ขนมพอง เป็นขนมที่ทำขึ้นเพื่อใช้ในเทศกาลเดือนสิบของชาวภาคใต้ ซึ่งใช้ในการทำบุญและพิธีตั้งเปรต ในวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ เป็นขนมที่ทำมาจากข้าวเหนียว โดยนึ่งข้าวเหนียวขาวหรือข้าวเหนียวดำจนสุก แล้วนำมาใส่
ในพิมพ์ที่เตรียมไว้ ซึ่งพิมพ์จะมีลักษณะเป็นรูปวงกลม, สามเหลี่ยม, สี่เหลี่ยม หรือรูปหัวใจ ขึ้นอยู่กับความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละพื้นที่ แล้วนำไปผึ่งแดด
ให้ข้าวเหนียวแห้งสนิท จากนั้นก็นำมาทอด หรือ “สาย” (ส่าย) จนเป็นแผ่นใหญ่สุกกรอบ
ขนมพอง มีพุทธปรัชญาแฝงอยู่อย่างน่าศึกษายิ่ง กล่าวคือ ชาวพุทธจะอุทิศให้ “ตายาย” หรือ “เปรตชน” ให้ใช้เป็นเรือเพื่อข้ามห้วงมหรรณพไปสู่นิพพาน โดยแฝงแนวคิดว่าถ้าเราปลดปล่อยกิเลสเสียได้ก็จะเบาสบาย ลอยไปสู่ความสุขหรือนิพพานได้ เหมือนขนมพองก่อนทอดในน้ำมันจะหนักมากจนจมน้ำมัน พอถูกน้ำมันทอดจนเบาก็จะลอยได้ทันที
ภูมิปัญญา ได้คิดและจะพัฒนาขนมพอง โดยการใช้น้ำตาลเคี่ยว
จนเหนียว แล้วนำมาหยอดบนขนมพอง เพื่อสร้างรสชาติความหวานจากน้ำตาล
และความกรอบของขนมพอง
ส่วนผสมที่ใช้ทำขนมพอง
1.สารข้าวเหนียว
2.น้ำมันพืช
อุปกรณ์ที่ใช้ทำขนมพอง
1.กระทะ
2.แบบพิมพ์
3.หวด
สภาวัฒนธรรมจังหวัดกระบี่
สนับสนุนงบประมาณโดย: กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม