ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 51' 3.5036"
14.85097323433222
ลองจิจูด (แวง) : E 103° 29' 53.0826"
103.4980784942462
เลขที่ : 195362
เตย
เสนอโดย สุรินทร์ วันที่ 27 มกราคม 2565
อนุมัติโดย mculture วันที่ 25 มีนาคม 2565
จังหวัด : สุรินทร์
1 1313
รายละเอียด

เตย

เตยเป็นพืชที่คนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดีมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว เพราะได้นำมาใช้ประโยชน์ต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะส่วนของใบที่เราเรียกว่า ใบเตย จึงทำให้เรียกพืชชนิดนี้ติดปากกันมาจนถึงปัจจุบันว่า “ใบเตย” สำหรับถิ่นกำเนิดของเตยนั้น เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อาทิ ไทย พม่า ลาว มาเลเซีย และประเทศอินเดีย รวมถึงทวีปอื่น เช่น แอฟริกา และออสเตรเลีย ชอบขึ้นตามพื้นที่ชุ่ม ริมลำน้ำหรือบริเวณที่ชื้นแฉะที่มีน้ำขังเล็กน้อย ในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ ใบเตยนำมาห่อทำขนมหวาน เช่น ขนมตะโก้ ใบนำมามัดรวมกัน ใช้สำหรับวางในห้องน้ำ ห้องรับแขกเพื่อให้อากาศมีกลิ่นหอม ช่วยในการดับกลิ่นหรือใช้ใบเตยสดนำมายัดหมอน ช่วยให้มีกลิ่นหอม นำมาใช้เป็นสารแต่งกลิ่นบุหรี่ นำมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ นำไปตากแดดให้แห้ง ก่อนใช้ชงเป็นชาดื่ม น้ำมันหอมระเหยจากเตยนำไปเป็นส่วนผสมของน้ำยาปรับอากาศ ใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอาง ครีมทาผิว แชมพู สบู่ หรือ ครีมนวด เป็นต้น

ตระกูลPandanaceae

ชื่อสามัญPandanus Palm , Fragrant Pandan , Pandom wangi.

ชื่อวิทยาศาสตร์Pandanus amaryllifoliusRoxb.

ชื่อท้องถิ่นใบเตย , เตยหอม , ต้นเตย , เตยหอมใหญ่ , เตยหอมเล็ก(ภาคกลาง) , หวานข้าวใหม่ (ภาคเหนือ) , ปาแนะวอวิง , ปาแง๊ะออริง (นราธิวาส มาเลเซีย) ,พังลั้ง (จีน)

เตยจัด เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว มีลำต้นทรงกลม และเป็นข้อสั้นๆถี่กัน โผล่ขึ้นมาจากดินเพียงเล็กน้อย โคนลำต้นแตกรากแขนงออกเป็นรากค้ำจุนหรือเรียกว่า รากอากาศ ลำต้นสามารถแตกหน่อเป็นต้นใหม่ได้ ทำให้มองเป็นกอหรือเป็นพุ่มใหญ่ๆ ที่รวมความสูงของใบแล้วสามารถสูงได้มากกว่า 1 เมตร

ใบเตย แตกออกเป็นใบเดี่ยวด้านข้างรอบลำต้น และเรียงสลับวนเป็นเกลียวขึ้นตามความสูงของลำต้น จนถึงขอด ใบมีลักษณะเรียวยาวเป็นรูปดาบ ปลายใบแหลม สีเขียวสด ใบชูเฉียงแนบไปกับลำต้น แผ่นใบเป็นมัน กว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 30-50 เซนติเมตร แผ่นใบ และขอบใบเรียบ แผ่นใบด้านล่างมีสีจางกว่าด้านบน มีเส้นกลางใบลึกเป็นแอ่งตื้นๆตรงกลาง ใบนี้ส่งกลิ่นหอมตลอดเวลา เพราะมีน้ำมันหอมระเหย และสาร ACPY

ส่วนที่ใช้ใบ ราก

ส่วนประกอบทางเคมี

ใบเตยพบว่ามีสารสำคัญหลายชนิด เมื่อนำใบเตยหอมากลั่นด้วยไอน้ำจะได้สารหอมที่ประกอบด้วย แพนดานาไมน์ (Pandanamine) ไลนาลิลอะซีเตท ( linalylacetate) เบนซิลอะซีเตท (benzyl acetate) ไลนาโลออน(linalool)และเจอรานิออล(geraniol) มีสารที่ทำให้มีกลิ่นหอมคือ คูมาริน (coumarin) และเอทิลวานิลลลิน (ethyl vanillin)สารคลอโรฟิลล์ (chlorophyll) ทำให้มีสีเขียว เบต้าแคโรทีน (Beta-Carotene) และสารในกลุ่มแอนโทไซยานิน (anthocyanin) ซึ่งเป็นสารที่ออกฤทธิ์ที่สำคัญ

คุณประโยชน์ของเตย

ใบเตยสดเป็นยาบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น ใช้รับประ ทานแก้หวัด แก้ไอ ดับพิษไข้ ดับร้อน และชูกำลังราก รากเตยใช้เป็นยาขับปัสสาวะ รักษาเบาหวาน(เนื่องจากมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดใช้รักษาโรคตับ และไตอักเสบใบเตยหอมแต่งสีให้สีเขียว เนื่องจากในใบเตยมีสารคลอโรฟิลล์ (chlorophyll)และยังใช้แต่งกลิ่นให้หอมอีกด้วย เช่น แต่งกลิ่นในขนมหลายชนิด ได้แก่ ขนมขี้หนู ลอดช่องซ่าหริ่ม ขนมชั้น ฯลฯลดระดับน้ำตาลในเลือด ต้านการเพิ่มของระดับน้ำตาลในเลือดลดอัตราการเต้นของหัวใจ ลดความดันโลหิต มีฤทธิ์อ่อนในการต้านเนื้องอกรักษาโรคหัด อีสุกอีใส และโรคผิวหนังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมีฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียStaphylococcus aureus,Staphylococcus epidermidis

การขยายพันธุ์เตย

เตยสารมารถขยายพันธุ์ได้เองโดยการแตกหน่อ แต่ในปัจจุบันก็สามารถปลูกด้วยการแยกเหง้าหรือย้ายหน่อปลูกได้เช่นกัน ทั้งนี้ เตยสามารถขึ้นได้ดีในที่ชุ่ม และทนต่อสภาพดินชื้นแฉะได้ดี แต่ควรเลือกพื้นที่ปลูกไม่ให้น้ำท่วมขังง่าย โดยมีวิธีการดังนี้

การเตรียมแปลง แปลงปลูกเตย ควรไถแปลง และตากดินก่อน 5-10 วัน พร้อมกำจัดวัชพืชออกให้หมด ก่อนหว่านด้วยปุ๋ยคอก อัตรา 2 ตัน/ไร่ และปุ๋ยยูเรีย อัตรา 10 กิโลกรัม/ไร่ พร้อมไถกลบ
การปลูกเตย ควรปลูกในช่วงฤดูฝน เพราะดินจะชื้นดี ทำให้ต้นเตยติด และตั้งตัวได้ง่าย ด้วยการขุดหลุมปลูกเป็นแถว ระยะหลุม และระยะแถวที่ 50 เซนติเมตร หรือที่ 30 x 50 เซนติเมตร ก่อนนำต้นพันธุ์เตยลงปลูก
หลังจากปลูกเตยเสร็จ ควรให้น้ำทันที แต่หากดินชื้นมากก็ไม่จำเป็นต้องให้ และให้น้ำเป็นประจำทุกๆ 7-10 วัน ขึ้นอยู่กับความชื้นดิน และฝนที่ตก

เอกสารอ้างอิง

https://www.disthai.com/17040525/%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%A2

https://www.baanlaesuan.com/58769/plant-scoop/58769

http://www.ananhosp.go.th

https://www.thaijobsgov.com/jobs/151068

https://www.technologychaoban.com/thai-local-wisdom/article_28919

คำสำคัญ
สมุนไพร
หมวดหมู่
อื่นๆ
สถานที่ตั้ง
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์
เลขที่ 796 หมู่ที่/หมู่บ้าน 20 ถนน เลี่ยงเมือง
ตำบล นอกเมือง อำเภอ เมืองสุรินทร์ จังหวัด สุรินทร์
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
องค์การบริหารส่วนตำบลนอกเมือง
บุคคลอ้างอิง องค์การบริหารส่วนตำบลนอกเมือง
ชื่อที่ทำงาน Admin
ตำบล นอกเมือง อำเภอ เมืองสุรินทร์ จังหวัด สุรินทร์ รหัสไปรษณีย์ 32000
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่