ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 52' 7.6699"
14.8687972
ลองจิจูด (แวง) : E 103° 30' 45.2282"
103.5125634
เลขที่ : 195805
เหงือกปลาหมอ
เสนอโดย สุรินทร์ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565
อนุมัติโดย mculture วันที่ 8 เมษายน 2565
จังหวัด : สุรินทร์
0 626
รายละเอียด

เหงือกปลาหมอ

เหงือกปลาหมอมีอยู่ด้วยกัน 2 สายพันธุ์ คือ พันธุ์ที่เป็นดอกสีม่วง และพันธุ์ที่เป็นดอก สีขาว และเป็นสมุนไพรใกล๎ตัวหรืออาจจะเรียกว่าเป็นสมุนไพรชายน้ำหรือชายเลนก็ได้ สามารถนำ สรรพคุณทางยามาใช้ในการรักษาโรคได้หลายชนิด ที่โดดเด่นมากก็คือ การนำมารักษาโรค ผิวหนังได้เกือบทุกชนิด แก้น้ำเหลืองเสีย และการนำมาใช้รักษาริดสีดวงทวาร เป็นต้น โดยส่วนที่นำมาใช้เป็นยา สมุนไพรก็ได้แก่ ส่วนลำต้นทั้งสดและแห้ง ใบทั้งสดและแห้ง ราก เมล็ด และทั้งต้น ข้อมูลวิจัยพบว่าสารสกัดจากเหงือกปลาหมอดอกม่วงมีฤทธิ์ยับยั้งเนื้องอก ต้านไวรัส ต้านมะเร็งในเม็ดเลือด ต้านแบคทีเรีย เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และต้านการแพ้ ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ในรูปแบบยาแคปซูลและยาชงวางจำหน่าย นอกจากการใช้เป็นยาสมุนไพรที่ใช้ในการอบตัวหรืออบด้วยไอน้ำ สมุนไพรเหงือกปลาหมอยังใช้เป็น ส่วนผสมในการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสําอาง อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น สบู่ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการเปลี่ยนสี ผม จนกระทั่งแชมพูของสุนัข เป็นต้น

ตระกูลAcanthaceae

ชื่อสามัญSea holly

ชื่อวิทยาศาสตร์Acanthus ilicifoliousL.

ชื่อท้องถิ่นเหงือกปลาหมอแดง จะเกร็ง อีเกร็ง แก้มหมอเล แก้มหมอ

ลักษณะทั่วไป

ลำต้น เป็นไม้พุ่มขนาดกลางสูงประมาณ 1-1.5 เมตร ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5 เซนติเมตร ลำต้นแข็ง กลม เรียบ สีของต้นบริเวณโคนต้นสีเขียวแกมเทา และบริเวณยอดอ่อนเป็นสีน้ำตาลอมม่วง และมีหนามตามข้อ ข้อละ 4 หนาม

ราก พบทั้งรากค้ำจุนและรากอากาศ รากค้ำจุนเป็นรากที่งอกจากโคนหรือกิ่งบนดินแล้วหยั่งลงดินเพื่อพยุงลำต้น ส่วนรากอากาศเกิดจากลำต้นที่เอนนอนแล้วไม่ได้เจริญเติบโตลงสู่ดิน การเกิดต้นใหม่เกิดจากตรงบริเวณข้อลำต้น หากตกถึงพื้นก็เกิดรากเกิดต้นใหม่เหมือนกับบัวบก

ใบ ลักษณะเป็นใบเดี่ยว มีหนามคมอยู่ริมขอบใบ และปลายใบขอบใบเว้าเป็นระยะ ๆ ผิวใบเรียบเป็นมันลื่น แผ่นใบสีเขียว เส้นใบสีขาวเป็นแนวก้างปลา เนื้อใบแข็งและเหนียว ใบกว้างประมาณ 3-7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-20 เซนติเมตร ใบจะออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ก้านใบสั้น

ดอก เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ออกดอกเป็นช่อตั้งตามปลายยอดยาวประมาณ 4-6 นิ้ว ดอกมีทั้งพันธุ์สีม่วงอมฟ้าและพันธุ์ดอกสีขาว มีกลีบรองดอก 4 กลีบ กลีบแยกจากกัน บริเวณกลางดอก มีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย ขณะดอกตูมปลายกลีบเชื่อมติดกัน ดอกบาน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-2.5 เซนติเมตร เกสรตัวผู้มี 4 อัน เป็นแบบยาว 2 อัน สั้น 2 อัน ติดอยู่บนคอหลอดกลีบดอก เกสรเพศเมีย มีรังไข่แบบรังไข่เหนือวงกลีบ ตอนบนเป็นจะงอย ภายในมี 2 ห้อง ก้านเกสรยาวพ้นระยะกลีบ

ผล ลักษณะของผลเป็นฝักสีน้ำตาล ลักษณะของฝักเป็นทรงกระบอกหรือรูปไข่หรือกลมรียาว ประมาณ 2-3 เซนติเมตร เปลือกฝักอ่อนสีเขียว เปลือกฝักแก่มีสีน้ำตาล ปลายฝักบ้าน ข้างในฝักมี 4 เมล็ด รสเผ็ดร้อน

ส่วนที่ใช้ผล เมล็ด ใบ และทั้งต้น

คุณประโยชน์ของเหงือกปลาหมอ

แก้น้ำเหลืองเสีย แก้ผื่นคัน แก้โรคผิวหนังและแผลอักเสบแก้ฝีดาษ แก้ทั้งฝีภายนอกและภายในขับโลหิต ระดู ช่วยแก้ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติของสตรีใช้เป็นยาสมุนไพรที่ใช้ในการอบตัวหรืออบด้วยไอน้ำใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น สบู่ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการเปลี่ยนสีผม จนกระทั่งแชมพูของสุนัขนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นยาแคปซูลสมุนไพร(เหงือกปลาหมอแคปซูล)หรือเป็นยาชงสมุนไพร (เหงือกปลาหมอผงสำเร็จรูป) หรือในรูปแบบของยาเม็ดช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร ด้วยการใช้ต้นเหงือกปลาหมอกับขมิ้นอ้อย นำมาตำละลายกับน้ำแล้วทาบริเวณที่เป็นริดสีดวงใช้เป็นยาประคบแก้ไขข้ออักเสบและแก้อาการปวดต่าง ๆขับเสมหะ บำรุงประสาท แก้ไอ แก้หืดมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดสารสำคัญในเหงือกมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย ต้านไวรัส ต้านการแพ้ และต้านมะเร็งในเม็ดเลือด

การขยายพันธุ์เหงือกปลาหมอ

ใช้เมล็ดขยายพันธุ์ เป็นการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติใช้กิ่งปักชำขยายพันธุ์ นำกิ่งที่ไม่แก่และไม่อ่อนจนเกินไป อายุประมาณ 1-2 ปี หรือกิ่งแก่ที่รากแตกออกมาจากข้อของลำต้น มาชำลงในดินโคลน คอยรดน้ำให้ชุ่มประมาณ 2 เดือนจะงอกราก จึงทำการย้ายปลูก ก่อนปลูกควรเตรียมแปลงปลูก ระยะปลูก 80x80 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ใส่ปุ๋ยคอกหว่านรอบโคนต้นปีละ 2 ครั้ง ครั้งละ 1 กิโลกรัมต่อต้น ใส่ปุ๋ยบ่อยขึ้นในกรณีที่เก็บเกี่ยวผลผลิตบ่อยทำให้ต้นโทรม ใบเป็นสีเหลือง กำจักวัชพืชดูแลรักษาแปลงให้สะอาด

หลังปลูก 1 ปี จึงจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ โดยตัดกิ่งให้หมดทั้งต้น (ตอ) ให้เหลือความยาวครึ่งหนึ่งเพื่อแตกใหม่ในปีต่อไป กิ่งที่ได้นำมาสับเป็นท่อนๆ นำไปตากแดดจนแห้งดีหรืออบแห้งกิ่งและใบสด 3 กิโลกรัม จะตากแห้งได้ 1 กิโลกรัม ผลผลิตจากต้นอายุ 1 ปี จำนวน 4 ต้น (กอ) มีน้ำหนักสด 1 กิโลกรัม

การแปรรูปเหงือกปลาหมอเบื้องต้น

นำส่วนของพืชที่เก็บเกี่ยวแล้วมาล้างน้ำให้สะอาด ตัดหรือหั่นให้มีความยาว ประมาณ 3-5 เซนติเมตร ผึ่งให้สะเด็ดน้ำ แล้วนำมาเกลี่ยบนภาชนะที่สะอาด เช่น กระด้ง หรือถาด คลุม ภาชนะด้วยผ้าขาวบาง เพื่อป้องกันฝุ่นละอองและการปลิวของสมุนไพร ตากจนแห้งสนิท หรือโดยการ อบที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส ใน 8 ชั่วโมงแรก และอบที่อุณหภูมิ40-45 องศาเซลเซียส จนแห้งสนิท เก็บในถุงพลาสติก ปิดปากถุงหรือมัดให้แน่น และเก็บในที่ที่สะอาด ไม่ควรเก็บวัตถุดิบไว้ใช้นาน เกินไป เพราะสมุนไพรอาจจะเสื่อมคุณภาพได้(พิจารณาว่าการดำเนินงานในระดับกลุ่มเกษตรกรควร เป็นการหั่นเป็นชิ้นหรือบดละเอียด เนื่องจากถ้าเป็นแบบบด จะมีเรื่องของ GMP เข้ามาเกี่ยวข้อง)

เอกสารอ้างอิง

บุญณิศา ฆังคมณี ลักษมี สุภัทรา สุนีย์ สันหมุด ศรินณา ชูธรรมธัช และ สุนันท์ ถีราวุฒ. (ม.ป.ป). การทดสอบและพัฒนาการผลิตพืชชุ่มน้ำในพื้นที่จังหวัดสงขลา.กลุ่มวิชาการ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขต ที่ 8 จังหวัดสงขลา: 547-565.

ธาตรี ผดุงเจริญ และ สุชาดา สุขหร่อง. (2556). พืชสมุนไพรจากดอกไม้ม่วง. ภาควชาเภสัชเวทและเภสัช พฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

พิชชานันท์ เธียรทองอินทร์ และจันทร์เพ็ญ ธรรมพร. (2020). ภูมิปัญญาการรักษาโรคเบาหวานของหมอ พื้นบ้านในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ปี ที่ 22 ฉบับที่ 1 (2563) : 1-18.

https://medthai.com

http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_02_7.htm

https://km.dmcr.go.th/th/c_1/s_350/d_6484

http://www.agriman.doae.go.th/home/kpi006/0230hurkpramor.pdf

คำสำคัญ
สมุนไพร
สถานที่ตั้ง
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์
เลขที่ 796 หมู่ที่/หมู่บ้าน 20
จังหวัด สุรินทร์
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
องค์การบริหารส่วนตำบลนอกเมือง จังหวัดสุรินทร์
บุคคลอ้างอิง องค์การบริหารส่วนตำบลนอกเมือง อีเมล์ surin@m-culture.go.th
ชื่อที่ทำงาน admin
จังหวัด สุรินทร์ รหัสไปรษณีย์ 32000
โทรศัพท์ 044511963
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่