ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 29' 3.9998"
14.4844444
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 7' 25"
100.1236111
เลขที่ : 195242
กลุ่มชาติพันธุ์ไทย – เขมร ในเขตพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี
เสนอโดย สุพรรณบุรี วันที่ 7 มกราคม 2565
อนุมัติโดย สุพรรณบุรี วันที่ 7 มกราคม 2565
จังหวัด : สุพรรณบุรี
0 833
รายละเอียด

กลุ่มชาติพันธุ์ไทย – เขมร ในเขตพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี

พื้นที่ชุมชน

ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่

จำนวนประชากร

บ้านตลิ่งชัน ตำบลตลิ่งชัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี สุพรรณบุรี

พื้นที่ลาบลุ่ม

9,860คน

ประวัติศาสตร์ของกลุ่มชุมชน ชาติพันธุ์

กูย” หรือ “กวย” เป็นคำเรียกชื่อตัวเองของกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่มีอัตลักษณ์ด้านภาษา วัฒนธรรม และวิถีชีวิต อาศัยอยู่อาณาบริเวณลุ่มน้ำโขงและเทือกเขาพนมดงรัก นักภาษาศาสตร์จัดภาษากูยให้อยู่ในตระกูลออสโตรเอเชียติก สาขามอญเขมร กลุ่มเวียดกะตู ชนกลุ่มนี้มีจำนวนหนาแน่นที่สุดในจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษและบุรีรัมย์ บางส่วนอาศัยอยู่ในจังหวัดร้อยเอ็ด มหาสารคาม ปราจีนบุรี และอุบลราชธานี นอกจากนี้ยังพบว่า มีคนพูดภาษากูยตั้งถิ่นฐานกระจายตัวอย่างประปรายในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออกของไทยอีกด้วย ได้แก่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 2 หมู่บ้าน และอำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว จำนวน ๓ หมู่บ้าน

ถิ่นฐานดั้งเดิมของชาวกวย จากการได้ค้นคว้าเอกสารพบว่า ชาวกูยเป็นชนกลุ่มแรก ๆ ที่เข้าไปตั้งถิ่นฐานทางตอนเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของดินแดนกัมพูชาในอดีต เมื่อ 3,000 ปีมาแล้ว ชาวกูยเป็นกลุ่มคนตระกูลมอญ-เขมรและเป็นเลือดผสมระหว่างพวกเวดดิด (Veddid) กับพวกเมลานีเซียน (Melanesian) ที่พูดภาษามุณฑ์ (MUNDA) ซึ่งอยู่ในแคว้นอัสสัมของประเทศอินเดีย ต่อมาได้อพยพเข้ามาอยู่ในดินแดนแถบลุ่มน้ำแม่โขง เมื่อครั้งถูกพวกอารยันรุกรานและต่อมาได้เป็นบรรพบุรุษของชาวเขมรหรือขแมร์ ประวัติศาสตร์ของอินเดียระบุสาเหตุสำคัญของการละทิ้งถิ่นฐานของชนชาตินี้ว่า เกิดจากการแย่งชิงความเป็นใหญ่ของมหาราชาแคว้นต่าง ๆ ในอินเดีย ทำให้เกิดการล่มสลายของราชวงศ์คุปตะที่มีสัมพันธไมตรีอย่างแนบแน่นกับชาวกูยมาโดยตลอด เมื่อถูกรุกรานชาวกูยจึงได้ละทิ้งถิ่นฐานอพยพลงมาตามลำน้ำโขง กูยที่ได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามแนวพนมดงรักและตลอดแนวลุ่มน้ำโขง บางกลุ่มได้อาศัยอยู่ตามดินแดนบริเวณทะเลสาบใหญ่ของกัมพูชาจนกระทั่งกลายเป็นปึกแผ่น มีอาณาเขตการปกครองตนเองอย่างมั่นคงตลอดมา กูยกลุ่มนี้คือชนชาติที่มีส่วนสำคัญในการสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ดินแดนในส่วนนี้ หลักฐานของ ปอล เลวี ชาวฝรั่งเศสซึ่งได้ขุดค้นร่องรอยอารยธรรมบริเวณมลูไพรทางภาคเหนือของเขมร พบว่า ชาวกวยเป็นกลุ่มข่า ที่เป็นผู้ขุดเหล็ก ตีเหล็กเป็นอาวุธ
หล่อสำริดและยังใช้เครื่องมือหินด้วย ทั้งนี้เพราะขุดได้เครื่องมือหิน เบ้าหิน เครื่องสำริดและเหล็กรุ่นก่อนประวัติศาสตร์ตลอดจนพบโรงหล่อและสร้างอาวุธ ของนักรบเขมรโบราณก็อาจได้จากชาวกุยที่เป็นทาสเหล่านี้ นอกจากนี้พวกกุยยังชำนาญการจับช้าง และยังถูกเกณฑ์ไปทำหน้าที่สกัดหิน ก่อสร้างปราสาท ขุดสระน้ำขนาดใหญ่ที่มีอยู่มากมายในบริเวณนครธมและที่อื่น ๆ จึงไม่แปลกแต่อย่างใดที่พบเห็นชุมชนกูยปะปนอยู่แทบทุกย่านที่มีโบราณสถาน

เมื่อครั้งอพยพมาจากประเทศลาว ชาวกูยส่วนมากเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตอีสานใต้ หนาแน่นที่สุดคือจังหวัดสุรินทร์ รองลงมาคือศรีษะเกษ ชาวกวยเหล่านี้อยู่รวมกันเป็นชุมชนใหญ่ปะปนกับชาวเขมรและกวยดั้งเดิมที่มาตั้งหลักแหล่งอยู่ก่อนแล้ว หัวหน้าชุมชนก็ล้วนแต่บวชเรียนได้เป็น “เชียง” เพราะได้รับอิทธิพลจากราชครูหลวงวัดป่าโพนสะเม็ก

การประกอบอาชีพของชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์

ทำไร่, ทำสวน (ปลูกข้าว มะม่วง), เลี้ยงปศุสัตว์ และปลูกข้าว ในยุคก่อนเก่าจะทำกันปีละครั้ง เรียกว่า นาปีหรือนาน้ำฝน

วิถีชีวิต / วัฒนธรรม

วิถีชีวิตที่เรียบง่ายปรับเปลี่ยนไปเมื่อพื้นที่ในหมู่บ้านมีการจับจองมากขึ้น ที่ทำกินไม่เพียงพอ ชาวบ้านบางส่วนจึงย้ายไปจับจองพื้นที่ทางฝั่งตะวันตกของหมู่บ้าน ซึ่งเป็นที่ราบสูงเพื่อใช้ทำการเกษตร
เช่น สับปะรด มะละกอ อ้อย มัน เพื่อบริโภคภายในครอบครัวและส่งขายที่ตลาดอู่ทอง รวมถึงปลูกบักหุ่งเทศ (ละหุ่ง) เพื่อแกะเมล็ดนำไปขายยังตลาดอู่ทองเช่นเดียวกัน

แม้การเกษตรยังคงเป็นอาชีพหลักของชาวบ้าน แต่ปัจจุบันชาวบ้านเริ่มหารายได้เสริมจากอาชีพอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้น เช่น เย็บผ้า ค้าขาย ขับรถรับจ้าง ฯ นอกจากนี้ การพัฒนาทางด้านการศึกษา ส่งผลให้ลูกหลานในชุมชนได้เรียนในระดับสูง จึงออกไปประกอบอาชีพอื่น ๆ ทั้งในและนอกชุมชน กล่าวได้ว่า สังคมบ้านดอนคา
ในทุกวันนี้เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย

ความรู้ / ภูมิปัญญา

มีการประยุกต์ชุดประจำชาติพันธุ์ให้มีความทันสมัยมากขึ้น แต่ยังคงอัตลักษ์เดิมไว้ สมัยก่อนจะมีหมอยาทำหน้าที่ปรุงยา “ปรุงธาตุ” เพื่อปรับสมดุล โดยจะทำการถาม วัน/เดือน/ปี/เกิด/ปีนักษัตร ไปคำนวณหาธาตุ แล้วค่อยนำมาปรุงยา ปัจจุบันไม่ได้มีคนทำแล้ว แต่ยังคงมีการจดบันทึกไว้อยู่ ยังคงเหลือแต่หมอกวาดยา

ประเพณี / เทศกาล

ประเพณีสารทเดือนสิบ “ไหว้บรรพบุรุษ” หรือ ประเพณีแซนโฎนตา (คนสุรินทร์) ขึ้น 14 ค่ำ
(ไหว้เหมือนสารทจีน) จะใช้กระยาสารทไปไหว้ผีบรรพบุรุษ ไหว้ในบ้านตัวเอง หรือบ้านกลาง (บ้านแม่มด) อาหารหลัก ๆ ที่ใช้ในการประกอบพิธีจะเป็น ข้าวต้มมัด, กระยาสารท, เหล้า, กล้วย, พืชพันธุ์ธัญญาหาร ต่าง ๆ “ตาครู” (ตากรู), “แม่มด” (คนทรง) มีไว้บน, ไหว้

“ไหว้พระแข” หรือ ประแข (ไหว้พระจันทร์) เป็นพิธีเสี่ยงทายฟ้าฝน ฤดูการทำนา โดยชาวบ้านจะมารวมกันนำข้าวหลามมาร่วมพิธี

“การทำไส้เทียน” จะต้องหล่อเอง ตามตำรา จะทำทั้งหมด 3 ต้น ทั้งไส้เทียน เนื้อเทียน จะต้องเท่ากันทั้งหมด น้ำหนักของเทียนจะต้องหนัก 12 บาท (ประมาณ 2 ขีด) โดยการทำพิธีจะต้องคว่ำเทียนลง
เพื่อดูน้ำตาเทียนสำหรับเสี่ยงทาย การจุดจะใช้พราหมณ์เป็นคนจุด เมื่อจุดเสร็จจะทำการหมุน 3 รอบ
แล้วปล่อยให้น้ำตาเทียนหยดลงมา จากนั้นก็จะดูการหยดของเทียนเพื่อเป็นการทำนาย โดยจะมีการดู ดังต่อไปนี้

- ถ้าไฟลุกอย่างเดียวแล้วไม่มีน้ำตาเทียนหยด ทายว่าฟ้าจะร้องเยอะ

- ถ้าไฟลุก พร้อมกับมีน้ำตาเทียนหยดลงมา ทายว่าจะมีทั้งฟ้า และฝน

- ถ้าจุดแล้วไม่มีไฟมีแต่น้ำตาเทียนหยดลงมา ทายว่าฝนจะดี

- ถ้าจุดเท่าไหร่ก็ไม่ติด ทายว่าจะแล้ง

หลังจุดเทียนเสร็จพระจะโปรย ข้าวเม้า, กล้วย, ส้ม เพื่อให้ชาวบ้านเก็บเป็นสิริมงคล

ศาสนา

ส่วนใหญ่นับถือพุทธ, นับถือผี โดยมีการประกอบพิธีแบบทั้งดั้งเดิมและ ผสมผสานระหว่างการนับถือผี และศาสนาพุทธเข้าด้วยกันเนื่องจากปัจจุบันประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ

ศิลปะ / การแสดง

รำแกลมอ (รำเข้าทรงเพื่อรักษา), รำไหว้พระแข

ตำนาน

มีความเชื่อในเรื่องของ “การผิดผี” คือจะมาพูดเล่น หรือ ชาย หญิงจะมานั่งคุยกัน ถูกเนื้อต้องตัวกันไม่ได้ จะต้องนำเหล้า นำไก่มาไหว้ขอขมา “ความศักดิ์สิทธิ์ และความขลังของพิธี” เคยไปร่วมจัดงาน
วันชาติพันธ์ที่วัดป่า แล้วจะทำการจำลองพิธีการไหว้พระแข โดยการทำเทียน หล่อเทียนตามแบบเดิมที่เคยทำกันทุกปี เมื่อถึงเวลาจุดเทียน ก็จุดไม่ติดพยายามจุดก็จุดไม่ติด ชาวบ้านจึงเข้าใจว่าการทำพิธีไหว้พระแขคือพิธีศักดิ์สิทธิ์ ไม่สามารถทำนอกเหนือจากพิธีจริงได้ เลยทำการโชว์แค่เทียนที่หล่อมา

สถานที่ตั้ง
ตำบล ตลิ่งชัน อำเภอ เมืองสุพรรณบุรี จังหวัด สุพรรณบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุพรรณบุรี
บุคคลอ้างอิง นางสาวทิพย์สุดา อิ่มใจ อีเมล์ spbcul@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุพรรณบุรี อีเมล์ spbcul@gmail.com
ตำบล สนามชัย อำเภอ เมืองสุพรรณบุรี จังหวัด สุพรรณบุรี รหัสไปรษณีย์ 72000
โทรศัพท์ 035536058
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่