ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 12' 50.6239"
15.2140622
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 50' 5.3326"
99.8348146
เลขที่ : 195567
ผ้าทอลาวครั่งกุดจอก
เสนอโดย ชัยนาท วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565
อนุมัติโดย ชัยนาท วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565
จังหวัด : ชัยนาท
0 511
รายละเอียด
ลาวครั่ง เป็นกลุ่มชาวลาวที่อพยพมาจากเมืองหลวงพระบาง เหตุที่เรียกลาวครั่งนั้นมีข้อสันนิษฐานอยู่สองประการ โดยประการแรกสันนิษฐานว่าถิ่นฐานเดิมอยู่ในภูฆังหรือภูคัง เมืองหลวงพระบาง จนเพี้ยนกลายเป็น "ครั่ง" หรือ "คั่ง" ในที่สุด และประการต่อมาคือชาวลาวกลุ่มนี้ใช้ครั่งซึ่งเป็นแมลงชนิดหนึ่งที่มีสีแดงมาใช้ย้อมเป็นผ้ารวมถึงนำ "ครั่ง" ซึ่งเป็นสินค้าออกที่สำคัญของสยามในเวลานั้นใช้ส่งส่วยให้กับรัฐบาลสยามในกรุงเทพจึงถูกเรียกว่า "ลาวขี้ครั่ง" แต่เนื่องจากคำว่าลาวขี้ครั่งเป็นคำเชิงดูถูกจึงกร่อนเป็นลาวครั่งเพื่อสะท้อนถึงการใช้ครั่งมาเป็นสีทอผ้าให้เป็นสีแดงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะเท่านั้นการทอผ้าของชาวลาวครั่งกุดจอกนั้นจะใช้สีพื้นฐาน 5 สี ตามแนวคิดเรื่องขันธ์ 5 ในพระพุทธศาสนา โดยใช้สีแดงจากครั่งและสีดำจากผลมะเกลือเป็นสีพื้นในการทอผ้า ส่วนสีอื่นๆได้แก่ สีเหลืองจากแง่งหรือหัวขมิ้น สีขาวจากดอกฝ้าย และสีเขียวจากใบครามจะใช้ในส่วนของลวดลายที่ตัดกันหรือที่เรียกว่า "การแจะหมี่" ซึ่งเทคนิคของการทอผ้ามี 4 เทคนิคหลักๆ ได้แก่ การทอลายขัด การทอผ้ามัดหมี่ การทอขิด และการทอจก และการทอผ้าแต่ละประเภทก็จะมีขั้นตอนการทอที่สลับซับซ้อน ส่วนความ ละเอียดของลวดลายขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ทอ นับว่าเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญและสะท้องภูมิปัญญาอันลึกซึ้งของชาวลาวครั่งกุดจากที่ควรอนุรักษ์สืบสานไว้ให้คนรุ่นหลังต่อไปอ้างอิงศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). (2565). กลุ่มชาติพันธ์ุ : ลาวครั่ง. เข้าถึงเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2565 เข้าถึงได้จาก https://www.sac.or.th/databases/ethnic-groups/ethnicGroups/141สภาวัฒนธรรมจังหวัดชัยนาท. (2564). ผ้าทอพื้นเมืองจังหวัดชัยนาท. ฉะเชิงเทรา, ทรีพลัส มัลติมีเดีย.อรณิชา ภมรเวชวรรณ. (2560). "อัตลักษณ์ชาติพันธุ์ของชาวลาวครั่ง : กรณีศึกษาชุมชนลาวครั่งหมู่บ้านกุดจอก จังหวัดชัยนาท". รายงานการศึกษาเฉพาะบุคคล หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สถานที่ตั้ง
ตำบล กุดจอก อำเภอ หนองมะโมง จังหวัด ชัยนาท
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด ชัยนาท อีเมล์ Cntculture@gmail.com
อีเมล์ Cntculture@gmail.com
อำเภอ เมืองชัยนาท จังหวัด ชัยนาท
โทรศัพท์ 056416575
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่