ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 37' 55.1813"
17.6319948
ลองจิจูด (แวง) : E 103° 45' 8.1673"
103.7522687
เลขที่ : 195642
ประเพณีบุญผะเหวด อำเภอวานรนิวาส
เสนอโดย สกลนคร วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565
อนุมัติโดย สกลนคร วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565
จังหวัด : สกลนคร
0 766
รายละเอียด

ประเพณีบุญผะเหวด บุญมหาชาติ หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า บุณผะเหวด เป็นประเพณีบุญหนึ่งในประเพณีสิบสองเดือน หรือ ฮีตสิบสอง ของชาวอีสาน (การทำบุญประเพณี ๑๒ เดือน) โดยประเพณีนี้จะจัดขึ้นในเดือนที่ ๔ ของไทยหรือเดือนมีนาคม หรือตามมติของคณะกรรมการ การจัดงานบุญผะเหวดนั้นจะมีการเทศน์เรื่องพระเวสสันดรชาดกหรือเทศน์มหาชาติ มีจำนวนทั้งหมด ๑๓ กัณฑ์ โดยชาวอีสานมีความเชื่อว่าถ้าหากว่าฟังเทศน์ครบทั้งหมดวันเดียว และจัดเตรียมเครื่องคาย (บูชา) ได้ถูกต้อง ก็จะได้เกิดในศาสนาพระอริยเมตไตรย แต่ถ้าหากตั้งเครื่องคาย (บูชา) ไม่ถูกต้อง จะทำให้เกิดอาเพศและสิ่งไม่ดีต่างๆ จึงทำให้ทุกคนในหมู่บ้านให้ความสำคัญกับการจัดงานเป็นอย่างมาก อีกประการหนึ่ง เพื่อเป็นการระลึกถึงพระเวสสันดร พระโพธิสัตว์ ผู้บำเพ็ญเพียรบารมีชาติสุดท้ายของพระองค์ก่อนจะเสวยชาติ และตรัสรู้เป็นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในภายหลัง
นอกจากการฟังเทศน์มหาชาติแล้ว ประเพณีนี้ยังได้แฝงความเชื่อหลายประการไว้ด้วย คือ ความเชื่อในเรื่องพระอุปคุต อันเป็นพระผู้รักษาพิธีต่างๆ ให้ดำเนินไปอย่างราบรื่นตังแต่ต้นจนจบ โดยเชื่อกันว่าในการทำบุญแต่ละครั้งจะมีมารเข้ามาขัดขวางทำลายพิธี ชาวพุทธจึงต้องนิมนต์พระอุปคุตมาร่วมพิธีด้วย เพื่อช่วยขจัดอันตรายต่างๆ และเกิดความสวัสดิมงคลอีกด้วย การนิมนต์พระอุปคุตจะเริ่มทำก่อนวันเทศน์มหาชาติหนึ่งวัน เรียกว่า "มื้อโฮม (วันสุกดิบ)" ในตอนบ่ายจะทำพิธีแห่พระเวส (พระเวสสันดร) เข้าเมือง

สถานที่ตั้ง
วัดเสบุญเรือง ตำบลวานรนิวาส อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร
ตำบล วานรนิวาส อำเภอ วานรนิวาส จังหวัด สกลนคร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
วัดเสบุญเรือง ตำบลวานรนิวาส อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร
บุคคลอ้างอิง นางสาวปาริชาติ สุวรรณเวียง อีเมล์ suwanwieng19@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสกลนคร
ตำบล ธาตุเชิงชุม อำเภอ เมืองสกลนคร จังหวัด สกลนคร
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่