กลุ่มชนชาวกูย เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งในประเทศไทย ซึ่งอาศัยหนาแน่นในพื้นที่ภาคอีสานตอนล่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ อุบลราชธานี และสระแก้ว บางส่วนคำเรียกขานว่า กูย กุย หรือกวย เป็นการออกเสียงที่แตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่นและยังจำแนกชื่อเรียกตามวิถีชีวิต อาทิ กูยซแร หมายถึง ชาวกูยที่ประกอบอาชีพทำนา กูยแฎก หมายถึง กลุ่มชาวกุยที่ประกอบอาชีพ
ตีมีด และกูยอะจีงหรือกูยอาเจียง คือ ชาวกุยที่ประกอบอาชีพเลี้ยงช้าง
ชาวกูยอะจีง ชาวกวยอาเจียงหรือกวยเลี้ยงช้าง ในพื้นที่บ้านตากลาง บ้านศาลา บ้านหนองบัว ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ เป็นกลุ่มชาติพันธ์ที่ยังมีการเลี้ยงช้างยังยึดมั่นถือมั่นในวัฒนธรรมจารีตประเพณี วิถีชีวิตคนกับช้างแบบดั้งเดิมเอาไว้อย่างมั่นคงและเหนียวแน่น และถือว่าช้างคือส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของชาวไทย -กวยอาเจียง ปัจจุบันการเลี้ยงช้างจะประสบปัญหาอุปสรรครอบด้านนานัปการก็ตาม
แต่ชาวไทย -กวยผู้เลี้ยงช้างส่วนใหญ่ก็ยังรักและผูกพันอยู่กับช้างไม่ยอมทิ้งห่างแต่อย่างใด พยายามรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมตำนานคนกับช้าง (กวยอาเจียง) ไว้ให้ลูกหลานได้สานต่อเจตนารมณ์ของบรรพชนต้นตระกูลของตนให้คนทั้งโลกได้ชื่นชมและเป็นสมบัติอันล้ำค่าของชาติบ้านเมืองมาถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะมีวิถีชีวิตความผูกพันเคียงคู่ช้าง ความผูกพันระหว่างคนกับช้างที่มีมาอย่างช้านาน ตั้งแต่เกิดจนตาย ชาวกวยเลี้ยงช้างจะมีศาลปะกำอันศักดิ์สิทธิ์ เทวาลัยที่สิงสถิตของวิญญาณบรรพบุรุษและผีปะกำ ตามความเชื่อของชาวกวย เป็นที่เก็บรักษาหนังปะกำและอุปกรณ์ในการคล้องช้างเป็นสถานที่ขอพรและเสี่ยงทายของชาวกวยก่อนทำกิจกรรมนั้น ๆ เช่นทุกปีตามขนมธรรมเนียมประเพณีของคนเลี้ยงช้าง จะมีพิธีไหว้ศาลพระครูปะกำ รวมไปถึงพิธีเซ่นสรวงเชือกปะกำ เป็นการอัญเชิญดวงวิญญาณ ผีบรรพบุรุษที่เคยเป็นครูบา หมอช้าง ฯให้มาสิงสถิตอยู่ในเชือกปะกำเส้นนี้ ซึ่งเชือกปะกำ เป็นสิ่งสำคัญมาก เป็นอุปกรณ์มงคลชั้นสูงที่ใช้ในการคล้องช้างป่า จึงต้องมีการเก็บรักษาไว้อย่างดีที่ศาลปะกำ
ปัจจุบัน ไม่มีการคล้องช้างแล้ว แต่ชาวกวยเลี้ยงช้างหรือกวยอาเจียง ยังคงสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมในการทำพิธีไหว้ศาลปะกำอยู่ และมีความเชื่อว่าการกระทำทุกสิ่งทุกอย่างของตนไม่ว่าจะไปที่ไหนและเมื่อใดจะอยู่ในสายตาของผีปะกำตลอดเวลา ดังนั้นการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ มีธรรมเนียมปฏิบัติว่าจะต้องเซ่นไหว้ศาลปะกำก่อนทุกครั้ง เพื่อความเป็นสิริมงคล เป็นที่พึ่งทางจิตใจ เป็นศูนย์รวมใจของชาวกวยเลี้ยง มีความรู้และความชำนาญในการจับและการเลี้ยงช้าง ซึ่งเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ได้ถ่ายทอดและสืบทอดมาแต่โบราณกาล องค์ความรู้ดังกล่าวประกอบด้วย
๑. ความรู้ด้านการจับช้างป่าด้วยวิธีการโพนช้าง คือ การจับช้างป่าด้วยการใช้ช้างต่อ
๒. ความรู้ด้านพิธีกรรมเกี่ยวกับช้างและคนเลี้ยงช้าง พิธีกรรมเช่นไหว้ผีปะกำ พิธีกรรม
ปัดรังควาน เป็นต้น ความรู้ทั้งสองด้านเป็นความรู้ที่โดดเด่นที่สุดของชาวกูยอะจีง เนื่องจากเป็นปรากฎการณ์
ที่สะท้อนความยึดโยงระหว่างโลกมนุษย์และโลกแห่งความศักดิ์สิทธิ์และจิตวิญญาณ
3. ความรู้ด้านการฝึกบังคับช้าง ทั้งในยามปกติและยามที่ช้างตกมัน
4. ความรู้ด้านการรักษาโรคของช้างด้วยสมุนไพรและมนต์คาถา
๕. ความรู้ด้านการทำเชือกปะกำคล้องช้าง
๖. ความรู้ด้านการสังเกตลักษณะดีร้ายของช้าง
ความรู้ด้านคชศาสตร์ของชาวกูยเป็นความรู้ที่อยู่กับหมอช้างในลักษณะของความทรงจำและประสบการณ์ การถ่ายทอดความรู้กระทำได้ 2 ทาง คือ ทางวาจาและการปฏิบัติจริง แต่มีข้อห้ามอันเป็นจารีต
ว่าห้ามบิดาถ่ายทอดความรู้ให้กับบุตรชายโดยตรง เนื่องจากเชื่อว่าจะทำให้เกิดเภทภัยต่อผู้ที่ฝ่าฝืน อนึ่ง การที่
ชาวกูยไม่มีตัวอักษรเป็นของตน จึงไม่มีการบันทึกองค์ความรู้ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร นับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๓เป็นต้นมา ชาวกูยในจังหวัดสุรินทร์ไม่ได้ออกไปจับช้างป่าอีกต่อไป เนื่องจากเหตุผลทางการเมืองระหว่างประเทศ เมื่อไม่มีการจับช้างป่าก็ไม่สามารถแต่งตั้งหรือเลื่อนตำแหน่งหมอช้างได้ เพราะตำแหน่งหมอช้างขึ้นอยู่กับความรอบรู้ในการจับช้างป่าและการประกอบพิธีกรรมต่าง 1 รวมทั้งจำนวนช้างป่าที่จับได้
ปัจจุบันเหลือหมอช้างที่ยังมีชีวิตอยู่และที่ยังคล่องแคล่วมีความจำดีเหลืออยู่เพียงไม่กี่คนเท่านั้น
ผู้ให้ข้อมูล
พระครูสมุห์หาญ ปัญญาธโร เจ้าอาวาสวัดป่าอาเจียง ผู้ให้ข้อมูลการสร้างศาลพระครูปะกำช้างและความเป็นมาของพิธีเซ่นไหว้ศาลปะกำของขาวกวยเลี้ยงช้างหรือกวยอาเจียง
สถานะการขึ้นทะเบียน
คชศาสตร์ชาวกูย ได้รับการขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๕