ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 32' 16.4983"
14.5379162
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 59' 28.4114"
99.9912254
เลขที่ : 195263
กลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำ (ไทยโซ่ง) ในเขตพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี
เสนอโดย สุพรรณบุรี วันที่ 11 มกราคม 2565
อนุมัติโดย สุพรรณบุรี วันที่ 11 มกราคม 2565
จังหวัด : สุพรรณบุรี
1 997
รายละเอียด

ประวัติ/ที่มาของกลุ่มชาติพันธุ์

ลาวโซ่ง/ไทดำ ในประเทศไทย มีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ในบริเวณภาคเหนือของประเทศเวียดนาม
เคยเป็นที่รู้จักในนามของสิบสองจุไท เคลื่อนย้ายเข้ามาสู่ประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๒๒ ทางการไทยใช้ชื่อเรียกว่า ไทยทรงดำ และไทยโซ่ง โดยตั้งถิ่นฐานครั้งแรกที่จังหวัดเพชรบุรี หลังจากนั้นจึงมีการขยายตัวออกไปตั้งถิ่นฐานตามจังหวัดต่าง ๆ ในประเทศไทย กลุ่มชาติพันธุ์ลาวโซ่ง/ไทดำ มีความเข้มเข็งทางวัฒนธรรม
และยังสามารถรักษาลักษณะวัฒนธรรมทางชาติพันธุ์ไว้ได้หลายประการ ด้วยความผูกพันในระบบสายตระกูลและเครือญาติ และระบบผีบรรพบุรุษ ทำให้แม้การเคลื่อนย้ายแยกออกห่างจากถิ่นฐานดั้งเดิมมายาวนานกว่าสองร้อยปี กลุ่มลาวโซ่ง/ไทดำ ยังสามารถรักษาอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์และลักษณะร่วมในการธำรงชาติพันธุ์ของตนร่วมกับชาวไทดำในภูมิภาคได้ จึงเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและธำรงรักษาลักษณะ
ชาติพันธุ์ที่เข้มแข็งท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน

ชาวไทยทรงดำนั้นมีอยู่มากมายหลายที่ในประเทศไทย เช่น สุพรรณบุรี กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี ลพบุรี ชุมพร และจังหวัดอื่น ๆ อีกมากมาย ชาวไทยทรงดำมีเอกลักษณ์ที่แตกต่าง จากวัฒนธรรมทั่ว ๆ ไป
เช่น ชาวไทยทรงดำมีความเชื่อเรื่องการนับถือผีสาง แล้วที่เป็นเอกลักษณ์ ที่สำคัญคือ การแต่งตัวที่นิยมแต่งตัวด้วยชุดสีดำหรือสีคราม(สีกรมท่า) การแต่งตัวนี้ถือเป็นเอกลักษณ์ เด่นของชาวไทยทรงดำ มีการสืบสานวัฒนธรรมอย่างยาวนานในเรื่องของพิธีกรรมต่าง ๆ ที่แตกต่าง จากวัฒนธรรมอื่น ๆ เช่น พิธีการเสนเฮือน (เรือน) พิธีการแต่งงาน พิธีการขึ้นบ้านใหม่ พิธีกรรมต่าง ๆ นี้ถูกถ่ายทอดมาอย่างยาวนานจนถึงในปัจจุบันก็ยังมีพิธีกรรมต่าง ๆ อยู่

จังหวัดสุพรรณบุรี ได้สำรวจพบว่ามีไทยโซ่งอาศัยอยู่ในเขตอำเภออู่ทอง ที่ตำบลสระยายโสมตำบลบ้านดอน ตำบลหนองโอ่ง ตำบลดอนมะเกลือ ตำบลบางโข้ง เขตอำเภอเมือง ที่ตำบลบางกุ้งเขตอำเภอบางปลาม้า และเขตอำเภอสองพี่น้อง ที่บ้านดอนมะนาว บ้านดอนตาเกิด

พื้นที่ชุมชน

ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่

จำนวนประชากร

ตำบลบ้านดอน อำเภออู่ทอง สุพรรณบุรี

พื้นที่ลาบลุ่ม

7,480 คน

บ้านดอนมะนาว ตำบลบางเลน อำเภอสองพี่น้อง สุพรรณบุรี

พื้นที่ลาบลุ่ม

1,260 คน

ประวัติศาสตร์ของกลุ่มชุมชน ชาติพันธุ์

เริ่มแรกชาวไทยทรงดำอพยพมาจากเวียดนามเหนือ แถว “เมืองแถง” (เป็นเมืองหลวง) ชายเมืองแถง (เดียนเบียนฟู) ชาวไทยดำถือว่าเป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดในแถบนั้น ในยุคหนึ่งถือเป็นประเทศหนึ่งได้ จะมีแผนที่ที่แสดงให้เห็นคือ เดียนเบียนฟู หรือสมัยก่อนเรียกกันว่า “สิบสองอุทัย” เป็นภูเขาร้อมรอบ เป็นชัยภูมิที่คนจะเข้ายาก ก็จะจัดเป็นกลุ่มไทยไว้ จนฝรั่งเศสมาล่าอาณานิคม จึงมาจัดเป็น “สิบหกอุทัย” แล้วจึงมารวมเป็นเวียดนามเหนือ สมัยโฮจิมินห์ การอพยพเข้ามาในประเทศไทยจะแบ่งเป็นระลอก เริ่มจากสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ (พระเจ้าตากสิน), ช่วงรัชกาลที่1, ช่วงรัชกาลที่3 และช่วงรัชการที่5 เดินทางมากับกองทัพ โดยทหารให้พื้นที่อยู่อาศัยโดยปกครองตนเอง โดยจะมีการแบ่งเป็นชนชั้นวรรณะต่าง ๆ ได้แก่ ชนชั้นปกครอง (กษัตริย์) จะสืบเชื้อสายทางสายตะกูล ปัจจุบันยังคงหลงเหลืออยู่ โดยจะรับรู้กันภายในหมู่บ้าน ก็จะเรียกว่า “ผู้ต้าว” หรือ “ผู้ท้าว” แต่จะลดทอนเรื่องอำนาจ และการปกครองลง เพราะผ่านมาจะร้อยปีแล้ว แต่ชาวบ้านก็ยังนับถือเพราะถือว่าเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ในหมู่บ้าน) เดิมอพยพมาตั้งถิ่นฐานที่ “เขาวัง จังหวัดเพชรบุรี” ไล่ลงมาจนถึงสุพรรณบุรี ชาวไทยทรงดำที่ตำบลบ้านดอนจะอพยพเข้ามาในพื้นที่ช่วงรัชกาลที่ 5 เดิมตั้งถิ่นฐานที่ วัดใหม่พิบูลย์ผล อำเภอสองพี่น้อง อยู่ในเขตมณฑลนครชัยศรี และมีการย้ายถิ่นฐานอีกครั้งจนมาอยู่ที่ตำบลบ้านดอนในปัจจุบัน การย้ายถิ่นฐานในครั้งนี้เกิดขึ้นจากหลายๆ ปัจจัย จะเป็นในเรื่องของน้ำท่วม รวมไปถึงเหตุผลทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง (ถูกบันทึกไว้ในเอกสารของพระราชหัตถเลขาในรัชกาลที่ 5) แต่เดิมการย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่บ้านดอนจะไม่ได้มาพร้อมกันโดยทั้งหมด จะเป็นการทยอยย้ายลงมา แล้วมีการส่งข่าวไปให้ญาติพี่น้อง จากนั้นก็มีการย้ายตามกันลงมาเรื่อย ๆ

การประกอบอาชีพของชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์

ประชากรส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 95 (ปลูกข้าว) และเมื่อช่วงหลังจากการทำเกษตรและปลูกข้าว ชาวบ้านจะรวมกลุ่มกันเพื่อทอผ้า ส่วนมากจะเป็นการทอเพื่อใช้กันเองภายในชุมชน หรือถ้าหากบ้านไหนทอผ้าไม่เป็นก็จะนำสินค้าทางการเกษตรหรือ เงินมาแลกเปลี่ยนเป็นผ้าทอกันตามแต่จะตกลง

สถานการณ์ของชุมชน

ปัจจุบันการแต่งกาย และการใช้ชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงให้มีความทันสมัยมากขึ้น จะไม่พูดภาษาพื้นถิ่นให้ใครได้ยินมากนัก แต่จะมีภาษาพูด ภาษาเขียน มีอักขระเป็นของตนเอง การเขียน และการสืบทอดภาษาค่อนข้างมีน้อย แต่มีการสอนในโรงเรียนบางเล็กน้อย โดยจะเป็นภาษาในรูปแบบเก่า และใหม่มาผสมดัดแปลง เพื่อให้เข้ากับยุคสมัย

วิถีชีวิต / วัฒนธรรม

“วิถีชีวิต” ของชาวไทยทรงดำในสมัยก่อนจะเป็นเกษตรกรโดยส่วนใหญ่ มีการทำไร่ ทำนา จึงเป็นที่มาของสีประจำชาติพันธุ์ที่จะใช้สีดำเป็นหลัก นอกเหนือจากความเชื่อในเรื่องของการถือครองขนบธรรมเนียมตามบรรพบุรุษแล้ว ก็จะเป็นเรื่องของการใช้สอยได้อย่างสะดวก ไม่เลอะง่าย สีดำของเสื้อจะถูกย้อมด้วยสีครามเข้มๆ ก่อนจากนั้นจะใช้ประดู่ลงไป จึงเป็นที่มาของคำว่า “ไทยทรงดำ” นามสกุลดั้งเดิมจะเป็น “ซิงห์” (เป็นเหมือนชื่อกลาง จะใช้มากในแถบภาคเหนือ) ในแถบภาคกลาง จะใช้คำว่า “เพชร” เนื่องจากกลุ่มหมู่บ้านที่มาในแถบนี้ยุคแรกๆ (มาจากเหมือนเพชร) โดยชาวไทยทรงดำบ้านดอนจะลงท้ายนามสกุลด้วยเพชร ส่วนทางนครปฐม บางปลาจะขึ้นต้นด้วย “เพชร” แล้วตามด้วยชื่อต้นตระกูล

“การแต่งกาย” สมัยก่อนหญิงสาววัยรุ่น หรือหญิงสาวที่ยังไม่ออกเรือนจะคาดอกด้วยผ้าสีเวลาอยู่บ้าน เมื่อออกไปนอกบ้านจะใช้ผ้าคลุมไหล่ของแม่ที่เป็นสีดำคลุมไปด้วย แต่ถ้าหญิงสาวที่ออกเรือนแล้วจะแต่งตัวเป็นสีดำทั้งหมด จะมีเน้นแค่ลวดลายที่เป็นสี (สำหรับสาวโสดที่อายุมากแล้ว และไม่คิดว่าจะแต่งงานก็สามารถเปลี่ยนมาแต่งตัวสีดำทั้งชุดได้)

“วัฒนธรรม” ชาวไทยทรงดำจะใช้การนับจันทรคติ ข้างขึ้น ข้างแรมเป็นหลัก ถ้าเป็นงานดีจะจัดขึ้นในช่วง “ข้างขึ้น” เช่น งานไหว้ผีบรรพบุรุษ โดยมีชื่อเรียกว่า “พิธีเสนเฮือน” แต่ถ้าเป็นงานเกี่ยวกับการเชิญผี หรือ “เชิญวิญญาณบรรพบุรุษ” จะจัดขึ้นในช่วง “ข้างแรม” เช่น พิธีเชิญผีขึ้นเรือน

ความรู้ / ภูมิปัญญา

ชาวไทยทรงดำจะเน้นในเรื่องของการสร้างบ้านตามความเชื่อ โดยการสร้างบ้านจะสื่อถึง “ควาย” และ “เต่า” (เต่าหับ) รูปทรงบ้านจะเป็นรูปกระดองเต่า จะไม่ใช้ตะปู แต่จะเป็นการใช้หวายในการมัดหลังคามุงด้วยหญ้าคา ยอดจั่วบนหลังคาจะประดับด้วยสัญลักษณ์ของเขาควาย บ้านจะต้องมีบันไดทั้งหมด ๓ จุด นอกชาญจะทำกว้างเพื่อรองรับแขก ปัจจุบันไม่มีบ้านทรงกระดองเต่านี้แล้ว (หายไปประมาณ ๖๐ - ๗๐ ปี)
ลองลงมาก็จะเป็นในเรื่องของการทอผ้า ที่มีไว้ใช้สำหรับในครัวเรือน และเป็นของรับไหว้ ตามพิธีต่าง ๆ ปัจจุบันชุมชนชาวบ้านดอนมีการจัดตั้งกลุ่มทอผ้า ส่วนอาหารก็จะทำสำหรับกินกันภายในบ้าน และใช้ในงานพิธีต่าง ๆ จะมีในเรื่องของการหมักเหล้า ชาวไทยทรงดำจะมีวิธีการหมักเหล้าเป็นของตนเอง ได้แก่ เหล้าแกรบ, เหล้าต้ม, เหล้าโท จะทำเฉพาะช่วงเวลาที่มีพิธี เดือน พฤศจิกายน

ประเพณี / เทศกาล

จะเห็นได้ว่าพิธีกรรมส่วนใหญ่ของชาวไทยทรงดำจะเกี่ยวข้องกับการบูชาบรรพบุรุษเป็นหลัก
โดยพิธีต่าง ๆ จะมีดังต่อไปนี้

“พิธีเซ่นไหว้บูชา”

การไหว้ผีบรรพบุรุษ จะจัดขึ้นในช่วงปีใหม่ จะมีการตำข้าวเม่า แล้วนำไปเป็นส่วนหนึ่งของอาหารในเครื่องเซ่งไหว้

พิธีเสนเฮือน

พิธีเซ่นใหญ่ หรือ พิธีเสนเฮือน (เสนเรือน) จะจัดขึ้นในช่วง เดือน6, เดือน8, เดือน11, เดือน12 (อาจจะเป็นทุกเดือนที่กล่าวมา หรือขาดเดือนใดเดือนหนึ่ง) ในสมัยก่อนจะทำการเชือดหมูในบริเวณบ้านเพื่อนำไปทำอาหารสำหรับงานพิธีในวันต่อไป โดยการเชือดหมูจะมีคนที่ทำหมูโดยเฉพาะ และจะมี “หมอ” ก็คือ เจ้าพิธี (หมอ ใครเป็นก็ได้ “มด”จะเป็นเจ้าพิธีที่สืบสายตละกูล มดจะสามารถทำพิธีติดต่อกับดวงวิญญาณได้ เปรียบได้คือหมอผี จะร่วมประกอบพิธีกรรมทุกอย่าง)

การเชิญผีขึ้นเรือน

การเชิญผีบรรพบุรุษให้เข้ามาอยู่ในบ้าน เช่น ถ้าบ้านไหนมีคนตายจะมีพิธีกรรมส่งวิญญาณกลับไปสู่ถิ่นเดิมคือเมืองแถง จากเมืองแถง ขึ้นสู่เมืองลอ จากยอดเขาเมืองลอ ขึ้นเมืองฟ้า จากนั้นก็กำหนดวันให้เชิญกลับมาอยู่ที่บ้าน ก็จะมีหมอเจ้าพิธีเชิญดวงวิญญาณกลับมาอยู่ในห้อง (จะมีห้องผีเรือน เรียกว่า กะล่อห่อง เป็นห้องสำหรับให้บรรพบุรุษอยู่รวมกัน คนนอกที่ไม่ใช่ญาติจะไม่สามารถเข้าไปในห้องนั้นได้ เป็นเหมือนห้องที่เป็นเหมือนประตูมิติระหว่างโลกมนุษย์ และเมืองฟ้า สามารถไปมา เพื่อดูแลลูกหลาน แต่ในห้องก็จะมีการแสดงให้เห็นว่าบรรพบุรุษยังอยู่ตรงนี้) โดยในห้องจะนำห่อกระดูกวางไว้ที่ชั้น จากนั้นก็ใช้ไหใส่เหล้าเพื่อเป็นสื่อ (เชื่อว่าเหล้าเป็นน้ำบริสุทธิ์)

การเอาผีลงเรือน

ตามประเพณีของลาวโซ่ง หากผู้ตายถึงแก่กรรมภายในบ้านเรือนและตั้งศพไว้ในบ้านก่อน จะเคลื่อนย้ายศพไปประกอบพิธีต่อที่วัดนั้น เจ้าภาพจะต้องเชิญหมอเสนที่มาทำพิธีเรียกขวัญ หรือเรียกตามภาษาลาวโซ่งว่า "ช้อนขวัญ" คนในบ้านก่อน ด้วยเชื่อว่าสมาชิกในครอบครัวที่มีคนตายในบ้านจะโศกเศร้า หรือตกใจจนขวัญหาย จึงต้องเรียกขวัญไว้ให้อยู่กับตัว ไม่ติดตามผู้ตายไปที่อื่น

การช้อนขวัญ

การช้อนขวัญ จะเริ่มด้วยหมอเสนถือสวิงสำหรับช้อนกุ้งหรือปลาเดินนำหน้าขบวน และทำท่าช้อนกุ้งหรือปลาไปรอบ ๆ บริเวณที่ตั้งโลงศพของผู้ตาย ตามด้วยเจ้าภาพซึ่งเป็นเจ้าบ้านเดินถือเสื้อผ้าของคนในบ้าน ๑ ชุด และญาติพี่น้องบุตรหลานทั้งหมดเดินตามหลังอีกทอดหนึ่ง หากญาติในครอบครัวคนใดคนหนึ่งไม่อาจร่วมพิธีได้ ให้หักเศษไม้เป็นรูปตะขอเล็ก ๆ ฝากใส่ไว้ในสวิงที่หมอเสนถือเป็นเครื่องหมายแทนตัวด้วย เมื่อหมอเสนและญาติ ๆ เดินวนรอบโลงศพผู้ตายครบ ๓ รอบแล้ว จะต้องเข้าไปในห้องผีเรือน เพื่อไหว้ผีเรือนให้ช่วยคุ้มครองอันตราย หรือเคราะห์ร้ายทั้งปวงให้หมดไปจากตัว และให้ขวัญของแต่ละคนกลับมาอยู่กับตนเองอย่างปลอดภัยโดยไม่ตกหล่นสูญหายหรือติดตามผู้ตายไปที่ใดทั้งสิ้น หลังจากทำพิธีเรียกขวัญหรือช้อนขวัญ ของคนเป็นซึ่งเป็นญาติผู้ตายเรียบร้อยแล้ว จึงจะทำพิธีเคลื่อนย้ายหรือยกโลงศพลงจากเรือนไปประกอบพิธีที่วัดได้ โดยอาจจัดขบวนแห่ให้สวยงามเป็นเกียรติแก่ผู้ตายด้วยการจัดตบแต่งด้วยธง หรือขบวนตามธรรมเนียมของลาวโซ่งอย่างเคร่งครัด

การเชิญผีขึ้นเรือน

การเชิญผีบรรพบุรุษให้เข้ามาอยู่ในบ้าน เช่น ถ้าบ้านไหนมีคนตายจะมีพิธีกรรมส่งวิญญาณกลับไปสู่ถิ่นเดิมคือเมืองแถง จากเมืองแถง ขึ้นสู่เมืองลอ จากยอดเขาเมืองลอ ขึ้นเมืองฟ้า จากนั้นก็กำหนดวันให้เชิญกลับมาอยู่ที่บ้าน ก็จะมีหมอเจ้าพิธีเชิญดวงวิญญาณกลับมาอยู่ในห้อง (จะมีห้องผีเรือน เรียกว่า กะล่อห่อง เป็นห้องสำหรับให้บรรพบุรุษอยู่รวมกัน คนนอกที่ไม่ใช่ญาติจะไม่สามารถเข้าไปในห้องนั้นได้ เป็นเหมือนห้องที่เป็นเหมือนประตูมิติระหว่างโลกมนุษย์ และเมืองฟ้า สามารถไปมา เพื่อดูแลลูกหลาน แต่ในห้องก็จะมีการแสดงให้เห็นว่าบรรพบุรุษยังอยู่ตรงนี้) โดยในห้องจะนำห่อกระดูกวางไว้ที่ชั้น จากนั้นก็ใช้ไหใส่เหล้าเพื่อเป็นสื่อ (เชื่อว่าเหล้าเป็นน้ำบริสุทธิ์)

การเอาผีลงเรือน

ตามประเพณีของลาวโซ่ง หากผู้ตายถึงแก่กรรมภายในบ้านเรือนและตั้งศพไว้ในบ้านก่อน จะเคลื่อนย้ายศพไปประกอบพิธีต่อที่วัดนั้น เจ้าภาพจะต้องเชิญหมอเสนที่มาทำพิธีเรียกขวัญ หรือเรียกตามภาษาลาวโซ่งว่า "ช้อนขวัญ" คนในบ้านก่อน ด้วยเชื่อว่าสมาชิกในครอบครัวที่มีคนตายในบ้านจะโศกเศร้า หรือตกใจจนขวัญหาย จึงต้องเรียกขวัญไว้ให้อยู่กับตัว ไม่ติดตามผู้ตายไปที่อื่น

การช้อนขวัญ

การช้อนขวัญ จะเริ่มด้วยหมอเสนถือสวิงสำหรับช้อนกุ้งหรือปลาเดินนำหน้าขบวน และทำท่าช้อนกุ้งหรือปลาไปรอบ ๆ บริเวณที่ตั้งโลงศพของผู้ตาย ตามด้วยเจ้าภาพซึ่งเป็นเจ้าบ้านเดินถือเสื้อผ้าของคนในบ้าน ๑ ชุด และญาติพี่น้องบุตรหลานทั้งหมดเดินตามหลังอีกทอดหนึ่ง หากญาติในครอบครัวคนใดคนหนึ่งไม่อาจร่วมพิธีได้ ให้หักเศษไม้เป็นรูปตะขอเล็ก ๆ ฝากใส่ไว้ในสวิงที่หมอเสนถือเป็นเครื่องหมายแทนตัวด้วย เมื่อหมอเสนและญาติ ๆ เดินวนรอบโลงศพผู้ตายครบ ๓ รอบแล้ว จะต้องเข้าไปในห้องผีเรือน เพื่อไหว้ผีเรือนให้ช่วยคุ้มครองอันตราย หรือเคราะห์ร้ายทั้งปวงให้หมดไปจากตัว และให้ขวัญของแต่ละคนกลับมาอยู่กับตนเองอย่างปลอดภัยโดยไม่ตกหล่นสูญหายหรือติดตามผู้ตายไปที่ใดทั้งสิ้น หลังจากทำพิธีเรียกขวัญหรือช้อนขวัญ ของคนเป็นซึ่งเป็นญาติผู้ตายเรียบร้อยแล้ว จึงจะทำพิธีเคลื่อนย้ายหรือยกโลงศพลงจากเรือนไปประกอบพิธีที่วัดได้ โดยอาจจัดขบวนแห่ให้สวยงามเป็นเกียรติแก่ผู้ตายด้วยการจัดตบแต่งด้วยธง หรือขบวนตามธรรมเนียมของลาวโซ่งอย่างเคร่งครัด

ศิลปะ / การแสดง

ดนตรีศิลปะ รำแคน เป็นเครื่องดนตรีหลัก ๆ, เล่นลูกช่วง, โยนมะคอนหรือ อิ้นก้อน เป็นการละเล่นของหนุ่ม สาวไทยทรงดำ โดยโยนลูกช่วง พร้อมกับการร้องรำทำเพลง เป่าแคนไปพร้อมกับการเล่นคอน
หรือที่เรียก “การเล่นคอนฟ้อนแคน” โดยทั้งผู้ชายและหญิงจะนิยมสวมเสื้อฮีโดยไม่เอาลายออก

ตำนาน

“การสร้างบ้านเป็นรูปทรงกระดองเต่า” ชาวไทยทรงดำเชื่อว่า “ควายกับเต่า” เป็นสัตว์คู่โลก “เต่า” เป็นสัตย์ที่มีอายุยืน มีรูปทรงมิดชิด เป็นสัตย์ที่ทำให้มนุษย์มีภาษาพูดเป็นของตัวเอง และยังเป็นสัตว์ที่ได้รับการโปรดปรานจาก “พระยาแถน” เชื่อว่าเป็นเทพเจ้าสูงสุดสามารถดลบันดาลได้ทุกสิ่งส่วน “ควาย”
เป็นสัตว์พาหนะ ซึ่งเล่ากันว่าพญาแถนส่งลงมาเพื่อช่วยมนุษย์ให้รู้จักทำมาหากิน อีกทั้งควายยังเป็นหนึ่งในสัตว์ที่ชนชั้นกษัตริย์ใช้เป็นเครื่องเซ่นในการทำพิธี ดังนั้นจึงสร้างบ้านให้มีลักษณะ และสัญลักษณ์ให้สื่อถึงสัตว์ทั้ง 2 ประเภทนี้อยู่ด้วย เพื่อเป็นการลำลึกถึงบุญคุณที่ช่วยให้มนุษย์รู้จักทำมาหากิน

สถานที่ตั้ง
จังหวัด สุพรรณบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุพรรณบุรี
บุคคลอ้างอิง นางสาวทิพย์สุดา อิ่มใจ อีเมล์ spbcul@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุพรรณบุรี อีเมล์ spbcul@gmail.com
อำเภอ เมืองสุพรรณบุรี จังหวัด สุพรรณบุรี รหัสไปรษณีย์ 72000
โทรศัพท์ 035536058
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่