นายยุทธพงษ์ ปรีชาไว
ชื่อคณะหนังตะลุง หนังครูเมฆ ศ.สาคร
วันเดือนปีเกิด วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2533
สถานที่ติดต่อ เลขที่ 1/7 หมู่ที่ 11 ซอย ปรมินมรรคา 12 ถนน ชุมพร-ปากน้ำชุมพร ตำบล/แขวง บางหมาก เขต/อำเภอ เมืองชุมพร จังหวัด ชุมพร รหัสไปรษณีย์ 86000 มือถือ 098032737
E-mailyuttapomg_3811 @ hotmail. Com
Facebookหนังครูเมฆ ศ.สาคร ID Line หนังครูเมฆ ศ.สาคร
ประวัติการศึกษา
จบการศึกษาระดับ ปริญญาตรี สาขาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
กำลังประกอบอาชีพ
ครู สถานที่ประกอบอาชีพ โรงเรียนเมืองชุมพรบ้านเขาถล่ม ม.5 ต.วังไผ่ อ.เมืองชุมพร จ.ชุมพร
ตำแหน่งหน้าที่ปัจจุบัน.
ปัจจุบัน ครูผู้สอน รายวิชา สังคมศึกษา รายวิชาประวัติศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 และวิชาหนังตะลุง มโนราห์ ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น โรงเรียนเมืองชุมพรบ้านเขาถล่ม
คติธรรมประจำใจ
ค่าของคน ดูจากผลของงาน
ความสุขของท่าน คืองานของผม
จะสืบสาน ทางด้านวัฒนธรรมตลอดชีวิตนี้
การแสดงหนังตะลุง
ข้าพเจ้ามีความชื่นชอบหนังตะลุงตั้งแต่เด็กโดยการติดตามชมการแสดงหนังตะลุงที่มาแสดงใกล้บ้าน เช่น งานวัด งานหมู่บ้าน งานประจำปีที่มีหนังตะลุงมาแสดงและซื้อซีดีหนังตะลุงมาชม จนสามารถจำเรื่องที่แสดงได้ เมื่ออายุได้ 17 ปี ได้ไปฝึกหัดหนังตะลุงกับหนังสาคร สมวงค์ (หนังหมึก) บรมครูหนังตะลุงของจังหวัดชุมพรโดยติดตามงานแสดงของท่านประมาณ 2 ปี จนออกทำการแสดงได้ด้วยตนเอง โดยใช้ชื่อหนังศรีเมฆ ศ.สาคร เป็นที่นิยมของชุมชน และจังหวัดชุมพร โดยมีเจ้าภาพติดต่องานแสดงเข้ามาตลอด จนเรียนจบปริญญาตรี แสดงหนังตะลุงไปด้วยเรียนไปด้วย จนถึงปัจจุบันนี้ประกอบอาชีพครู โรงเรียนเมืองชุมพรบ้านเขาถล่ม ได้มีชื่อคณะหนังตะลุงของตน คือ หนังครูเมฆ ศ.สาคร และได้ก่อตั้งศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น(หนังตะลุง มโนราห์)ได้ถ่ายทอด ฝึกหัดการแสดงหนังตะลุงแก่นักเรียน เยาวชน ผู้สนใจจนสามารถออกแสดงตามงานต่างๆได้ เป็นที่ยอมรับของชุมชน หน่วยงานราชการต่างๆ ได้ติดต่องานแสดงเข้ามาจำนวนมาก
ผลงานดีเด่นที่ได้รับการยอมรับและเป็นประโยชน์ต่อสังคม
2559 รางวัลผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น ระดับจังหวัดชุมพร
2561 รางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม สาขา ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
2562 ครูผู้สอนนักเรียนได้รับรางวัลเหรียญทอง กิจกรรม การประกวดเล่านิทานคุณธรรม งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับชาติ ครั้งที่ 69
2563 ครูผู้สอนนักเรียนได้รับรางวัล วัฒนธรรมวินิต ระดับประเทศ
2563 รางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรม ระดับประเทศ
2564 ครูผู้สอนนักเรียนได้รับรางวัล วัฒนธรรมวินิต ระดับจังหวัดชุมพร
2564 ได้รับรางวัล ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเด็กและเยาวชน สาขาศิลปวัฒนธรรม ระดับประเทศ
2564ครูผู้สอนนักเรียน รางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรม ระดับประเทศ
การถ่ายทอด ฝึกหัดหนังตะลุง
ข้าพเจ้าใช้ความรู้ความสามารถในการแสดงหนังตะลุงให้เกิดประโยชน์ด้วยการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น โรงเรียนเมืองชุมพรบ้านเขาถล่ม ได้รับการคัดเลือกให้เป็น แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของชุมชน สังกัดกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๙ เปิดสอนวิชาหนังตะลุง ในกิจกรรมชุมนุม และกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ รับนักเรียนที่มีความสนใจ มีนักเรียนที่สนใจปีละไม่ต่ำกว่า ๕๐ คน นอกจากนั้นยังมีการสร้างเครือข่ายร่วมกับสถาบันการศึกษาและคณะหนังตะลุงอื่นๆ เปิดโอกาสรับประชาชนผู้สนใจ เข้ารับการเรียนรู้ โดยใช้เวลาในการเรียน การฝึกซ้อม ทั้งในและนอกเวลาราชการ รวมทั้งวันหยุด โดยไม่เก็บเงินค่าเรียนใดๆทั้งสิ้น จนผู้เรียนพัฒนาตนเอง สามารถออกแสดงในงานตามโอกาสต่างๆ ได้ ภายใต้ชื่อคณะ “หนังตะลุงโรงเรียนเมืองชุมพรบ้านเขาถล่ม จังหวัดชุมพร” ซึ่งรักษารูปแบบการแสดงหนังตะลุง ทั้งการเชิด บทกลอน การพากย์ และเจรจา เพื่อเป็นการอนุรักษ์และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านให้มีความยั่งยืน ออกบริการด้วยจิตอาสา ไม่กำหนดราคาค่าแสดง ทำให้มีผู้ที่สนใจขอความอนุเคราะห์ชุดการแสดงมากมาย ทั้งงานวัด ชุมชน ภาคเอกชน หน่วยงานราชการ รวมทั้งหน่วยงานในกระทรวงวัฒนธรรม ได้สนับสนุนร่วมกันจัดกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ดังนี้
๑. โครงการการจัดงานมหกรรมวัฒนธรรมรัตนโกสินทร์ ใต้ร่มพระบารมี ๒๓๔ ปี กรุงรัตนโกสินทร์ ณ กรุงเทพมหานคร
๒. กิจกรรมการแสดงหนังตะลุง ถวายเป็นพระราชกุศลพิธีบำเพ็ญกุศลสตมวาร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิ พลอดุลยเดช ปี ๒๕๖๐
๓. โครงการเยาวชนคนใจรักษ์วัฒนธรรม เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๑ ๔. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของพลังเครือข่ายวัฒนธรรมจังหวัดชุมพร ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๑
๕. โครงการอบรมและถ่ายทอดศิลปะการแสดงพื้นบ้าน (หนังตะลุง มโนราห์) ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๑-๒๕๖๓ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดชุมพรร่วมกับศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น โรงเรียนเมืองชุมพรบ้านเขาถล่ม เป็นต้น
วิธีการแห่งความสำเร็จมีดังต่อไปนี้
๑. ปัจจัยภายในของหนังครูเมฆ
- ความรักและความภูมิใจในศิลปะพื้นบ้าน
- มุ่งมั่นตั้งใจ
- ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
- เข้าใจธรรมชาติของเยาวชน
- มนุษย์สัมพันธ์ดี มีจิตสาธารณะ
๒. ปัจจัยภายนอกของเยาวชน
- มีใจรัก
- การสนับสนุนการแสดงหนังตะลุง มโนราห์
การทำคุณประโยชน์ หรือการเสียสละต่อสังคม
ข้าพเจ้ามีความมุ่งมั่นตั้งใจจริง ถ่ายทอด ฝึกหัดศิลปะการแสดงพื้นบ้าน(หนังตะลุง มโนราห์) แก่เด็กและเยาวชนผู้สนใจในด้านศิลปวัฒนธรรมภาคใต้ โดยใช้เวลาหลังเลิกเรียน ช่วงวันหยุดในการฝึกหัดถ่ายทอด จนเด็กและเยาวชนสามารถออกแสดงศิลปะพื้นบ้าน(หนังตะลุง มโนราห์)ได้ออกบริการงานในชุมชน ซึ่งการแสดงรักษารูปแบบการแสดงหนังตะลุง ทั้งการเชิด บทกลอน การพากย์ และเจรจา เพื่อเป็นการอนุรักษ์และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านให้มีความยั่งยืน ออกบริการด้วยจิตอาสา ไม่กำหนดราคาค่าแสดง ทำให้มีผู้ที่สนใจขอความอนุเคราะห์ชุดการแสดงมากมาย ทั้งงานวัด ชุมชน ภาคเอกชน หน่วยงานราชการ ซึ่งทำการสืบสานศิลปะการแสดงพื้นบ้านด้วยใจรัก เพื่อความบันเทิงของชุมชน และร่วมอนุรักษ์ ส่งเสริม ศิลปวัฒนธรรมของชาติต่อไป