ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 25' 27.5902"
16.4243306
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 9' 42.2482"
101.1617356
เลขที่ : 195606
ซิ่นหัวแดงตีนก่าน อัตลักษณ์ไทหล่ม
เสนอโดย เพชรบูรณ์ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2565
อนุมัติโดย เพชรบูรณ์ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2565
จังหวัด : เพชรบูรณ์
0 677
รายละเอียด

การแต่งกายถือเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละกลุ่มชนที่มีค่านิยมและมีถิ่นฐานในภูมิประเทศที่แตกต่างกันมีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาแต่ที่สำคัญการแต่งกายยังถือเป็นเครื่องหมายที่บ่งบอกถิ่นฐานและฐานะทางสังคมได้อีกด้วย

สำหรับวัฒนธรรมไทหล่มหมายถึงวัฒนธรรมของกลุ่มผู้คนในกลุ่มวัฒนธรรมลาวที่มีถิ่นฐานเดิมจากล้านช้างเป็นผู้ที่สืบทอดค่านิยมจารีตประเพณีความเชื่อมาจากบรรพบุรุษไทลาวและสืบทอดมาสู่ลูกหลานกระนั้นเองยังได้รับกระแสค่านิยมจากสังคมภายนอกผ่านการแลกเปลี่ยนค้าขายและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมทางการเมือง

การแต่งกายของสตรีชาวไทหล่มยึดถือรูปแบบวัฒนธรรมซิ่นผืนแพรวา ซึ่งเป็นค่านิยมการแต่งกายของสตรีชาวล้านช้างและสตรีในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง การนุ่งซิ่นเป็นวิถีวัฒนธรรมลาวที่มีมาแต่โบราณ กลุ่มผู้คนในสายวัฒนธรรมไทลาวมีความเชี่ยวชาญมาแต่ครั้งบรรพกาลเกี่ยวกับการปลูกฝ้าย ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม สาวไหมและทอผ้าชนิดต่างๆอีกทั้งยังสามารถประดิษฐ์ลวดลายผ้าได้สวยงามได้หลายวิธีเช่นการมัดหมี่ การขิด การจกล้วง การมัดย้อม การยกทอ และการสลับขั้น เป็นต้นซึ่งลวดลายเหล่านั้นก็มักนิยมทำขึ้นเพื่อเป็นเครื่องนุ่งห่มโดยเฉพาะผ้าซิ่นถือเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งที่บ่งบอกถึงค่านิยมทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกันจากภาพจิตรกรรมฝาผนัง
วัดบ้านนาทราย ตำบลวังบาล อำเภอหล่มเก่า แสดงให้เห็นว่าการนุ่งซิ่นหัวแดงตีนก่านเป็นการดำรงวิถีชีวิตประจำวันของชาวไทหล่มที่ผูกพันกับศาสนาพุทธ

ซิ่นที่ไทหล่มนิยมนั้นไม่มีชื่อเรียกเฉพาะแต่เป็นที่รู้กันมาตั้งแต่อดีตว่าซิ่นลักษณะนี้จะถูกเรียกว่า "ซิ่นหมี่ ซิ่นหัวแดง ซิ่นหมี่คั่นน้อย ซิ่นหัวแดงตีนก่าน"ตามลักษณะที่สายตามองเห็นโดยมีความหมายดังนี้

ซิ่นหมี่เรียกตามวิธีการสร้างลวดลายนั่นคือการมัดหมี่

ซิ่นหัวแดงเรียกตามจุดเด่นของส่วนหัวซิ่นที่นิยมใช้สีแดงทั้งแบบมัดย้อมและแบบทอเป็นผืนผ้าสลับสีต่างๆ(บางทีก็เรียกหัวคั่นซ้าย,หัวป้องซ้าย)อาจมีการขิดลายใส่ด้วยแล้วแต่ความนิยม

ซิ่นหมี่คั่นน้อยเรียกตามวิธีการสร้างลวดลายที่มีลักษณะพิเศษคือ การมัดหมี่ลวดลายที่มีขนาดเล็กละเอียดมาก ในซิ่นหนึ่งผืนจะปรากฏลายตั้งแต่ ๑-๗ ลายคั่นสลับกันไป ลายที่นิยมได้แก่ หมี่เอื้อ หมี่ปราสาทผึ้ง หมี่นาค หมี่กระเบื้องคว่ำกระเบื้องหงาย หมี่กระจับ หมี่ขาเปียฯลฯ ลายเอกลักษณ์ที่ไม่พบที่ใดได้แก่ ลายหลา(ไน)หรือลายหงส์

ซิ่นหัวแดงตีนก่านเรียกตามลักษณะของผ้าซิ่นที่มีหัวสีแดงเพราะไทหล่มนิยมใช้หัวซิ่นสีแดงเป็นส่วนมากและหรืออาจจะมีสีอื่นบ้าง และคำว่า "ตีนก่าน" คือลักษณะของตีนซิ่นที่มีลายขวางกับตัวซิ่น ซึ่งภาษาไทลาวเรียกว่าก่านมีคำโบราณของไทหล่มพูดไว้ว่า "หญิงนุ่งซิ่นหัวแดงตีนก่าน ผมเกล้าม้วนถือผ้าเบี่ยงแพร" แต่คำว่าซิ่นหัวแดงตีนก่านนั้นก็ไม่ถือว่าเป็นชื่อผ้าซิ่นไทหล่มแต่อย่างใดซึ่งเราอาจให้คำจำกัดความไว้ว่า"ซิ่นหัวแดงตีนก่าน เป็นลักษณะผ้าซิ่นที่ไทหล่มนิยมใช้มาแต่โบราณเรียกตามส่วนประกอบของซิ่น คือมีหัวแดงและตีนลายขวางขนาดเล็กภาษาถิ่นเรียกลายขวางว่า"ก่าน"

หมวดหมู่
อื่นๆ
สถานที่ตั้ง
จังหวัด เพชรบูรณ์
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นางเยาวภา โตสงวน อีเมล์ yoawapa52@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์
จังหวัด เพชรบูรณ์
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่