ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 0' 0"
17.0000000
ลองจิจูด (แวง) : E 103° 57' 56.0002"
103.9655556
เลขที่ : 195700
ประวัติหมู่บ้านนางเติ่ง
เสนอโดย สกลนคร วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2565
อนุมัติโดย สกลนคร วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2565
จังหวัด : สกลนคร
0 430
รายละเอียด

ประวัติความเป็นมาของบ้านนางเติ่ง มีเรื่องเล่าว่า มีคนจำนวนหนึ่ง ได้อพยพมาจากเมืองเวียงจันทร์ ประเทศลาว มาทางทิศตะวันตกของลำน้ำอูน และทิศตะวันออกของห้วยโคลน ครั้งนั้นยังไม่มีชื่อหมู่บ้าน ต่อมาไม่นานมีหญิงคนหนึ่งเป็นชาวเขา พเนจรเร่ร่อนมา ลักษณะเป็นคนหูใหญ่ ซึ่งภาษาลาวคือผู้หญิงหูใหญ่ ภาษาชาวบ้านเรียกว่า “หูเติ่ง” ได้มาตายอยู่ลำน้ำอูนท้ายหมู่บ้าน ขณะนั้นชาวบ้านจึงเอานามว่า “อีเติ่ง” มาเป็นชื่อบ้าน ต่อมา “บ้านอีเติ่ง” เปลี่ยนชื่อเป็น “บ้านนางเติ่ง” อยู่ต่อมาชาวบ้านจึงเลือกเอาพ่อหลักคำ เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่บ้าน พ่อหลักคำปกครองบ้านอีเติ่งมายาวนานพอสมควร เมื่อถึงแก่กรรมลงชาวบ้านจึงเชิญดวงวิญญาณมาเป็นมเหศักดิ์หลักเมือง เรียกกันว่า “ปู่ตา” เป็นที่เคารพสักการะมาจนถึงปัจจุบันนี้ ส่วนนางเติ่ง ปัจจุบันลูกหลานในหมู่บ้านเรียกว่าย่าเติ่ง และมีรูปปั้นสักการะย่าเติ่ง ตั้งไว้ที่วัดบ้านนางเติ่ง

สถานที่ตั้ง
บ้านนางเติ่ง
หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านนางเติ่ง
ตำบล โคกภู อำเภอ ภูพาน จังหวัด สกลนคร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
นางสาวอภิษฏา จันทะนิตย์
บุคคลอ้างอิง สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด สกลนคร อีเมล์ praphat2555@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสกลนคร
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่