความไถ่ถามและสืบค้นหลักฐานเอกสาร สภาพพื้นที่ หลักฐานที่เป็นคำบอกเลาสืบต่อ ๆ กันมาหลายชั่วอายุคนมีข้อมูลบางประการที่พอจะนำมาเรียบเรียงเป็นเรื่องราวเล่าขานพอเป็นเอกสารค้นคว้าสีบไป ดังนี้ชนชาติต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย นอกจากชาวไทยแล้ว ยังมีคนไทย ในกลุ่มชนอื่น ๆ อีกหลายกลุม เช่น ไทพวน หรือลาวพวน ย้อ กะเลิง กะโซ่ กะตาก ซ่ง หรือโซ่ง ข่า ภูไทหรือพุไท ชนเผ่าต่าง ๆ ดังกลาวนึ้ มึถึ่นฐานเดิมอยู่ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงประเทศลาวซึ่งมีลักษณะทางภาษาแตกต่างกันหุบเขาภูพานด้านทิศตะวันตก หมู่บ้านที่ตั้งอยู่ก่อนแล้วมี 3 หมู่บ้าน คือ บ้านนาคู บ้านนาขาม และบ้านนาคอง เดิมได้อพยพมาจากเมีองนาน้อยอ้อยหนู หรือน้ำน้อยอ้อยหนูเมีองน้ำน้อยอ้อยหนูเป็นหัวเมีองใหญู่เมืองหนึ่งในเขตสิบสองจุไทตอนใต้ กาลครั้งหนึ่งเกิดทุพภิกขภัยฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ราษฎรอัตคัดขัดสนไม่ได้ประกอบการทำนาทำไร่จึงเกิดการขาดแคลนเดือดร้อนทั่วไป เจ้าเมืองจึงคิดแก้ไขด้วยวิธีอพยพ หรือไม่ก็มีราษฎรถูกกดขี่ข่มเหงจากเจ้าเมือง จึงเกิดการทะเลาะกันขึ้นกับนายครัวผู้เป็นหัวหน้า นายครัวจึงเกลี้ยกล่อมเอาพรรคพวกของตนออกจากเมีองน้ำน้อยอ้อยหนู อพยพลงมาทางตอนใต้มาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของเจ้าเมีองนครเวียงจันทน์เมีองน้ำน้ออ้อยหนูมีชนเผ่าหลายเผ่าหลายภาษา การอพยพลงมาคงจะอพยพมาเป็นหมวดหมู่ ซึ่งแต่ละเผ่าลงมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารเจ้าเมีองเวียงจันทน์ และได้สอบถามอาชีพที่เคยทำเมี่อครั้งอยู่เมีองน้ำน้อยอ้อยหนู เมี่อได้ทราบว่าพวกใดเคยทำไร่ข้าวและทำสวนก็ให้อพยพไปตั้งบ้านเรีอนอยู่ตอนใต้ฝั่งตะวันออกแม่น้ำโขงติดต่อเขตแดนญูวน เพราะมีภูเขามากแล้วรวมเป็นหมู่บ้านเป็นเมืองตามเผ่าพันธุ์และภาษา เช่น เมิองวัง เมีองพิณ เมืองนอง เมืองตะโปน (เซโปน)เมืองเชียงร่ม และเมีองผาบัง เป็นต้น แต่ก็ยังมีบางครอบครัวอพยพข้ามแม่น้ำโขงมาตั้งบ้านเรือนอยู่ทางตะวันตก (ฝั่งขวา) รวมกันเป็นหมู่บ้าน แล้วทำนาทำไร่บางส่วนก็อพยพเป็นหมวดเป็นหมู่กันลงมาเรื่อยๆสันนิษฐานว่า บ้านบก และบ้านด้วยนายม มักอพยพลงมาในรูปลักษณะนี้พอลึกถึงหุบเขาภูพานเห็นชัยภูมิที่เหมาะสมก็ตั้งบ้านเรือนอยู่ในทำเลที่ตนชอบ กลุ่มชนต่าง ๆ ที่อพยพมาจากฝั่งโขงตะวันออกประเทศลาว ได้อพยพเข้ามาอยูในสยามประเทศ เนี่องด้วยเหตุผลในการสงครามบ้าง ถูกกดขี่ข่มเหงไม่ได้รับความเป็นธรรมจากผู้ปกครองบ้านเมืองบ้าง และประสพทุพภิกขภัยฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลบ้าง ถูกกวาดต้อนมาและติดตามญูาติพี่น้องมาภายหลังบ้าง ต่าง ๆ คราวกันตามสมัยและเหตุการณ์เท่าที่ค้นพบหลักฐานมีดังต่อไปนี้
เมื่อพุทธศักราช 2384 กลุ่มอุปฮาด ขุนเทพ และขุนมีสิทธิ์ เป็นครัวอพยพมาจากบ้านบกและกลุ่มโคตรหลักคำ พรหมดวงสี และหมอลำพอมอน เป็นครัวอพยพมาจากบ้านด้วยนายมเมืองฝั่งตะวันออกประเทศลาว เป็นหัวหน้าผู้นำอพยพ สาเหตุที่อพยพมานั้นคือ การทำสงคราม ถูกกดขี่ข่มเหงจากผู้ปกครอง และอีกอย่างหนึ่ง เป็นเพราะรัฐราโชบาฮของรัชกาลที่ 1 พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์จะให้ประชาชนอพยพมาฝั่งตะวันตกให้มากที่สุดเพื่อตัดกำลังพลของนครเวียงจันทน์ในระหว่างประชาชนเกิดความเดือดร้อนดุจเปลวเพลิงเผาผลาญูระส่ำระส่ายอยู่นั้น ญูวนจะถือโอกาสเกลี้ยกล่อมเอาไป จึงปล่อยให้ราษฎรอพยพข้ามแม่น้ำโขงมายังฝั่งตะวันตกตามสมัครใจเมื่อเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น นายครัวบ้านบก จึงรวบรวมพรรคพวก ญูาติมิตร และบุตรภรรยา มาบรรจบครบกันกับครอบครัวบ้านด้วยนายม และครอบครัวเมืองเซโปน อพยพมาจากฝั่งตะวันออกประเทศลาว จึงพร้อมกันข้ามแม่น้ำโขง ข้ามห้วยหนองคลองบึง ข้ามป่าดงพงพี ข้ามโขดสิงขร อพยพเรื่อยมา เลือกหาภูมิลำเนาที่เหมาะเพี่อตั้งหลักแหล่งทำมาหากิน เมี่อครัวบ้านบก ครัวบ้านด้วยนายม และครัวเมีองเซโปน ข้ามแม่น้ำโขงมายังฝั่งตะวันตกแล้ว ถึง
หว่างเขาภูพานข้างทิศตะวันตก ครัวเหล่านั้นได้ตั้งค่ายพักแรมปะปนกันอยู่ในหุบเขาภูพาน เพื่อชะลอการหาชัยภูมิที่เหมาะสมในการตั้งภูมิฐานบ้านช่อง เมี่อเห็นทำเลอันเหมาะสมแล้วก็แยกย้ายกันตั้งบ้านเรีอนตามสายญาติพี่น้อง ตั้งเคหะสถานในทำเลที่ตนชอบ
การเลอกทำเลที่ตั้งถิ่นซานบ้านช่องอันเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกที่ตั้งชุมชนในอดีต ดังนี้
1. สภาพทางธรรมชาติ นับเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการเลือกที่ตั้งถิ่นฐาน สภาพ
ทางธรรมชาติมีหลายประการ ได้แก่
1.1 สภาพภูมิประเทศ ได้แก่ เชิงเขา ที่ราบ ที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึง หุบเขาเป็นต้น พวกวัฒนธรรม “ข่า “พุไท หรือผู้ไทย” มักจะอาศัยอยู่ตามเชิงเขาและหลังเขาภูพาน ส่วนวัฒนธรรม “ลาวิ ลาวพวนหรือไทพวน” มักจะอยู่ตามพื้นราบแต่ก็ไม่เสมอไปนั้นจึงขอยกเป็นรายกรณี ดังนี้
-ชุมชนที่ตั้งอยู่ตามแหล่งน้ำ ชึ่งมักจะมีคำว่า“หนอง บึง กุด ห้วย วัง น้ำ และบ่ออยู่ด้วย เช่น บ้านหนองห้าง บ้านหนองขามปัอม บ้านหนองอีกอม บ้านกุดตาใกล้ บ้านวังเวียงบ้านบ่อแก้ว บ้านน้ำปุ้น บ้านน้ำคำ
-ชุมชนที่ตั้งอยู่ที่ดอนหรือที่สูงน้ำท่วมไมถึง ซึ่งจะมีคำว่า“ สูง โคก ดอนโนน” อยู่ด้วยเช่น บ้านโนนสูง บ้านโคกก่อง บ้านโคกยาว บ้านดอนงิ้ว บ้านดอนแคน บ้านโนนศาลาบ้านจอมศรี บ้านโนนนาคำชุมชนทีตั้งอยู่บนที่ราบ ซึ่งมักจะมีคำว่า “นา” อยู่ด้วย เช่น บ้านนาคู บ้านนาสีนวลบ้านนางาม บ้านนากระเดา บ้านนายอ บ้านนานลอง บ้านนากุดสิม
-ชุมชนที่ตั้งอยู่บริเวณหบเขา ซึ่งมักจะมีคำว่า “ภู” อยู่ด้วย เช่น บ้านภูแล่นช้าง
-ชุมชนที่ตั้งอยู่บริเวณป่าไม้มีต้นมะม่วงมาก ซึ่งมักจะมีคำว่า “ม่วง” เช่น บ้านม่วงกุลบ้านม่วงนาดี หรือมีต้นไม้ชาดมากในบริเวณปลูกบ้าน มักจะมีคำว่า “ชาด” อยู่ด้วยเช่น บ้านชาด หรือมีพืชชนิดอื่น ๆ ที่ใช้เป็นยาสมุนไพร ซึ่งมักจะมึคำว่า “ว่าน” อยู่ด้วยเช่น บ้านหว้าน
1. 2 สภาพทางเศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ของผู้คนในสมัยนั้นขึ้นอยู่กับการเกษตร ได้แก่ การทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ ซึ่งพอจะสีบเสาะร่องรอยได้จากชุมชนแต่ส่วนมากจะคำนึงถึงการทำนามากกว่าอย่างอึ่น เช่น กรณีเมีองคำเกิด เมืองคำม่วน อพยพมาอยู่บ้านแซงกระดานหรือแชงบาดาน ในปี พ.ศ 2381 ปรากฎว่า“ภูมิฐานไร่นามีน้อย ครอบครัวเมืองคำเกิด เมืองคำมวน จะตั้งอยู่บ้านแซงกระดานด้วยกันทั้งสองเมืองที่ไร่นาหาพอไม่ และ ที่ตั้งบ้านท่าขอนยางริมน้ำประชีที่ไร่นามีมากพวกครอบครัวจะตั้งบ้านเมืองอยู่ได้อีกแห่งหนึ่ง”
1.3 สภาพด้านสังคมและวัฒนธรรม นอกจากอิทธิพลทางสภาพ
ธรรมชาติและสภาพทางเศรษฐกิจ จะเป็นปัจจัยในการกำหนดการตัดสินใจเลีอกทำเลที่ตั้งชุมชนแล้ว อิทธิพลขอสังคมและวัฒนธรรมก็เป็นเงื่อนไขหนึ่งเช่นเดียวกัน จากเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์พบว่าหลายชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานรวมกันหรือใกล้กันมักจะมีขนบธรรมเนียมประเพณีคล้ายคลึงกัน กลุ่มวัฒนธรรมเดียวกันที่อพยพมาภายลังก็จะเข้ามาสมทบเรื่อย ๆ เช่นกลุ่มวัฒนธรรมลาวพวน หรือ ไทพวน ก็มักจะไปอยู่แถบอำเภอนาคู กลุ่มผู้ไทย (พุไท) ก็มักจะไปตั้งอยู่แถบอำเภอเรณูนคร เขาวง พรรณานิคม กลุ่มข่าก็จะไปตั้งถิ่นฐานอยู่ เเถบมุกดาหารสกลนคร กลุมโส้ ก็จะไปตั้งอยู่แถบกุสุมาลย์ กลุ่มแสงก็จะอยู่แถบเมีองอาทฆาต นครพนมกลุ่มย้อก็จะอยู่แถบสกลนคร ท่าขอนยาง แซงบาดาล กลุ่มโย้ยก็จะอยู่แถบวานรนิวาสอากาศอำนวย สว่างแดนดิน
จึงพอสรุปได้ว่าการเลือกทำเลตั้งชุมชนในอดีตมักจะคำนึงถึงประเด็นดังต่อไปนี้
1. มีแหล่งน้ำเพื่อบริโภคตลอดปี น้ำท่วมไม่ถึงหากท้องที่ใดขาดแคลนแหล่งน้ำก็มักจะอพยพไปเลือกทำเลใหม่ เช่น กรณีเมืองกาฬสินธุ์ เมื่อแรกตั้งหมู่บ้าน “กางหมื่น” แต่ขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง จึงอพยพมาตั้งอยู่ “แก้งส้มโฮงดงสงเปลือย”
2. มีดินอุดมสมบูรณ์เหมาะสมแก่การเพาะปลูก โดยเฉพาะการทำนา ทำสวน เก็บของป่าซึ่งมักจะสังเกตดูว่า “ดินดำ น้ำชุ่ม” หรือไม่ ส่วนการสังเกตป่าไม้ก็จะดูว่า ลักษณะลำต้นสูงตรงหรือไม่ ถ้าไม่ตรงหรีอหงิกงอ เชื่อว่าชั้นดินข้างล่างมึชั้นของหินหรือสันดานไม่เหมาะแก่การเพาะปลูก เป็นต้น
3. ปลอดภัยจากการรุกรานหรือการรบกวนด้วยประการทั้งปวง เช่น กอ่มเจ้าโสมพะมิต เมื่ออพยพออกจากเวียงจันทน์ จึงต้องอพยพข้ามเทือกเขาภูพานลงมาเรื่อย ๆ จนมาถึงแก้งส้มโฮงดงสงเปลือยตั้งเป็นเมืองกาฬสนธุ์
4. มีบริเวณสอดคล้องกับแนวความเชื่อและตำราการดูลักษณะการตั้งบ้านเมิองเมื่อเห็นทะเลที่เหมาะสมแล้ว ก็เเยกย้ายกันไปตั้งบ้านเรีอนตามสายญาติพี่น้องตั้งเคหะสถานในทำเลที่ตนชอบดังข้อความในจดหมายเหตุ เอกสารรัชกาลที่ 5กระทรวงมหาดไทย เล่ม 12 จุลศักราช 1239 ว่าเดิมท้าวโคตรหลักคำ เพี้ยพรหมดวงสี เป็นนายครัวในเมืองวัง ตั้งอยู่ฟากของตะวันออกษาภิภัก (เข้าใจว่าหมายถึงสวามิภ้กดิ์) พาครอบครัวมาตั้งอยู่บ้านนาครอง แต่เมื่อรัชกาลที่ 2 จนมาถึงแผ่นดินรัชกาลที่ 3 อนุวงศ์เป็นกระบด ข้อความนี้เป็นสารตราของพระยาเมื่อ พ ศ 2320จุลศักราช 1239 (การพิมพ์ข้อความนื้ไม่ได้แก้ไขต่อเติมเดิมเขียนไว้อย่างไรก็อย่างนั้น) และข้อความในตำนาน พุไทยวัง ของนรเก โทธิเบศร์วงษา ว่าพวกโคตรหลักคำ เมืองวัง พากันไปร้องเรียนต่อเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์จะขออยู่กับเจ้าอนุวงศ์ ฝ่ายเจ้าอนุวงศ์จึงตรัสถามว่า ยังมีที่แห่งใดบ้างที่เหมือนเมืองวัง มีขุนนางผู้หนึ่งกราบทูลขึ้นว่า ตามที่เห็นมาก็มี ดงขี้ฮีน หลุบอีมัน อีเติ่ง อีด่อน (อยู่ท้องที่ตำบลนาคู และตำบลภูแล่นช้าง) เมื่อกลับมาถึงเมืองวังเเล้วก็อพยพครอบครัว ญาติมิตรหนีภัยโหดร้ายทารุณของเจ้าพระยาราชเตโช เจ้าเมืองวัง มาอยู่ดงขี้ฮีน หลุบอี่มัน อีเติ่ง และอีด่อน ตามคำแนะนำจากทางนครเวียงจันทน์ก่อนเจ้าอนุวงศ์เป็นกบฏต่อไทยกลุ่มโคตรหลักคำ พรหมดวงสีและหมอลำพอมอน นำครอบครัวพรรคพวก และญาติมิตรเป็นครอบครัวบ้านด้วยนายมได้เข้ามาตั้งบ้านอยู่บ้านนาคอง บ้านนาขาม ภายหลังได้ยกบ้านนาคองเป็นเมืองภูแล่นช้าง ขึ้นกับเมืองกาฬสินธุ์อุปฮาด ขุนเทพ และขุนมีสิทธิ์ นายครัวบ้านบกก็อพยพครัวเรือน ไพร่พล บุตรภรรยายกไปตั้งเคหะสถานที่เห็นว่าเป็นทำเลอุดมสมบูรณ์ มีชัยภูมิที่เหมาะสม เพื่อตั้งหลักแหล่งทำมาหากิน จึงตั้งบ้านเรือนในหุบเขาภูพานข้างทิศตะวันตก ที่แห่งนั้นเป็นสันคูและเนินดินสูง ตั้งชื่อบ้านว่า“บ้านนาคู”มีหนองใหญ่ใกล้หมู่บ้าน เรียกว่า “กุดนาคู” ทุ่งนาอยู่ล้อมรอบหมู่บ้าน เรียกว่า “ทุ่งกุดนาคู” ปัจจบันกยังเรียกเช่นนื้อยู่ สิ่งที่เหลือไว้ให้ชาวบ้านได้เห็นและเข้าใจว่าเป็นบ้านเก่าคือเศษอิฐหักพังบ้างเและอุโบสถเก่า สันนิษฐานว่าที่ตรงนี้เป็นวัดและมีโบสถ์เป็นบ้านร้างเก่า ส่วนสันคูและเนินดินชาวบ้านเจาะเข้าไปทำไร่ทำนาหมดสิ้นเดิมบ้านนาคู ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้านมีลำห้วยยางเป็นเขตกั้นห่างจากหมู่บ้านประมาณ 1 กิโลเมตร เหลือเพียงต้นมะม่วงใหญ่ใบดกร่มคลึม เกิดผลดกมีรสหวาน หอมเป็นที่พอใจแก่ผู้ที่ได้บริโภคยิ่งนัก และมีเศษอิฐหักพังเท่านั้นเหลือไว้เป็นอนุสรณ์ให้อนุชนรุ่นหลังได้เห็นเป็นขวัญตาสบมาจนทุกวันนื้ผู้สูงอายุได้เล่าขานสืบต่อกันมาว่า แต่ก่อนบ้านนาคูเก่านี้ ผู้คนยำเกรงมาก ใครไม่กล้าผ่านเข้าไปใกล้เลย มีต้นไม้ใหญ่ยืนทะมึนแผ่กิ่งก้านสาขาหนามหนาใบดกอยู่หลายต้นเป็นป่ารกชัฏเป็นที่เกรงขามแกผู้สัญจรไปมาและพบเห็น
ต่อมามีชนพวกหนึ่งแสดงตนเป็นชนชาติขอม มีวิชาอาคมขลัง แสดงแผนที่ว่าตรงนี้บรรพชนของเขามาสร้างไว้นานแล้ว นำเอาพระพุทธรูป ทอง เงิน นาก และวัตถุต่าง ๆที่มีอยู่ในโบสถ์วัดร้างนึ้ไปหมดสิ้น ความเข็ดขวางก็ลดน้อยลงไป ชาวบ้านก็ทำนาทำไร่เจาะเข้าไปจนหมดสภาพเป็นบ้านเก่าวัดร้างแล้วครัวบ้านบก ครัวบ้านด้วยนายมที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานตามคำชี้แจงของเจ้าอนุวงศ์นั้นอยู่หุบเขาข้างทิศตะวันตกมีทิวเขาล้อมรอบเป็นขอบสูง เขาภูพานทอดตัวยาวอยู่ในแนววงกลมจึงทำให้พื้นที่ในบริเวณนี้มีลักษณะเป็นแอ่งก้นกระทะ ขึ่งมีลำห้วยยาง ลำห้วยมะโน และลำห้วยขามไหลผ่านลงสู่ลำน้ำยัง ช่วงฤดูฝนจะมีน้ำท่วมเป็นตอน ๆ แต่เมื่อถึงฤดูร้อน น้ำจะแห้งไปหมด เพราะพื้นทีดินส่วนใหญ่เป็นดินทราย น้ำจึงซึมผ่านได้ง่ายรวดเร็วจึงมีปัญหาขาดแคลนน้ำและดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ทำให้พื้นที่บางแห่งไม่สามารถใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกได้และต่อมาได้เป็นส่วนหนึ่งของอำเภอกุฉินารายณ์ และอำเภอเขาวงปัจจบันนี้เป็นอำเภอนาคูจังหวัดกาฬสินธุ์
การปลูกบ้านเรือน
การปลูกบ้านเรือน โดยมากมักจะปลูกเรือนไม้ชั้นเดียวเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าและยกพื้นชึ่งใต้ถุนสูง ส่วนมากมักจะปลูกใกล้แม่น้ำลำคลอง หนองบึง ถึงแม้ว่าจะไม่ใกล้น้ำก็ไม่ห่างจากน้ำเท่าไรนัก ทั้งนี้เพื่อใช้น้ำทำประโยชน์ในการยังชีพภายในเรือนนั้นจะมีเตาไฟสำหรับ นึ่งข้าวเหนียวทำกับข้าว รับประทานอาหารและใช้ผิงไฟในฤดูหนาว
เครื่องแต่งกาย
การตกแต่งร่างกายมีผ้านุ่งห่มทำด้วยฝ้าย ผู้ชายตัดผมสั้นนุ่งกางเกงขาสั้นเพียงปกเขาถ้าทำงานก็เอาผ้าเตึ่ยวคาดเอวและมีชายห้อยยาวเอาชายผ้านั้นเหน็บไว้ข้างหลังเหมือนอบ่างโจงกระเบนชอบสักน้ำหมึกไว้ตามตัว ขาและแขนเป็นริ้วยาวเเป็นลวดลายต่าง ๆ อย่างสวยงาม
ขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองนาคู รวบรวมโดย อ.ถวิล นาครินทร์
Link: http://nakhu.com/%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%AD%E0%B8%99/
สถานที่ท่องเที่ยว
๑.น้ำตกผานางคอย
เป็นน้ำตกที่สวยงามมากแห่งหนึ่งในอำเภอนาคู ค้นพบเมื่อปลายปี พ.ศ. 2535 มีต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาภูพาน เป็นน้ำตกขนาดใหญ่บนภูเขา มีทั้งหมด 3 ชั้น ชั้นที่ 1 หรือชั้นล่างสุด เป็นชั้นที่อยู่ติดกับห้วย ใกล้ลานจอดรถ มีแอ่งน้ำที่สามารถลงเล่นน้ำได้ เมื่อเดินขึ้นเขาไปประมาณ 150 เมตร ก็จะถึงชั้นที่ 2 เป็นชั้นที่สวยงามกว่าชั้นอื่น ๆ โดยเฉพาะจุดที่มีน้ำไหลลงมาจากผาสูง ทำให้ชั้นนี้มีนักท่องเที่ยวขึ้นมาเป็นจำนวนมาก ตรงกันข้ามกับชั้นที่ 3 ที่มีผู้คนบางตา อาจเป็นเพราะอยู่ห่างจากชั้นที่ 2 มาก ซึ่งต้องใช้ความอดทนในการเดินขึ้นไป นอกจากนั้นบนยอดผายังเป็นที่ตั้งของวัดผาเจริญธรรมทางขึ้นเป็นบันไดหลายร้อยขั้น โดยในระหว่างทางนักท่องเที่ยวจะได้ชมความงดงามของธรรมชาติที่เป็นป่าเขียวขจี ถือเป็นจุดหนึ่งที่นักนิยม ไม่ควรพลาดหากได้มาเยือนน้ำตกแห่งนี้ มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับที่มาของชื่อ ผานางคอยอยู่ 2 แบบ แบบแรกเล่าว่า นางโมราหลังจากที่ถูกสาปให้เป็นชะนีแล้ว ก็ได้มาคอยจันโครพอยู่ที่นี่จนตาย ส่วนอีกแบบเล่าว่า หญิงสาวคนหนึ่งมานั่งคอยแฟนหนุ่มซึ่งนัดมาเจอกันที่หน้าผาแห่งนี้ ทว่ารอคอยเท่าไรแฟนหนุ่มของเธอก็ไม่มาสักที เหตุเพราะฝ่ายชายถูกกักตัวไว้เพื่อบังคับให้แต่งงานกับผู้หญิงอีกคนที่เขาไม่ได้รัก หญิงสาวจึงร้องไห้ไม่หยุดด้วยความเสียใจที่ฝ่ายชายไม่มาตามนัด และตัดสินใจจบชีวิตตัวเองด้วยการกระโดดน้ำตกเป็นการประชดรัก จนฝ่ายชายพยายามดั้นด้นมาที่น้ำตกตามที่ได้นัดจนได้ แต่ก็สายไปเพราะฝ่ายหญิงได้เสียชีวิตอยู่ที่ด้านล่างของน้ำตกเสียแล้ว เขารู้สึกเสียใจมาก จึงตัดสินใจกระโดดหน้าผาตายตามหญิงสาวที่ตนรักไป ช่วงเวลาที่เหมาะสมคือ ช่วงฤดูฝน
แหล่งข้อมูลอ้างอิงhttps://thai.tourismthailand.org/Attraction/%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%9C%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A2
๒.วนอุทยานภูแฝก (แหล่งรอยเท้าไดโนเสาร์)
ตั้งอยู่หมู่ 6 บ้านน้ำคำ ตำบลภูแล่นช้าง ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสลับกับเนินเขาไม่สูงนัก สภาพป่าเป็นป่าเต็งรังมีพันธุ์ไม้ชนิดต่าง ๆ เช่น ไม้มะค่าโมง ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้ประดู่ และมีสัตว์ป่าที่พบเห็นได้ง่าย วนอุทยานภูแฝก (แหล่งรอยเท้าไดโนเสาร์) ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสลับกับเนินเขาไม่สูงนัก สภาพป่าเป็นป่าเต็งรังมีพันธุ์ไม้ชนิดต่าง ๆ เช่น ไม้มะค่าโมง ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้ประดู่ ฯลฯ มีสัตว์ป่าที่พบเห็นได้ง่าย เช่น กระรอก กระแต อีเห็น กระต่ายป่า เป็นต้น ภูแฝก ภูเขาขนาดใหญ่ที่มีความสูงจากระดับทะเลปานกลางประมาณ 200-475 เมตร อยู่ในวนอุทยานภูแฝก วนอุทยานที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าดงห้วยฝา ใกล้ ๆ กับบ้านน้ำคำ ตำบลภูแล่นช้าง กิ่งอำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ วนอุทยานภูแฝก หรือแหล่งรอยเท้าไดโนเสาร์ภูแฝก เป็นแหล่งรอยเท้าไดโนเสาร์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย โดยรอยเท้าไดโนเสาร์นั้นถูกค้นพบบนพลาญหินที่เป็นทางน้ำของห้วยน้ำยัง รอยเท้าฝังอยู่ในผิวหน้าของชั้นหินทรายที่แกร่งของหมวดหินพระวิหาร ซึ่งตามลำดับชั้นหินจะวางตัวอยู่ใต้ชั้นหินของหมวดหินเสาขัว ซึ่งเป็นชั้นหินที่พบกระดูกไดโนเสาร์มากที่สุดของประเทศไทย จากการพบรอยเท้าไดโนเสาร์ทำให้ทราบว่าชั้นหินทรายในบริเวณนี้ ในอดีตมีสภาพเป็นหาดทรายริมน้ำ เป็นที่ที่ไดโนเสาร์เดินผ่าน หรือเที่ยวหากินอยู่ในบริเวณหาดทรายชุ่มน้ำนี้ รอยเท้าที่เกิดขึ้นไม่ได้ถูกคลื่นซัดให้ลบเลือน โดยอาจโผล่พ้นน้ำ ทำให้แดดเผาจนคงรูปร่างอยู่ หลังจากนั้นกระแสน้ำได้พัดพาเอาตะกอนมาปิดทับลงไปเป็นชั้นตะกอนใหม่ รอยเท้านั้นจึงยังคงอยู่ในชั้นตะกอนเดิม ต่อมาชั้นตะกอนแข็งตัวกลายเป็นหิน รอยเท้านั้นจึงปรากฏอยู่ในชั้นหินนั้น ปัจจุบันธรรมชาติได้ทำลายชั้นหินส่วนที่ปิดทับรอยเท้าออกไป เผยให้เห็นรอยเท้าที่ไดโนเสาร์ได้ทิ้งเอาไว้เป็นประจักษ์พยานถึงการมีตัวตนในอดีต เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2539 เด็กหญิงสองคนพร้อมด้วยผู้ปกครองไปกินข้าวในวันหยุด ได้พบรอยเท้าประหลาดกลางลานหินลำห้วยเหง้าดู่ เชิงเขาภูแฝก บริเวณเทือกเขาภูพาน หลังจากนั้นได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่นักธรณีวิทยาพร้อมด้วยส่วนราชการและเอกชนในจังหวัดกาฬสินธุ์เดินทางไปสำรวจ จึงพบว่าเป็นรอยเท้าไดโนเสาร์ ประเภทเทอร์โรพอด 7 รอย จัดอยู่ในกลุ่มคาร์โนซอร์ชนิดกินเนื้อ อายุประมาณ 140 ล้านปี ปัจจุบันนั้นเห็นชัดเจนเพียง 4 รอย ที่ตั้ง : หมู่ที่ 6 บ้านน้ำคำ ตำบลภูแล่นช้าง อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
https://thai.tourismthailand.org/Attraction/%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B9%81%E0%B8%9D%E0%B8%81-%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C
ผลิตภัณฑ์ที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน
กระเป๋าอักผ้าแพรวาและผ้าพื้นเมือง
จุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการผลิตกระเป๋าอัก เริ่มจากผู้ประกอบการเองซึ่งเป็นลูกหลานชาวอีสาน ซึ่งมีวัฒนธรรมประเพณีที่สำคัญคือการทอผ้าของสตรีชาวอีสาน ซึ่งมีอุปกรณ์ที่สำคัญหลายชิ้นที่ใช้ในการทอผ้า ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ “อัก”
“อัก” บางแห่งจะเรียก “กวัก” เป็นเครื่องมือสำหรับคัดด้ายหรือไหม รูปร่างคล้ายระวิง เมื่อต้องการคัดด้ายหรือคัดไหมจะใช้อักสาวไหมออกจาก “กงกวัก” ในขณะสาวไหมหรือด้ายออกจากกงกวักหากพบเส้นไหมหรือด้ายมี “ขี้ไหม” หรือไหมมีปม เส้นไหมไม่เรียบ ตะปุ่มตะป่ำ ก็จะใช้ “มีดแกะขี้ไหม” ออกซึ่งเป็นมีดเล็ก ๆ เป็นการคัดเส้นไหมให้เรียบงาม อัก ต้องใช้คู่กับ กงกวักเป็นหนึ่งในอุปกรณ์สำคัญที่ใช้ในการทอผ้าพื้นเมือง
“อัก” จะทำด้วยไม้จริงประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
๑. แขนอัก เป็นไม้ริ้ว 4 - 6 ริ้ว เหลี่ยมขนาดกว้างประมาณ 3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 40 เซนติเมตร ปลายสองข้างเรียวเล็กน้อย ห่างจากปลายสองข้างประมาณข้างละ 5 เซนติเมตร เจาะรูเพื่อสอดใส่กับ “ตีนกา” ซึ่งถือเป็นแกนกลางของอัก แต่ละริ้วห่างกันประมาณ 15 เซนติเมตร
๒. ตีนกา เป็นไม้ 2 อัน ขนาดกว้างอันละประมาณ 3 เซนติเมตร ยาวประมาณอันละ 25 เซนติเมตร ประกบกันเป็นรูปเหมือนกากบาท แกนกลางของตีนกา เจาะเป็นรูกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5 เซนติเมตร เพื่อใส่กับ “โคยอัก” ได้ ปลายตีนกาแต่ละข้างยึดติดกับ “แขนอัก”
๓. แท่นอัก หรือ ไม้คอนอัก เป็นแท่นไม้สี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้างประมาณ 20 เซนติเมตร ยาวประมาณ 40 เซนติเมตร หนาประมาณ 5 เซนติเมตร ปลายข้างหนึ่งของแท่นปักเสาไม้ 2 เสา เพื่อยึด “โคยอัก” (เพลาอัก) สำหรับสอดใส่อักให้แกว่งหรือหมุน เมื่อต้องการจะคัดไหมหรือด้ายให้แยกเป็นตอน ๆ ตาม
ต้องการ
จุดเริ่มต้นที่ “อัก” กลายมาเป็นกระเป๋าถือที่สุภาพสตรีสามารถใช้ถือให้เข้ากับชุดพื้นเมืองได้อย่างลงตัว โดดเด่น และสวยงาม มีจุดเริ่มต้นมาจากการที่ผู้ประกอบการโดยส่วนตัวชอบงานแฮนด์เมดหรืองานประดิษฐ์และชอบสะสมของเก่าโบราณ เมื่อนั่งมองอักหรือกระบอกตัวใหญ่ๆ แบบโบราณก็เกิดแรงบันดาลใจและแนวคิดที่ว่าทำอย่างไรถึงจะทำให้อักกลับมามีชีวิตอีกครั้ง ให้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตคนไทย และคนในพื้นถิ่น โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ทุกวันนี้แทบจะไม่รู้จัก หรือไม่เคยทอผ้า โดยจะต้องออกแบบให้ใช้งานได้จริง สวยสะดุดตา
จากแนวคิดดังกล่าว กระเป๋าอักแต่งลายผ้าไทยจึงเกิดขึ้น พร้อมกันกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้เข้ามาช่วยและออกแบบพัฒนา กระเป๋าเก๋ๆใบนี้จึงมีชีวิตขึ้นมาได้ผลิตภัณฑ์ชิ้นนี้ผู้ประกอบการ ได้ร่วมมือกับคุณตายุ ซึ่งเป็นปราชญ์ชาวบ้าน อายุ 74 ปี ช่วยกันลงมือประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์
กระเป๋าอักผ้าแพรวาและผ้าฝ้ายย้อมคราม โดยให้คุณตาทำโครงสร้างซึ่งเป็นงานไม้ให้ และผู้ประกอบการ
ลงมือทำงานประดิษฐ์ด้วยการนำผ้ามาประดับเข้ากับอัก ให้เป็นกระเป๋าที่สวยลงตัว จนเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมที่สวย เก๋และโดดเด่น ไม่เหมือนใคร