ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 21' 45.941"
14.3627614
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 40' 17.5314"
100.6715365
เลขที่ : 196163
ประเพณีกวนข้าวทิพย์
เสนอโดย พระนครศรีอยุธยา วันที่ 8 มีนาคม 2565
อนุมัติโดย พระนครศรีอยุธยา วันที่ 8 มีนาคม 2565
จังหวัด : พระนครศรีอยุธยา
0 1037
รายละเอียด

ประวัติ ตำนาน ความเป็นมา

ประเพณีกวนข้าวทิพย์เป็นพิธีกรรมของศาสนาพราหมณ์ที่สอดแทรกเข้ามาในพิธีกรรมของศาสนาพุทธ มีหลักฐานว่ามีการกวนข้าวทิพย์มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา สืบเนื่องมาจนสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เป็นพระราชพิธีที่กระทำกันในเดือน ๑๐ ซึ่งได้รับการฟื้นฟูครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ ๑ แล้วเลิกไปในสมัยรัชกาลที่ ๒ และรัชกาลที่ ๓ ต่อมาได้รับการฟื้นฟูอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ ๔ แม้ปัจจุบันในราชสำนักจะยกเลิกพระราชพิธีนี้ไปแล้ว แต่ในหมู่ประชาชนยัคงมีการกวนข้าวทิพย์อยู่ ปัจจุบันนิยมทำกันในทุกภาคของประเทศไทย โดยภาคกลางนิยมจัดทำในช่วงวันวิสาขบูชา

สาระสำคัญ วัตถุประสงค์

ประเพณีกวนข้าวทิพย์ มีความเชื่อมาจากพุทธศาสนา ในครั้งพุทธกาลที่นางสุชาดาปรุงข้าวมธุปายาส ถวายพระพุทธองค์ ก่อนจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยเหตุนี้จึงถือกันว่าข้าวมธุปายาสเป็นของทิพย์ ของวิเศษ เมื่อทำขึ้นจึงเรียกว่าข้าวทิพย์ ชาวบ้านจะพร้อมใจกันทำ เพื่อถวายพระสงฆ์ และหากผู้ใดได้มีส่วนร่วมกวนข้าวทิพย์และได้รับประทานถือเป็นสิริมงคลและปราศจากโรคภัย

ประเพณีกวนข้าวทิพย์เป็นประเพณีที่อาศัยความศรัทธา ความสามัคคี และความเสียสละของคนในชุมชน จังหวัดพระนครศรีอยุธยายังคงสืบสานรักษาประเพณีกวนช้าวทิพย์ไว้ ยกตัวอย่างในพื้นที่อำเภออุทัย มีหลายวัดที่จัดประเพณีกวนข้าวทิพย์ เช่น วัดกะสังข์ วัดคานหาม วัดสนามทอง วัดพรานนก เป็นต้น โดยชาวบ้านจะมาร่วมทำบุญและกวนข้าวทิพย์เป็นประจำในช่วงวันวิสาขบูชา ประเพณีกวนข้าวทิพย์ได้รับการขึ้นบัญชีเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ พ.ศ. ๒๕๕๖

กลุ่มคนที่เชื่อ

พุทธศาสนิกชนทั่วไป

โอกาส ฤดูกาล เวลา สถานที่

วันขึ้น ๑๓-๑๔ ค่ำ เดือน ๖

รูปแบบความเชื่อ ลักษณะการแสดงออกรูปแบบและกระบวนการของพิธีกรรม

ประเพณีกวนข้าวทิพย์ มีขั้นตอ; นที่หลากหลาย ซับซ้อน ต้องมีการตระเตรียมข้าวของต่างๆ จำนวนมาก การกวนข้าวทิพย์โดยปกติกวนในวัด วัดที่จะกวนต้องเตรียมการหลายอย่าง ดังนี้

๑. สถานที่ บริเวณที่จะกวนข้าวทิพย์อาจจะทำเป็นปะรำพิธี โดยโยงด้ายสายสิญจน์
จากพระประธานมายังปะรำพิธี ซึ่งวงด้ายสายสิญจน์เป็นสี่เหลี่ยม มุมทั้งสี่ตั้งฉัตร ๗ ชั้น ขันหมากเบ็งเป็นเครื่องสักการบูชา

๒. อุปกรณ์การกวนข้าวทิพย์ ได้แก่ เตา ฟืน กระทะใบบัว ไม้พาย

๓. เด็กหญิงพรหมจารีที่ยังไม่เป็นประจำเดือนนุ่งขาว ห่มขาว กระทะละ ๓ คน แล้วแต่จะกวนกี่กระทะ

๔. วัตถุดิบที่นิยมนำมาใช้ในการกวน ได้แก่ นม น้ำผึ้ง น้ำอ้อย น้ำตาล ข้าวตอก ข้าวเม่า ธัญพืชต่างๆ ที่คั่วสุก ถั่ว งา ข้าวลูกเดือย เผือก มัน เมล็ดบัว มะพร้าวแก่ มะพร้่าวอ่อน ผลไม้สด ผลไม้แห้ง เช่น มะม่วง กล้วย ทุเรียน ละมุด ลำไย ส้ม ขนุน เป็นต้น ทั้งนี้แล้วแต่ความเหมาะสมเท่าที่จะหาได้หรือปรับปรุงให้มีรสชาติหอมหวาน อร่อยตามความต้องการในแต่ละท้องถิ่น

ขั้นตอนการดำเนินการกวนข้าวทิพย์

พิธีกวนข้าวทิพย์ มีรายละเอียดขั้นตอนดังนี้

๑. นําเครื่องปรุงที่เตรียมไว้ทุกอย่างเทใส่กระทะใบบัว คนให้เข้ากัน ไม่มีสูตรในการกําหนดอัตราส่วนของเครื่องที่แน่นอน จํานวนข้าวทิพย์จะมากน้อยขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่มี ดังนั้น รสชาติในแต่ละปีจะไม่เหมือนกัน

๒. ก่อนเริ่มกวนข้าวทิพย์พระสงฆ์จะประกอบพิธีกรรมทางศาสนา โดยพระสงฆ์จะเป็นผู้ทําพิธีบูชาพระรัตนตรัย จากนั้นสวดเจริญพระพุทธมนต์ธัมมจักรกัปปวัตนสูตร

๓. สาวพรหมจรรย์นุ่งขาวห่มขาว เริ่มกวนข้าวทิพย์ เมื่อพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนตร์จบ
ก็จะเปลี่ยนให้ประชาชนที่มาร่วมกิจกรรมเป็นผู้กวนต่อไปจนกว่าจะเสร็จ เมื่อเสร็จแล้ว จะนำข้าวทิพย์ถวายแด่พระสงฆ์ ส่วนที่เหลือแบ่งปันให้กับประชาชนที่ไปร่วมบุญในวันนั้น ถือเป็นการให้ทาน

รูปเคารพ สิ่งที่นับถือในความเชื่อและการประกอบพิธีกรรม

-

วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องบูชา เครื่องสังเวยในพิธีกรรม

-

ตำรา มนต์ ยันต์ อุปเท่ห์

-

สำนัก เจ้าสำนัก เจ้าพิธี สาวก สานุศิษย์

-

การเรียนรู้ การฝึกหัด การถ่ายทอด การสืบทอด

แม้ประเพณีกวนข้าวทิพย์จะเป็นประเพณีที่ยังมีการปฏิบัติสืบทอดกันมา แต่ปัจจุบันมีให้เห็นไม่มากนัก เนื่องจากประเพณีกวนข้าวทิพย์มีพิธีกรรมหลายขั้นตอน เป็นงานใหญ่ที่ใช้ต้นทุนสูง ประกอบกับสภาวะเศรษฐกิจฝืดเคือง และดินฟ้าอากาศแปรปรวน พืชผลไม่งอกงามเหมือนในอดีต ประเพณีกวนข้าวทิพย์จึงเสื่อมลงตามกาลเวลา โดยพื้นที่ที่ยังรักษาประเพณีกวนข้าวทิพย์ ส่วนใหญ่จะเป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็ง มุ่งรักษาประเพณีโบราณ และมีความเชื่ออันสูงสุดร่วมกันว่าถ้าผู้ใดได้เข้าร่วมพิธีกรรมจะได้รับอานิสงส์สูง และผู้ที่ได้รับประทานข้าวทิพย์จะประสบแต่ความสุข ความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต

สถานที่ตั้ง
-
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน - ซอย - ถนน -
ตำบล อุทัย อำเภอ อุทัย จังหวัด พระนครศรีอยุธยา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
-
บุคคลอ้างอิง สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด พระนครศรีอยุธยา อีเมล์ ayutthayaculture@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน ศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อีเมล์ ayutthayaculture@gmail.com
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน - ซอย - ถนน สายเอเชีย
ตำบล คลองสวนพลู อำเภอ พระนครศรีอยุธยา จังหวัด พระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ 13000
โทรศัพท์ 035336882-3 โทรสาร -
เว็บไซต์ www.ayutthayaculture.go.th
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่