วัดศรีนวรัฐ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๑๔๕ เดิมชื่อวัดหลวงทุ่งเสี้ยว ชาวบ้านเรียกว่าวัดทุ่งเสี้ยว โดยมีชาวไทยเขินเป็นผู้สร้างวัด ได้รับพระราชทาน วิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๙ ในชื่อวัดศรีเนาวรัฐ เขตวิสุงคามสีมากว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๑๘ เมตรจากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ ไม่พบหลักฐานวันเวลาในการก่อสร้างที่แน่นอน ทราบแต่เพียงว่าสร้างขึ้นก่อนสมัยเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ในอดีต เดิมชื่อของวัดมิได้ชื่อ "วัดศรีนวรัฐ" แต่ต่อมาเจ้าแก้วนวรัฐ ทำการบรูณะ ปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ให้เจริญรุ่งเรือง ท่านจึงให้นามเสียใหม่ว่า "วัดศรีนวรัฐ" ตั้งแต่บัดนั้นมา ในพงศ-วดารล้านนา กล่าวว่าอาณาจักรล้านนาตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า ถูกปกครองโดยมังซานรทามังคุย สมบัติของวัดเดิมสมัยอยุธยาที่ตกทอดมาถึงปัจจุบันคือ พระเจ้าสักคงตัน "พระเจ้าอกล้ง" สร้างด้วยไม้สักขนาดหน้าตักกว้าง ๓๒ นิ้ว สูง ๕๖ นิ้ว สร้างได้ดีสวยงามมาก ผ้าผาด "สายสะพาย" ทำเป็นลวดลายประดับมุข เป็นพระปางมารวิชัย ถูกทอดทิ้งอยู่บริเวณวัดเดิมตั้งแต่สมัยศึกพม่า ท่านเจ้าแก้วนวรัฐเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้ายได้อาราธนาอัญเชิญจากที่เดิมมาบูรณะซ่อมแซมตกแต่งใหม่ให้งดงาม ปัจจุบันพระพุทธรูปเจ้าพระเจ้าอกล้งประดิษฐานอยู่ ภายในศาลาการเปรียญวัดศรีนวรัฐ (ทุ่งเสี้ยว) เป็นที่เคารพสักการะของบรรดาศรัทธานักศิลนักบุญ ถือเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของบ้านทุ่งเสี้ยว ทุกวันขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๙ เหนือ ของทุก ๆ ปี จัดให้มีงานสรงน้ำพระเจ้าอกล้ง มีพระครูถาวรนพรัฐ เจ้าอาวาส ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ซึ่งชุมชนศรีนวรัฐเป็นชุมชนที่สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ดำเนินการขับเคลื่อนชุมชนท่องเที่ยวชุมชนยลวิถี มีการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่องอีกด้วย