ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 25' 27.5902"
16.4243306
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 9' 42.2482"
101.1617356
เลขที่ : 195628
ผ้าทอพื้นเมืองจังหวัดเพชรบูรณ์
เสนอโดย เพชรบูรณ์ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565
อนุมัติโดย เพชรบูรณ์ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565
จังหวัด : เพชรบูรณ์
0 1585
รายละเอียด

ผ้าทอพื้นเมืองหรือสิ่งทอจังหวัดเพชรบูรณ์ แบ่งตามเขตภูมิศาสตร์ทางวัฒนธรรม ดังนี้ ๑. ทอในเขตอำเภอตอนบน ได้แก่ ผ้าทอในเขตอำเภอหล่มเก่า อำเภอหล่มสักอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ ๒. ผ้าทอในเขตอำเภอตอนล่างได้แก่ ผ้าทอในอำเภอหนองไผ่ อำเภอวิเชียรบุรีอำเภอวังโป่งและอำเภอศรีเทพ

ประชากรส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพทางการเกษตร แต่ยังมีการผลิตสิ่งทอเพื่อใช้ในครอบครัวเท่านั้น ผ้าทอในแต่ละเขตจะมีลักษณะเฉพาะตัวที่โดดเด่นสวยงาม ผ้าที่ทอในเขตอำเภอหล่มสัก อำเภอหล่มเก่า มีลักษณะเด่นที่สีและเทคนิคการทำลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือ วัตถุดิบจะใช้ฝ้าย ไหม ที่ผลิตเองในครัวเรือน สีที่ใช้ย้อม เดิมใช้สีธรรมชาติซึ่งจะให้สีที่นุ่มนวล แต่ปัจจุบันมีการใช้สีสังเคราะห์ด้วย สีของผ้าพื้นเมืองในเขตนี้จะมีสีครามสีน้ำตาล สีม่วงเข้ม เทคนิคการลงลายจะใช้เทคนิคการมัดหมี่และใช้ด้ายต่างสีทอ ประชากรในเขตอำเภอตอนบนส่วนใหญ่จะเป็นชาวพื้นถิ่นเดิม ดังนั้นจึงมีวัฒนธรรมที่เป็นรูปแบบเฉพาะตัว ผลงานด้านหัตถกรรมที่แสดงออกมาจึงมีรูปลักษณ์เป็นของตนตามที่ได้สั่งสมมาจากบรรพบุรุษ ส่วนในเขตอำเภอตอนล่างมีประชากรที่ย้ายถิ่นมาจากท้องที่อื่นๆ โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงได้นำเอาวัฒนธรรมดั้งเดิมของกลุ่มตนออกมาเผยแพร่ ทำให้มีการผสมผสานวัฒนธรรม ผ้าทอใน เขตอำเภอตอนล่าง จึงมีรูปลักษณะที่แตกต่างออกไป เนื่องจากประชากรที่เป็นผู้ผลิตสิ่งทอในเขตอำเภอตอนล่างส่วนใหญ่จะย้ายถิ่นมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตังนั้นลักษณะของสิ่งทอจะคล้ายคลึงกับสิ่งทอในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะที่แตกต่างจากสิ่งทอในเขตอำเภอตอนบนที่แสดงให้เห็นชัดคือสีของสิ่งทอสิ่งทอในเขตอำเภอ ตอนล่างจะมีหลากสีและโครงสร้างของผ้าที่ใช้เป็นผ้านุ่งจะต่างกัน

ประเภทของผ้าพื้นเมืองจังหวัดเพชรบูรณ์ ผ้าทอจังหวัดเพชรบูรณ์จำแนกตามวัตถุดิบที่ใช้ในการทอจะแบ่งออก ๓ ประเภท ได้แก่ ๑. ผ้าฝ้าย เป็นผ้าที่ใช้เส้นด้ายฝ้ายเป็นด้ายพุ่งและด้ายยืน เป็นผ้าทอที่สวมใส่สบาย เพราะระบายอากาศ ดูดซึมความชื้นได้ดี ผ้าที่ผลิตขึ้นมาจะใช้เป็นเครื่องนุ่มห่ม เช่น ผ้าห่ม ผ้าขาวม้า ผ้าซิ่น ผ้าที่ใช้ในครัวเรือน เช่น หมอน ผ้าเย็บที่นอน ผ้าที่ใช้ในพิธีกรรมและงานประเพณีบุญต่าง ๆ ซึ่งผ้าเหล่านี้ผู้ทอจะทอด้วยความศรัทธา ผลงานจึงประณีตสวยงามมีคุณค่า ตัวอย่างผ้าประเภทนี้ได้แก่ ทุง (ธงที่ใช้แขวนปลายไม้ประดับในงานบุญที่วัด )ผ้าหอใบลานถวายพระสงฆ์ ๒. ผ้าไหม เป็นผ้าที่ใช้ไหมแท้เป็นด้ายพุ่งและด้ายยืน เดิมชาวพื้นเมืองจะใช้ไหมที่ผลิตเองทุกขั้นตอนเช่นเดียวกันกับการทอผ้าฝ้าย ปัจจุบันผ้าไหมเพชรบูรณ์ได้รับความนิยมสูงมากจังหวัดสนับสนุนให้ข้าราชการแต่งกายด้วยไหมมัดหมี่ของจังหวัด การทอผ้าจึงเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านที่ทำรายได้ดี และนับวันจะแพร่หลายยิ่งขึ้นด้วย ลวดลายสีสันและฝีมือทอผ้าอันประณีตงดงาม เเหล่งทอผ้าไหมพื้นเมืองที่เป็นสินค้าออกสำคัญของจังหวัดเพชรบูรณ์ รูปลักษณ์ของผลิตภัณฑ์จะคล้ายคลึงกับผ้าไหมอีสานเนื่องจาก ผู้ผลิตส่วนใหญ่ย้ายถิ่นมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แหล่งผลิตผ้าไหมพื้นเมืองในเขตอำเภอตอนบนอยู่ที่ตำบลบ้านติ้ว อำเภอหล่มสัก อำเภอหล่มเก่าและอำเภอน้ำหนาว ๓. ผ้าทอด้ายใยสังเคราะห์ เนื่องจากความเจริญทางเทคโนโลยี มีการผลิตวัสดุสิ่งทอ ทำให้มีการผลิตเส้นด้ายโดยใช้วัสดุสังเคราะห์ได้เส้นด้ายที่มีคุณภาพดี สีไม่ตก ทุกวันนี้ชาวบ้านนิยมผสมใยสังเคราะห์ลงไปด้วย เพราะทำให้ระบายความร้อนได้ดี สีสวย ดูแลง่ายและราคาถูก ในอดีตชาวพื้นเมืองจะทอผ้าสำหรับใช้เป็นเครื่องนุ่มห่มสำหรับคนในครอบครัวการทอผ้าถือว่าเป็นการถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรม นอกจากจะทอผ้าไว้เป็นเครื่องนุ่มห่มยังทอผ้าสำหรับถวายพระผ้าที่ใช้ในงานบุญ เช่น ทอผ้าชิด สำหรับห่อคัมภีร์ ผ้ากราบ ผู้ผลิตจะทำด้วยใจศรัทธา มีความตั้งใจเป็นพิเศษเพราะเชื่อว่า ถ้าถวายของสวยงามแด่พระสงฆ์แล้ว จะได้รับอานิสงส์ดี ฝีมือการทอจึงปราณีตสายงามกว่าปกติ

สถานที่ตั้ง
จังหวัด เพชรบูรณ์
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นางเยาวภา โตสงวน อีเมล์ yoawapa52@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์
จังหวัด เพชรบูรณ์
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่