ชื่อสถานที่ วัดพนมวัน
สถานที่ตั้ง เลขที่ 199 หมู่ที่ 3 ตำบลดีลัง อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี
จดทะเบียน (ปี พ.ศ.) ในกรณีที่เป็นสถานที่ เช่น วัด มัสยิด โบสถ์ หรือสถานที่ประกอบพิธีต่างศาสนา เป็นต้น เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2330 และไดรับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2360
ประวัติความเป็นมา
วัดพนมวันเดิม ตั้งอยู่เชิงเขามีป่าไม้ทั่วไป และบ้านเรือนของประชาชน ห่างออกไปเป็นทุ่งนาแนวป่าไม้นานาพันธุ์ บริเวณที่ตั้งวัดมีอิฐกระเบื้อง เครื่องปั้นดินเผา ซึ่งปรักหักพังอยู่เป็นจำนวนมาก มีเศษโลหะ แร่ เหล็ก พร้อมรูปปั้นแกะสลักเนื้อหิน ศิลาแรงเป็นหลักฐานตลอดจนใบเสมาเก่า เนื้อศิลาแลงแกะสลัก เป็นรูปพระนารายณ์แผลงศร พร้อมเครื่องศิวลึงของศาสนาพราหมณ์เป็นหลักฐานของความเป็นวัดโบราณมาก่อน อย่างน้อยคงสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายหรือรัตนโกสินทร์ตอนต้น ก็เป็นได้
จากหนังสือรายงานวิจัยทางด้านพันธวิทยา เรื่องจากสังคมชาวนาสู่สังคมอุตสาหกรรม การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชุมชนไทเบิ้งบ้านดีลัง ในอดีตได้มีการศึกษาถึงเนินดินสร้างโบสถ์และชุมชนแห่งนี้มาแล้ว ทำให้เราทราบว่าที่ตั้งของวัด ได้เคยเป็นเส้นทางที่พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ยกทัพผ่านชุมชนนี้และห่างจากวัดไปทางทิศเหนือติดกับวิทยาลัยเทคนิคลพบุรีแห่งที่ 2 ซึ่งเป็นที่ของหนองช้างนอนและเป็นที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จคล้องช้างป่าบริเวณหนองช้างนอนทรงประทับบริเวณทรงประทับบริเวณ วัดราชบรรทม (ที่มา: ดร. พรชัย สุดจิตต์) วัดพนมวันเคยเป็นวัดร้างมาแล้วหลายครั้งและเคยมีเจ้าอาวาสวัดมาแล้ว 19 รูป ต่อมาได้มีพระประเสริฐชุตินธโร (คำวีวงษ์) หรือ พระครูโชติวราธร จากจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้มาเป็นเจ้าอาวาส เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2530 จนถึงปัจจุบันมีการบูรณวัดมาอย่างต่อเนื่องจนได้รับเป็นวัดอุทยานเพื่อการศึกษา เมื่อ วันที่ 12 สิงหาคม 2540 ได้เป็นวัดส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมดีเด่นของกรมอนามัยและสำนักงานพระพุทธศาสนา เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2550 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานรางวัลแก่ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาลานอเนกประสงค์กรมทหาราบที่ 11 รักษาพระองค์ วันอังคารที่ 13 พฤษภาคม 2551 แด่พระครูโชติวราธร ชุตินธโร (ประเสริฐ คำวีวงษ์) เจ้าอาวาสวัดพนมวัน ได้รับพระราชทานรางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ และได้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2556 จากพุทธสถาน กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการปัจจุบันมีที่ดินรวม 73 ไร่เศษ
ตำนานที่เกี่ยวข้อง/ความเชื่อ (ถ้ามี) ในอดีต.เป็นที่หลอมแร่เหล็กต่อมาชาวบ้าน บ้านดงปะซิว เกิดโรคระบาด (โรคห่า) ได้อพยพออกจากหมู่บ้านและมาตั้งหมู่บ้านรอบๆ บริเวณเนินดินที่เป็นที่หลอมแร่เหล็ก และได้ตั้งวัดอยู่บนเนินดินปัจจุบัน
ลักษณะ/เอกลักษณ์โดดเด่นของสถานที่ เนินเขาแร่เหล็ก อุทยานประวัติศาสตร์ พนมวัน ดินแดนชุมชนลาวไทยเบิ้ง และมีศิลปวัตถุ ที่สำคัญ จัดเป็นพิพิธภัณฑ์ภายในวัด
ความหมาย -
ความสำคัญ เป็นวัดที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานเป็นสถานที่มีการศึกษาทางประวัติศาสตร์ และเคยเป็นเส้นทางที่พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ยกทัพผ่านชุมชนนี้และห่างจากวัดไปทางทิศเหนือติดกับวิทยาลัยเทคนิคลพบุรีแห่งที่ 2 ซึ่งเป็นที่ของหนองช้างนอนและเป็นที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จคล้องช้างป่า
กลุ่มคนที่ใช้ ประชาชนทั่วไป พุทธศาสนิกชน ในตำบลพัฒนานิคม และพื้นที่ใกล้เคียง
จำนวนผู้ที่อาศัย มีพระภิกษุจำนวน 2 รูป
ชื่อผู้ดูแล (เจ้าอาวาส โต๊ะอีหม่าม บาทหลวง) พระอาจารย์สำเนียง บุตรโชติ รักษาการเจ้าอาวาสวัดพนมวัน
อื่น ๆ วัดพนมวัน เป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนชาวไทยเบิ้ง ที่ใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีการสืบสานวัฒนธรรม ประเพณีที่ดีงาม สืบทอดต่อๆ กันมา ผู้เฒ่าแต่งกายชุดท้องถิ่นมาทำบุญที่วัดเป็นประจำ