ประวัติ/ที่มาของกลุ่มชาติพันธุ์
“ไทยถิ่น”หมายถึง คนไทยที่มีเชื้อสายเป็นคนไทยในจังหวัดสุพรรณบุรี ทั้งที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในอดีต หรืออพยพมาจากภาคกลางตอนบน นับว่าเป็นคนเชื้อสายดั้งเดิมของจังหวัดพิจิตร โดยการตั้งถิ่นฐานจะอยู่กันในลักษณะหมู่บ้านเป็นชุมชนใหญ่เป็นหย่อม ๆ เรียงรายตั้งแต่เหนือจรดใต้ นอกจากนี้ก็อยู่ริมสองฝั่ง
ของแม่น้ำยม เป็นชุมชนเล็กบ้าง ใหญ่บ้าง
การที่ประชาชนในอดีตตั้งอยู่ในสภาพดังกล่าวเพราะผู้คนในสมัยนั้นยังมีน้อย ประกอบกับสภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นป่าดง มีสัตว์ป่าชุกชุม ฉะนั้นผู้คนต้องอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อนเพื่อความปลอดภัย อนึ่งการที่ต้องอาศัยอยู่ริมน้ำเพราะใช้สายน้ำเป็นเส้นทางคมนาคมและการเกษตร เนื่องจากในสมัยนั้นถนนหนทางยังไม่มีการอพยพของประชากรมีการอพยพเข้ามามากกว่าอพยพออก การอพยพเข้าครั้งสำคัญ มีอยู่ ๒ ครั้ง คือ
๑. การอพยพรี้พลของพระยาโคตรตะบองเทวราชจากเมืองเดิม เนื่องจากหนีพวกขอม
2. การอพยพครั้งที่สองในรัชสมัยพระสรรเพชญ์ที่ ๘ หรือเรียกว่า “พระเจ้าเสือ”
ชาวไทยถิ่น ประชากรที่อาศัยในภาคกลางของประเทศไทยปัจจุบันมาจากการผสมผสานระหว่างชาวไทกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ทั้งที่เป็นชนพื้นเมืองเดิมในภูมิภาคนี้และชนที่เคลื่อนย้ายเข้ามาใหม่ จดหมายเหตุ ลาลูแบร์ระบุว่าชาวต่างชาติเรียกชนกลุ่มนี้ว่า ชาวสยาม แต่ชาวสยามเรียกตนเองว่าไทน้อย ต่อมาจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ได้ออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยรัฐนิยม ใช้ชื่อประเทศ ประชาชน และสัญชาติ
เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ให้เรียกประชาชนว่า “ไทย”ต่อมาวันที่ ๒ สิงหาคม ได้ออกประกาศ
สำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยรัฐนิยม ฉบับที่ ๓ เรื่อง การเรียกชื่อชาวไทย ให้เลิกการเรียกแบ่งแยกคนไทย
โดยใช้คำว่าไทยแก่ชาวไทยโดยทั้งหมดทั้งมวลโดยไม่แบ่งแยก
ภาคกลาง มีเนื้อที่มากเป็นอันดับ ๓ ประมาณ ๙๑,๗๙๕ ตร.กม. มีประชาการมากที่สุดเป็นอันดับ ๒
แบ่งเป็น ๒๒ จังหวัด ได้แก่ สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ นครสรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี สระบุรี อ่างทองสุพรรณบุรีนนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา นครนายก กรุงเทพ นครปฐม สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร พื้นที่ภาคกลางส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ
มีแม่น้ำหลายสายไหลผ่าน หากแบ่งภาคกลางออกตามลักษณะ สามารถแบ่งได้ ๓ เขตย่อย ๆ ภาคกลางตอนบน ภาคกลางตอนล่าง และบริเวณเขตของที่ราบ ด้วยพื้นที่ของภาคกลางตอนล่าง เป็นที่ราบกว้างใหญ่ทำให้นิยมทำการเกษตร และมีแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแม่น้ำสายหลักของภาคกลาง มีเพียงช่วงตอนปลายของแม่น้ำ
บางปะกงและแม่น้ำแม่กลองซึ่งเป็นระบบแม่น้ำในภาคตะวันตกและตะวันออก
พื้นที่ชุมชน | ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ | จำนวนประชากร |
ตำบล สามชุก อำเภอสามชุก สุพรรณบุรี | พื้นที่ลาบลุ่ม | 15,460คน |
ประวัติศาสตร์ของกลุ่มชุมชน ชาติพันธุ์
เดิมสมัยสุนทรภู่ล่องเรือมาถึง “บางขวาก” แล้วนอนพักที่วัดสามชุก จึงได้เห็นการแลกข้าวต่าง ๆ
จนพัฒนามาเป็นตลาดค้าขายขนาดใหญ่ จนถึงปัจจุบันได้มีการย้ายไปที่ตลาดสามชุก และมีการตั้งถิ่นฐานกระจายตัวออกไปยัง ตำบลข้างเคียงซึ่งปัจจุบันคนไทยถิ่นดั่งเดิม มีอยู่กระจายทั่วจังหวัดสุพรรณบุรี
แต่หากกล่าวถึงแหล่งชุมชนชาวไทยถิ่นดั้งเดิมคืออยู่ที่สามขุก
การประกอบอาชีพของชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์
ในอดีตชาวสามชุกจะปลูกข้าว, ปลูกอ้อย เป็นส่วนใหญ่ ปัจจุบันจะประกอบอาชีพค้าขายเนื่องจากในอำเภอสามชุกนี้มีประชากรหลากหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่เนื่องจากในสมัยโบราณมีการค้าขายและสัญจร ทางน้ำทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ทางชนชาติไม่ว่าจะเป็น จีน ลาว พม่า ไทย เขมร ต่างหลั่งไหลเข้ามายังอำเภอสามชุก อย่างไม่ขาดสายจนเกิดเป็นชุมชนแหล่งการค้าสำคัญขึ้นมา
สถานการณ์ของชุมชน
สมัยอดีตคลองบางขวากเป็นแหล่งการค้าที่เจริญที่สุด เป็นจุดแลกเปลี่ยนสินค้า มีการจัดตั้งธนาคาร ภายหลังได้ย้ายความเจริญไปอยู่ที่ตลาดสามชุก เพราะย้ายไปตามอำเภอ ปัจจุบันชุมชนสามชุกยังคงมีความเข้มแข็ง คอยช่วยเหลือเกื้อกูลกัน อีกทั้งยังคอยช่วยกันอนุรักษณ์ในเรื่องของแบบบ้าน รวมไปถึงวิธีชีวิต
ให้คงเดิมและไม่ให้เลือนหายไป
วิถีชีวิต / วัฒนธรรม
สมัยก่อนประชาชนมีวิถีชีวิตตามลำน้ำ ซึ่งเป็นเส้นทางสำคัญและรวดเร็วที่สุดในการทำการค้า
และด้วยที่ว่าในอำเภอเมืองสามชุก มีธนาคารฝิ่นและสถานที่ราชการ จึงทำให้เป็นแหล่งติดต่อการค้าที่สำคัญ
ความรู้ / ภูมิปัญญา
ในอดีตจะมีหมอยาพื้นถิ่น รักษาอาการป่วย ปัจจุบันเหลืออยู่ไม่มาก ซึ่งจะรักษาเพียงบางโรค เช่นการเป่าเพื่อรักษาโรคงูสวัด การกวาดคอ ส่วนการรักษาแบบเดิมจะมีอยู่ในแค่ตำรา และ ดนตรีไทยที่ยังคง
อนุรักษ์ไว้อยู่จนปัจจุบัน
ประเพณี / เทศกาล
ประเพณีส่วนใหญ่จะเป็นเทศกาล หรือประเพณีที่เกี่ยวกับจีน ได้แก่ ไหว้เจ้า(สารทจีน, ตรุษจีน), ไหว้พระจันทร์ และเทศกาลกินฟรี ซึ่งจัดขึ้น ในวันที่ ๓๑ ธันวาคม ของทุกปี จะมีเทศกาลกินฟรี ทั้งตลาด
เพื่อเป็นการตอบแทนนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยว โดยจะมีข้อแม้ว่า คนที่จะมาจะต้องนำถ้วย นำช้อน มาเอง
ศาสนา
ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ โดยในชุมชนจะมีชาวไทยจีนผสมอยู่ด้วยจำนวนมาก ทำให้วัฒนธรรมประเพณีวัฒนธรรมของชาวจีนเข้ามาเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตในชุมชน
ศิลปะ / การแสดง
มีการทำกลุ่มเพื่อสอนดนตรีไทยให้กับเด็ก การสานตะกร้าเพื่อสืบสานวัฒนธรรมตามโรงเรียนในเขตชุมชน มี “กลอนสุนทรภู่” บรรยายถึงสามชุก อยู่ที่ “สะพานพรประชา” กล่าวว่า “ถึงนามสามชุกถ้าป่าดง
เกรี่ยงไร่ได้ฟ่ายลงแลกล้ำ เรือค้าท่านั้นคงคอยเกรี่ยง เรียงเอยรายจอดทอดท่าน้ำนับฝ้ายขายของ”
ตำนาน
อำเภอเดิมบางนางบวช เป็นชื่ออำเภอหนึ่งในจังหวัดสุพรรณบุรี แต่เดิมเรียก เดิมบาง เรื่องมีอยู่ว่าในสมัยก่อน มีหญิงสาวสวยผู้หนึ่งชื่อนางเดิม เป็นคนใจบุญ นางเดิมปรารถนาวอยากพบพระศรีอาริย์ จึงขึ้นไป
ทอผ้าเพื่อตั้งใจเก็บไว้ถวายเป็นพุทธบูชาที่ยอดเขากี่ วันหนึ่งตาสีนนท์ชายผู้เป็นโรคเรื้อนเดินทางไปต่อไก่ป่า
ที่เขากี่ หลังจากเอาหลักไก่ปักไว้ที่เชิงเขาแล้ว ตาสีนนท์ก็ขึ้นไปเดินเล่นบนยอดเขาจึงได้พบนางเดิม
ตาสีนนท์หลงรักนางเดิมทันที พยายามเกี้ยวพาราสี นางเดิมไม่สนใจคำพูดของตาสีนนท์ แต่แล้วตาสีนนท์ไม่เลิกความพยายามและยิ่งล้ำเส้นมาขึ้น นางเดิมอายและโกรธมาก นางคิดว่าสัญลักษณ์และความงามของผู้หญิงที่ทำให้ผู้ชายหลงใหลคือ ถันทั้งสองข้าง ถ้าผู้หญิงไม่มีหัวนมผู้ชายก็คงเลิกรัก ดังนั้นเพื่อให้ความงามหมดไป
นางเดิมจึงหาทางแก้ไขปัญหา ด้วยการตัดถันทั้งสองข้างทิ้ง ต่อมาถันที่ตัดทิ้งกลายเป็นภูเขาชื่อว่า “เขานมนาง” เมื่อตาสีนนท์ทำลายพิธีทอผ้าของนางเดิม นางเดิมยังคงไม่ล้มเลิกความตั้งใจโดยการถือบวชแทน
แต่ตาสีนนท์ยังไม่เลิกตามนางเดิม ทำให้ต้องหนีไปทางแม่น้ำใหญ่ นางเดิมไม่สามารถข้ามไปได้ จึงตั้งจิตขอพระศรีรัตนตรัย ถ้าลูกยังมีบุญพอที่จะให้บวช จงดลบันดาลให้ลูกข้ามแม่น้ำได้ หลังจากสิ้นคำอธิษฐาน
ปรากฏช้างพลายตัวใหญ่มารับนางเดิมข้ามแม่น้ำไป ต่อมาสถานที่นี้ได้ชื่อว่า “บ้านท่าช้าง” เมื่อนางเดิมพ้นจากตาสีนนท์นางเดิมเดินทางต่อด้วยความสบายใจ สถานที่นี้ได้ชื่อว่า “บ้านท่านางเริง” จนนางเดิมเดินมาพบสถานที่ร่มรื่นเงียบสงบนางจึงบวช โดยโกนผมทิ้งที่ตำบลนี้ ต่อมาเรียก “เขานางบวชชี” หรือ “เขานางบวช” ต่อมาตำบลนี้ได้ชื่อว่า “ตำบลนางบวช” อันเป็นที่มาของชื่อ “เดิมบางนางบวช”