ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 52' 7.6699"
14.8687972
ลองจิจูด (แวง) : E 103° 30' 45.2282"
103.5125634
เลขที่ : 195806
ไพล
เสนอโดย สุรินทร์ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565
อนุมัติโดย mculture วันที่ 8 เมษายน 2565
จังหวัด : สุรินทร์
0 398
รายละเอียด

ไพล

ไพล เป็นพืชชตระกูลเดียวกับขิง มีเหง้าเป็นแหล่งสะสมอาหาร และนำไปใช้ประโยชน์ทางยา ควบคู่กับการดำรงชีวิตของคนไทยมาแต่โบราณ ในตำราแพทย์แผนไทยได้จารึกการใช้ไพลรักษาหืด ใช้ทาแก้ฟกช้ำ เคล็ดขัดยอก ข้อเท้าแพลง แก้ผื่นคัน เป็นต้น สามารถนำไปใช้ทั้งเป็นสมุนไพรเดี่ยว และประกอบอยู่ในตำรับยาผสม การศึกษาองค์ความรู้ด้านสรรพคุณของน้ำมันไพลด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ พบว่า น้ำมันไพล มีฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคผิวหนัง มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ไม่ก่อให้เกิดความระคายเคืองต่อผิวหนัง

ตระกูลZingiberaceae

ชื่อสามัญPhlai, Cassumunar ginger, Bengal root

ชื่อวิทยาศาสตร์Zingiber cassumunarRoxb.

ชื่อท้องถิ่นปูลอย ปูเลย(ภาคเหนือ) ปูขมิ้น มิ้นสะล่าง(ไทยใหญ่- แม่ฮ่องสอน) ว่านไฟ (ภาคกลาง) ว่านปอบ(ภาคอีสาน) ปัน เลย (อีสานใต้)

ลักษณะทั่วไป

ต้นไพลลักษณะไพลเป็นไม้ล้มลุกมีความสูงประมาณ 0.7-1.5 เมตร มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เปลือกมีสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อด้านในมีสีเหลืองถึงสีเหลืองแกมเขียว แทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นเป็นกอ โดยจะประกอบไปด้วยกาบหรือโคนใบหุ้มซ้อนกันอยู่ เหง้าไพลสดฉ่ำน้ำ รสฝาด เอียด ร้อนซ่า มีกลิ่นเฉพาะ ส่วนเหง้าไพลแก่สดและแห้งจะมีรสเผ็ดเล็กน้อย ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด แง่ง หรือเหง้า แต่โดยทั่วไปแล้วจะใช้ส่วนของเหง้าเป็นท่อนพันธุ์ในการเพาะปลูก พรรณไม้ชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเอเชียแถบประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ปลูกกันมากในจังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี ปราจีนบุรี และสระแก้ว

ใบไพลลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานแกมรูปหอก ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ กว้างประมาณ 3.5-5.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 18-35 เซนติเมตร

ดอกไพลออกดอกเป็นช่อ แทงจากเหง้าใต้ดิน กลีบดอกมีสีนวล มีใบประดับสีม่วง

ผลไพลลักษณะของผลเป็นผลแห้งรูปกลม

ส่วนที่ใช้เหง้าหรือแง่ง

คุณประโยชน์ของไพล

· ไพลใช้รักษากลุ่มอาการทางกล้ามเนื้อตามกรรมวิธีทางการแพทย์แผนไทย 2 รูปแบบ คือ การนำเหง้ามาฝนหรือคั้นน้ำ มีสรรพคุณในการแก้ปวดเมื่อย แก้ฟกบวม เคล็ดขัดยอก ทาถูนวดแก้เหน็บชา เส้นตึง (Temsiririrkkul, 2007)

· เหง้าไพลเมื่อนำมาทอดด้วยน้ำมันพืช มีสรรพคุณทาแก้แผลช้้า แก้เคล็ดช้้าบวม ปวดชา เมื่อยขบ และขัดยอก(Pitiporn, 2012)

· สาร DMPBD ในไพลมีฤทธิ์ลดอาการปวดและอักเสบของข้อเท้าได้ดีกว่ายาแก้ปวด แก้ อักเสบในกลุ่ม NSAD เช่น Diclofenac, Phenidone เป็นต้น (Jeenapongsaet al, 2003)

· เหง้าไพลมีน้ำมันหอมระเหยประมาณ 0.8 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งประกอบด้วยสารสำคัญที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้นนฮีสตามีน แก้ภูมิแพ้(ศิริภรณ์, ๒๕๖๑)

· แพทย์แผนไทยใช้ไพลประกอบตำรับยาไทยเพื่อรักษาอาการปวดท้อง ลมจุกเสียด ท้องเดินและบิด ฟกช้า บวม เคล็ดขัดยอก (ศิริภรณ์, ๒๕๖๑)

· ไพล เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในลูกประคบ และไพลได้ถูกนำไปใช้ในขั้นตอนต่าง ๆ ของผลิตภัณฑ์สปา เช่น นวดหน้าขัดผิว พอกตัว นวดตัวด้วยน้ำมันไพล และการนวดด้วยลูกประคบ ทำให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์หลากหลายชนิด ที่จำหน่ายในท้องตลาด เช่น น้ำมันนวด ขี้ผึ้ง ครีมนวด ลูกประคบ สบู่ครีมนวดหนา้ครีมขัดผิว เป็นต้น (ศิริภรณ์, ๒๕๖๑)

การขยายพันธุ์ไพลมีหลายรูปแบบดังนี้

การเพาะเมล็ด

การเพาะเมล็ดเช่นเดียวกับเพาะเมล็ดของพืชขนาดกลางทั่วไป นำเมล็ดมาเพาะในกระบะบรรจุทรายผสมถ่านแกลบ อัตราส่วน ๑:๑ โดยให้เมล็ดจมในวัสดุปลูก ประมาณ ๐.๕-๑.๐ เซนติเมตร

การแยกเหง้า

โดยการขุดเหง้าจากกอเดิม ตัดลำตัดทิ้งและนำไปปลูกลงหลุมที่เตรียมไว้ ใช้ฟางแห้งคลุมดินเพื่อช่วยรักษาความชื้น และป้องกันวัชพืช ในหนึ่งฤดูปลูกเหง้า ๑ เหง้า เกิดเป็นลำต้นเทียมซึ่งจะแตกหน่อ ในหนึ่งฤดูปลูกได้ประมาณ ๒-๒๐ หน่อ เมื่อสิ้นฤดูปลูกแล้วแต่ละกอจะมีเหง้าหลายเหง้าเชื่อมติดกัน แต่สามารถหักกลุ่มของเหง้าออกเป็นเหง้าเดี่ยว ๆได้ง่าย

การผ่าเหง้า

วิธีนี้เป็นการนำเหง้าที่ได้จากการแยกเหง้ามาผ่า แบ่งตามยาวเป็น ๒ ส่วนเท่าๆกัน ชิ้นเหง้าที่ได้ควรมีตาที่สมบูรณ์ ไม่น้อยกว่า ๑ ตา และมีรากสะสมอาหารติดมาด้วยอย่างน้อย ๑ ราก

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสามารถทำได้สำเร็จ จากการนำเอาส่วนใดส่วนหนึ่งของพืชไม่ว่าจะเป็นอวัยวะ เนื้อเยื่อ หรือโปรโตพลาสต์ (ส่วนที่ไม่มีผนังเซลล์) โดยใช้ส่วนประกอบของอาหาร สารควบคุมการเจริญเติบโต (Growth regulator) และการปรับสภาพแวดล้อมของการเลี้ยงจนชิ้นส่วนของพืชสามารถเจริญเติบโต และพัฒนาเป็นต้นพืชๆได้

การแปรรูปไพลเบื้องต้นจะมี ๓ รูปแบบคือ

๑) ไพลแห้ง นำเหง้ามาหั่นเป็นชิ้นแล้วตากแดดหรืออบด้วยตู้อบ

๒) ไพลผง นำไพลแห้งมาบดให้ละเอียดโดยการตำหรือเครื่องบดผง แล้วร่อนเอาเฉพาะผง

๓) น้ำมันหอมระเหย นำไพลสดมาสกัดน้ำมัน สามารถทำได้หลายวิธีเช่น การทอด การกลั่นแบบไอน้า เป็นต้น

เอกสารอ้างอิง

ศิริภรณ์ แก้วคูณ. (๒๕๖๑). พฤติกรรมผู้บริโภคผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มีส่วนผสมของไพล. การศึกษาค้นคว้า อิสระ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Pitiporn, S. (2012). The Record of the Earth 5 Herbal Compresses, Hot Baths, Massage. Bangkok, Paramut.

Temsiririrkkul, R. (2007). Knowledge from Research on 10 Thai Herbs. Bangkok, 21 Century.

https://www.disthai.com/16488307/%E0%B9%84%E0%B8%9E%E0%B8%A5

https://medthai.com/%E0%B9%84%E0%B8%9E%E0%B8%A5/

http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=96

https://www.tistr.or.th/tistr/code/tistrorg/news_letter/newsletterjune-08.pdf

คำสำคัญ
สมุนไพร
สถานที่ตั้ง
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์
เลขที่ 796 หมู่ที่/หมู่บ้าน 20
ตำบล นอกเมือง อำเภอ เมืองสุรินทร์ จังหวัด สุรินทร์
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
องค์การบริหารส่วนตำบลนอกเมือง จังหวัดสุรินทร์
บุคคลอ้างอิง องค์การบริหารส่วนตำบลนอกเมือง อีเมล์ surin@m-culture.go.th
ชื่อที่ทำงาน admin
ตำบล นอกเมือง อำเภอ เมืองสุรินทร์ จังหวัด สุรินทร์ รหัสไปรษณีย์ 32000
โทรศัพท์ 044511963
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่