ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : - ลองจิจูด (แวง) : -
เลขที่ : 195813
วัดแหลม (ร้าง) โบราณสถาน
เสนอโดย ชุมพร วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565
อนุมัติโดย ชุมพร วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565
จังหวัด : ชุมพร
0 410
รายละเอียด

วัดแหลม (ร้าง) โบราณสถาน

ที่ตั้งหมู่ที่ 2 บ้านวัดประเดิม ตำบลตากแดด อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร

ประวัติจากคำบอกเล่าของชาวบ้านเชื่อว่าบริเวณวัดประเดิมนั้นเป็นที่ตั้งเมืองชุมพรเก่า และเดิมนั้นมีวัดต่าง ๆ อยู่ในบริเวณนี้ จำนวน 6 วัด ดังนี้
1. วัดประเดิม
2. วัดนอก
3. วัดท่าศาลา
4. วัดแหลม
5. วัดแจ้ง
6. วัดป่า

โดยวัดประเดิมนั้น ยังคงปรากฏอยู่ในปัจจุบัน ส่วนวัดนอก วัดท่าศาลา วัดแจ้ง และวัดป่านั้น ได้กลายเป็นวัดร้างและถูกทำลายจนไม่เหลือร่องรอยแล้ว เว้นแต่วัดแหลม ซึ่งยังคงปรากฏร่องรอยของเนินดิน อันอาจเป็นที่ตั้งของอุโบสถอยู่เพียงแห่งเดียว

สิ่งสำคัญ

เนินดินขนาดกว้างประมาณ 9.40 เมตร ยาวประมาณ 20 เมตร วางตัวในแนวทางทิศตะวันออก – ทิศตะวันตก ทั่วทั้งเนินถูกปกคลุมด้วยวัชพืช บริเวณปลายสุดด้านด้านทิศตะวันตกของเนินปรากฏพูนดินขนาดใหญ่มีความกว้างประมาณ 3.5 เมตร ยาวประมาณ 6.5 เมตร ลักษณะคล้ายกับเคยเป็นฐานชุกชีมาก่อน สันนิษฐานเบื้องต้นว่าเนินดินนี้เดิมน่าจะเป็นที่ตั้งของอุโบสถหรือวิหารสมัยอยุธยาและหันด้านหน้าของอาคารไปทางทิศตะวันออกชิ้นส่วนพระพักตร์พระพุทธรูปส่วนตั้วแต่ใต้พระเนตรไปจนถึงพระหนุ พระโอษฐ์ชำรุด พระกรรณหักหายไป สลักจากหินทรายสีแดง ขนาดกว้าง 34 เซนติเมตร หนา 23 เซนติเมตรพบบริเวณด้านหลังของพูนดิน ปัจจุบันเก็บไว้ที่ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราชพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดประเดิม ตำบลตากแดด อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพรพระชานุขวา?ของพระพุทธรูป สลักจากหินทรายสีแดง ขนาดกว้าง 39 เซนติเมตร สูง 22 เซนติเมตร หนา 38 เซนติเมตร พบบริเวณด้านหลังของพูนดินใต้ชิ้นส่วนพระพักตร์พระพุทธรูป
ตามข้อ 2ชิ้นส่วนพระพุทธรูปยืนปางประทานอภัยตั้งแต่ส่วนปลายพระนาภีลงมาจนถึงข้อพระบาท และยังมีส่วนของพระพาหาซ้ายเหลืออยู่ ชิ้นส่วนพระบาท และยังมีส่วนของพระพาหาซ้ายเหลืออยู่ ชิ้นส่วนพระพุทธรูป องค์นี้นุ่งผ้าแบบหน้านาง มีชายสังฆาฏิปลายเป็นสองแฉกยื่นลงมาจรดพระนาภี และแตกออกเป็นสองชิ้น สลักจากหินทรายสีแดง ขนาดกว้าง 35 เซนติเมตร สูง 65 เซนติเมตร
หนา 22 เซนติเมตร กำหนดอายุในสมัยอยุธยาชิ้นส่วนพระพุทธรูปพระเพลาของพระพุทธรูปปางมารวิชัยประทับนั่งขัดสมาธิราบสลักจาก
หินทราย ขนาดหน้าตักกว้าง 50 เซนติเมตร หนา 30 เซนติเมตร สูง 14 เซนติเมตรชิ้นส่วนพระเศียรของพระพุทธรูปสลักจากหินทรายชิ้นส่วนหินทรายที่ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นส่วนใดของรูปเคารพชิ้นส่วนปูนฉาบ และเศษอิฐ

อายุสมัย: สมัยอยุธยา

ประวัติดำเนินการ

พ.ศ.2548 สำนักงานศิลปากรที่ 14 นครศรีธรรมราชสำรวจ
พ.ศ.2551 กลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน สำนักศิลปากรที่ 14 นครศรีธรรมราช นำเสนอเพื่อประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ปีงบประมาณ 2551
หนังสืออ้างอิง : คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติฯ,วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดชุมพร. กรุงเทพ : คณะกรรมการฯ, 2542.
สำนักงานศิลปากรที่ 14 นครศรีธรรมราช.รายงานการสำรวจแหล่งโบราณคดีวัดแหลม (ร้าง) ม.2 ต.ตากแดด อ.เมือง จ.ชุมพร, เอกสารอัดสำเนา,2548
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดชุมพร,โบราณคดี ประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม เมืองชุมพร, เอกสารเล่มที่ 14/2537 สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดชุมพร, 2537.

ที่มา : เนื้อหา / รูปภาพ

ภาณุวัฒน์ เอื้อสามาลย์.

โบราณสถานในจังหวัดชุมพร. –นครศรีธรรมราช : สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช
กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, 2563. 200 หน้า

หมวดหมู่
โบราณสถาน
สถานที่ตั้ง
บ้านวัดประเดิม
หมู่ที่/หมู่บ้าน 2
ตำบล ตากแดด อำเภอ เมืองชุมพร จังหวัด ชุมพร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง วารี ยอดครุฑ อีเมล์ waree2550@hotmail.com
อำเภอ เมืองชุมพร จังหวัด ชุมพร รหัสไปรษณีย์ 75000
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่