ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 8° 25' 0.303"
8.41675083918912
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 57' 52.6397"
99.96462212550455
เลขที่ : 195378
วัดสวนป่าน
เสนอโดย นครศรีธรรมราช วันที่ 28 มกราคม 2565
อนุมัติโดย นครศรีธรรมราช วันที่ 28 มกราคม 2565
จังหวัด : นครศรีธรรมราช
0 478
รายละเอียด

ความเป็นมา (ภูมิหลัง/ความเชื่อ)

วัดสวนป่าน สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๒ ที่ตั้งเดิมของวัดสวนปานส่วนหนึ่งเป็นบริเวณวังกษัตริย์หรือเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช มีสภาพเป็นเนินสูงมาก่อนอันเป็นส่วนของภูมิประเทศซึ่งเดิมเรียกว่า “กระหม่อมโคก” มีลักษณะเป็นเนินสูงคล้ายภูเขาเล็ก ๆ ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเมื่อประมาณ ๙๐๐ กว่าปีมาแล้วกษัตริย์ผู้ตั้งเมืองใหม่ได้ปรับที่เนินนี้ให้ราบเรียบเพื่อตั้งเป็นวัง ส่วนที่ตั้งของวัดไม่ได้ปรับที่เนินให้ราบเรียบยังคงรักษาไว้เป็นเนินอยู่ตามเดิมเพื่อใช้เป็นที่เลี้ยงช้างหลวงมีเนื้อที่ประมาณ ๕๐ ไร่มีโรงเลี้ยงช้างอยู่ ๓ โรง จึงไม่มีผู้ใดแม้แต่ลูกหลานหรือเชื้อสายของกษัตริย์ประสงค์จะใช้เป็นที่อยู่อาศัยเพราะความเชื่อที่ว่า ที่นี่ช้างอยู่ ช้างเกิดช้างตายมาก่อนคนจะไปอยู่อาศัยไม่ได้ มักจะมีอันต้องเสียชีวิตหรือไม่ก็ทำให้เดือดร้อนต่าง ๆ บริเวณเนินสวนป่านจึงถูกทอดทิ้งให้รกร้างว่างเปล่าอยู่เป็นเวลานาน

ต่อมาท่านเจ้าคุณพระรัตนธัชมุนี (ม่วง เปรียญ) ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เห็นว่าบริเวณโรงเลี้ยงช้างหลวงเป็นที่รกร้างอยู่และอยู่ใกล้กับศาลากลางจังหวัดและศาลจังหวัด ดูไม่เป็นที่เจริญตาประกอบกับทางราชการฝ่ายอาณาจักรก็มิได้คิดที่จะใช้ที่ดินบริเวณนั้นให้เป็นประโยชน์ ท่านเจ้าคุณพระรัตนธัชมุนีจึงได้จัดตั้งวัดขึ้นเป็น วัดของธรรมยุติกนิกาย แล้วตั้งชื่อวัดที่ตั้งใหม่ว่า “วัดสวนป่าน” หลังจากที่ท่านเจ้าคุณพระรัตนธัชมุนี (ม่วง เปรียญ) ผู้ก่อตั้งวัดสวนป่านได้ถึงแก่มรณภาพไปเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๗ แล้วศิษย์ยานุศิษย์ของท่านเจ้าคุณได้สร้างเจดีย์แบบลังกาย่อส่วนไว้เป็นที่ระลึกถึงท่านเจ้าคุณด้วยความกตัญญูกตเวทีให้เป็นอนุสรณ์ของท่านซึ่งเจดีย์นี้ก็ยังคงปรากฏให้เห็นอยู่ในวัดสวนป่านตลอดมาจนถึงทุกวันนี้

วัดสวนป่านเป็นแหล่งสืบสานพระพุทธศาสนาและยังมีสถานที่สำคัญสำคัญปรากฏเด่นเป็นสง่าอยู่ ๒ อย่างคือ

๑. ศาลาการเปรียญ (ศาลาพระหมิด) ตั้งอยู่ทางทิศเหนือ ภายในมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่วัดคือ “พระหมิด” เป็นพระพุทธรูปสำริดปางประทับยืนที่ชาวบ้านแถบวัดสวนป่านทั้งใกล้ไกลเคารพนับถือมานานร่วม ๑๐๐ ปี สังเกตจากทองคำเปลวที่ติดทับซ้อนกันมาชั้นแล้วชั้นเล่า ปกติศาลาการเปรียญจะเปิดให้เข้ารับชมพร้อมฟังเทศน์ทุกวันพระและตลอดช่วงเข้าพรรษา

๒. อุโบสถ ตั้งอยู่ทางทิศใต้เป็นศาสนสถานที่วิจิตรแห่งหนึ่งในตัวเมือง ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังอันงดงาม ผลงานของ แนบ ทิชินพงศ์ ผู้มีผลงานที่โดดเด่นด้านศิลปะของนครศรีธรรมราช วาดเสร็จตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ แสดงภาพพุทธประวัติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ภาพประวัติเรื่องราวแสดงถึงความเป็นอยู่ของชาวเมืองนครศรีธรรมราชในสมัยนั้น โดยเฉพาะภาพสมัยรัชกาลที่ ๕ เสด็จมาประทับที่วัดสวนป่านเมื่อครั้งเสด็จกลับจากประเทศอินโดนีเซียเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๑ และเข้าสักการะ พระหมิด และชมความวิจิตรภายในอุโบสถต้องติดต่อทางวัดก่อน

การเดินทาง วัดสวนป่านอยู่ใกล้กับสามแยกหอนาฬิกาจากสนามหน้าเมืองผ่านตลาดท่าม้าศาลากลางจังหวัด เมื่อถึงสี่แยกให้เลี้ยวขวาเข้าสู่ซอยวัดสวนป่าน เวลาเปิด - ปิด ๐๘.๐๐ น. ถึง ๑๖.๓๐ น. ของทุกวัน

คำสำคัญ
วัดส่วนป่าน
หมวดหมู่
ศาสนสถาน
สถานที่ตั้ง
วัดสวนป่าน
ถนน ถนนราชดำเนิน
อำเภอ เมืองนครศรีธรรมราช จังหวัด นครศรีธรรมราช
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
นิตยสารท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช ประจำปี ๒๕๖๔ วัดทั่วไทย SBL บันทึกประเทศไทย
บุคคลอ้างอิง สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด นครศรีธรรมราช อีเมล์ ns-culture2009@hotmail.com
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่