การแต่งแก้ เสียเคราะห์
ประวัติ
...ความเชื่อชาวอีสานสะเดาะเคราะห์เพื่อให้ชีวิตดีขึ้น ชาวอีสานมีวัฒนธรรมความเชื่อที่เรายึดถือกันเรียกว่า เคราะห์ ที่เป็นสิ่งก็เรียก ศุภเคราะห์ ไม่ดีเรียก บาปเคราะห์ เมื่อยังยึดมันในสิ่งที่ดีและไม่ดีอยู่จึงก็อยู่ในสภาพเป็นคนมีเคราะห์เมื่อมีแล้วก็ต้องเสียเคราะห์ การเสียเคราะห์หรือสะเดาะเคราะห์ ก็ต้องมีพิธีทำถ้าหาถูกเคราะห์ก็หาย ถ้าทำไม่ถูกเคราะห์ก็ไม่หาย ก่อนจะเป็นเคราะห์ก็มักจะเห็นลางต่าง ๆการ เห็นลางนั้นมี่ทั้งลางดี และลางไม่ดี เป็นการบอกเหทุการณ์ให้ทราบล่วงหน้าว่าต่อไปข้างหน้าผู้เห็นลางจะมีเหตุร้ายหรือเหตุดีได้อย่างแม่นยำ ถ้าผู้พบเห็นลางที่เป็นลางบอกเหตุร้ายแสดงว่าต้องมีเคราะห์ ฉะนั้นต้องทำการ เสียเคราะห์ หรือ สะเดาะเคราะห์ แต่งแก้ ถ้าฝันไม่ดี หรือหมอเขาทายว่าปีนี้ซะตาขาดหรหมชาติสูญกกมิง แขวน กกแนนซ้าย ถูกธรมีสารหรือทวารไฟหลวง อย่างใดอย่างหนึ่งถ้าได้ทำพิธีแล้วแต่สิ่งเหล่านั้นไม่หายท่านให้ทำการ แต่งแก้ การแต่งแก้มีมานานนับร้อยปี แต่ไม่มีใครเขียนประวัติความเป็นมาของการแต่งแก้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาเพียงแต่มีการถือปฏิบัติต่อกันมาเรื่อย ๆ การแต่งแก้ถ้ามองดูผิวเผินก็จะไม่มีความสำคัญอะไรเพราะเป็นพิธีการทางไสยศาสตร์ ไม่มีเหตุผลไม่มีข้อพิสูจน์ให้เห็นชัดเจนแต่การแต่งแก้ก็ยัง เป็นนิยมเชื่อถือของคนจำนวนมาก โดยเฉพาะตามชนบทยังมีคนเชื่อถือ ให้ความสนใจและถือปฏิบัติกันมาถึงปัจจุบัน
ความหมายของ หมอแต่งแก้
หมอหมายถึง ผู้รู้ ผู้เชียวชาญ ผู้มีวามรู้ในศาสตร์แขนงใดแขนงหนึ่ง
แต่งหมายถึง หาให้งาม
แก้หมายถึง ทำให้หยุด ทำให้ถูก ทำให้หาย ทำให้ก็
เมื่อนำมารวมกัน จะได้คำว่าหมอแต่งแก้ซึ่งหมายถึง ผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์แขนงใดๆ ที่ทำหน้าที่อภิบาลรักษาผู้ป่วยให้หายจากอาการป่วยกลับเข้าสู่สภาพปกติ
พิธีการ
มมส จัดโครงการ“พิธีกรรมแต่งแก้ เสียเคราะห์สะเดาะโศก ต้อนรับโชคปีศักราชใหม่”
เมื่อวันที่ 29ธันวาคม 2559เวลา10.00น. สถาบันสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้จัดโครงการ “พิธีกรรมแต่งแก้ เสียเคราะห์สะเดาะโศก ต้อนรับโชคปีศักราชใหม่” ณ บริเวณหน้าอาคารสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (เขตพื้นที่ในเมือง) โดยมีนายสถิตย์ เจ็กมา รองผู้อำนวยการ ฝ่ายส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและภูมิทัศน์ กล่าวต้อนรับ มี นายกีรติวจน์ ธนภัทรธุวานันท์ ผู้รับผิดชอบโครงการได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ และความสำคัญของโครงการ โดยมีนายลือศักดิ์ แก้วชุมพล หมอพราหมณ์เป็นผู้ประกอบพิธี มีนิสิตและบุคลากรทุกหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เข้าร่วมกว่า 100คน ผู้เข้าร่วมพิธีได้เตรียมสิ่งของอุปกรณ์สำหรับเข้าร่วมพิธี ดังนี้ เสื้อผ้าที่ไม่ใช้แล้ว 1ชุด ตัดผม ตัดเล็บ เขียนชื่อ-สกุล พร้อม วันเดือนปีเกิด ลงในกระดาษเปล่า 1แผ่น และค่าบูชาครูท่านละ 99บาท