วัดคูหาสวรรค์ เป็นพระอารามหลวงของจังหวัดพัทลุง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเชิงเขาหัวแตก ตำบลคูหาสวรรค์ในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง
ชาวบ้านเรียกว่า “วัดคูหาสูง”หรือ“วัดสูง”ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างเมื่อใด แต่สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาราว ๆ พุทธศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๕ ตามตำนานนางเลือดขาวระบุไว้ว่า เมื่อตาสามโมกับยายเพชรถึงแก่กรรมแล้วพระกุมารกับนางเลือดขาว ได้นำอัฐิของท่านทั้งสองไปเก็บไว้ในถ้ำคูหาสวรรค์ วัดคูหาสวรรค์เป็นวัดที่พระมหากษัตริย์และเชื้อพระวงศ์ของไทยเสด็จอยู่เสมอมา ดังปรากฏพระปรมาภิไธยที่สลักไว้ที่เพิงหน้าถ้ำของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ (จปร.) จารึกในปี ร.ศ. ๑๐๘ หรือ พ.ศ. ๒๔๓๒ พระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ (ปปร.) จารึกเมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๑ พระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ (ภปร.) และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ ๙ (สก.) จารึกเมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๒ นอกจากนี้บนผนังถ้ำยังมีจารึกพระนามาภิไธยของสมเด็จพระอริยวงษาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และพระนามาภิไธยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ภายในวัดมีถ้ำที่สำคัญ
คือถ้ำคูหาสวรรค์ หรือถ้ำน้ำเงินหรือถ้ำพระ ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันตกห่างพระอุโบสถประมาณ ๓๐ เมตร เดิมชาวบ้านเรียกว่า “ถ้ำน้ำเงิน” ภายในถ้ำยังขุดพบกรุพระขนาดใหญ่ มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๕ ทั้งยังมีพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่ ๑ องค์ มีความยาว ๑๒ เมตร หน้าตักกว้าง ๓.๗๐ เมตร
สูงประมาณ ๖ เมตร สันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ตลอดถึงมีพระพุทธรูปปูนปั้นเรียงแถวเป็นระเบียบทางด้านทิศเหนือ ทิศใต้และทิศตะวันตกรวมได้ ๓๗ องค์
วัดคูหาสวรรค์ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาคูหาสวรรค์อยู่ในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง ห่างจากสถานีรถไฟพัทลุงประมาณ ๔๐๐ เมตร สันนิษฐานว่าสร้างตั้งแต่สมัยต้นกรุงศรีอยุธยา ปัจจุบันเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) เสด็จมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๓ ครั้งเสด็จประพาสแหลมมลายู พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๗) เสด็จมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๑ ครั้งเสด็จเสด็จประพาสเลียบมณฑลภูเก็ต เริ่มจากเสด็จโดยกระบวนรถไฟพิเศษจากสถานีจิตรลดา ๒๔ มกราคม ๒๔๗๑ ถึงสถานีรถไฟพัทลุงในวันรุ่งขึ้น พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกรจังหวัดพัทลุงครั้งแรก ที่บริเวณหน้าศาลากลางและเสด็จเสด็จฯ ไปนมัสการพระพุทธรูปที่ถ้ำคูหาสวรรค์ วัดคูหาสวรรค์ วันที่ ๑๗ มีนาคม
พ.ศ. ๒๕๐๒ ในการเสด็จครั้งนั้นมีประชาชนมาเฝ้าชมพระบารมีประมาณ ๓๕,๐๐๐ คน
โบราณสถาน/โบราณวัตถุ/จุดเด่น
๑.ถ้ำคูหาสวรรค์
ถ้ำคูหาสวรรค์เดิมชาวบ้านเรียกว่า “ถ้ำน้ำเงิน” หรือ “ถ้ำพระ” ส่วนชื่อคูหาสวรรค์ เชื่อว่าน่าจะมีการเรียกมาอย่างน้อยตั้งแต่สมัยอยุธยาหรือรัชกาลสมเด็จพระเอกาทศรถ ถ้ำมีความกว้าง ๑๘ เมตร ยาว ๒๘ เมตร ลักษณะของถ้ำสูงเป็นเวิ้งรูปกรวยตอนบนมีหินงอกคล้ายรูปช้าง ชาวบ้านเรียกว่า “ช้างผุด” หรือ “หินลับแล” ด้านทิศตะวันออกของถ้ำมีหินเป็นสันกั้นอยู่ประมาณ ๑๐ เมตร หินก้อนนี้ชะลูดสูงขึ้นไปไม่ติดกับตัวถ้ำ ทำให้แสงสว่างลอดถึงพื้นภายในถ้ำได้ พื้นถ้ำปูด้วยอิฐถือปูนมีเจดีย์เล็ก ๆ ๑ องค์ มีพระพุทธรูปปูนปั้นและปั้นด้วยดินเหนียวเรียงแถวเป็นระเบียบทางด้านทิศเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันตก รวม ๓๗ องค์ ซึ่งมีขนาดต่าง ๆ กัน พระพุทธรูปปั้นและปั้นด้วยดินเหนียวที่เรียงแถวเป็นระเบียบทางด้านทิศเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันตก มี ขนาดหน้าตักกว้าง ๐.๕๐ เมตร ถึง ๑.๕๐ เมตร ที่เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ปางมารวิชัย ๑๔ องค์ ขนาดหน้าตักกว้าง ๓.๓๖ เมตร สูงตลอดรัศมี ๖ เมตรด้านซ้ายมือของผนังถ้ำมีพระพุทธรูปปางไสยาสน์ ๑ องค์ ก่อด้วยอิฐถือปูนและดินเหนียว ขนาดยาว ๑๒ เมตร สูง ๒ เมตร พระพุทธรูปเหล่านี้ตามประวัติว่าพระราชมุนี (สมเด็จเจ้าพะโคะหรือหลวงพ่อทวด เหยียบน้ำทะเลจืด) ได้ร่วมสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาจำนวน ๒๐ องค์ ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ได้รับการบูรณะและสร้างเพิ่มเติมขึ้นอีก ๑๗ องค์ ด้านทิศตะวันออกของเศียรพระพุทธไสยาสน์ มีกรุพระพิมพ์ที่ชาวบ้านได้ขุดพบพระแบบต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก มีทั้งพระจำหลักไม้พระพุทธรูปปูนปั้น พระสำริด และพระพิมพ์ดินดิบสมัยศรีวิชัย ชาวบ้านเรียกว่า“พระผีทำ”ปากถ้ำมีหินเป็นชั้นกั้นติดกับหินปากถ้ำ สูงประมาณ ๒ เมตร ชาวบ้านเรียกว่า “หัวทรพี” ตรงข้ามเป็นรูปพระฤาษีตาไฟปูนปั้น มีตำนานนางเลือดขาวกับเจ้าพระยากุมาร สร้างขึ้นแทนอนุสาวรีย์ตาสามโมกับยายเพชรและได้บรรจุอัฐิของตายายทั้ง ๒ ท่านไว้ภายในชาวบ้านถือว่า ศักดิ์สิทธิ์มากมีการบนบานปิดทองเต็มทั้งองค์จนไม่สามารถเห็นลักษณะแท้จริงได้ เคยได้รับการบูรณะมาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๘ ถ้ำคูหาสวรรค์มีตำนานเรื่องเล่าที่มีที่มาจากเรื่องรามเกียรติ์
สิ่งสำคัญภายในถ้ำคูหาสวรรค์
๑. พระพุทธรูปปูนปั้นและปั้นด้วยดินเหนียวเรียงแถวเป็นระเบียบทางด้านทิศเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันตกรวม ๓๗ องค์ มีขนาดต่าง ๆ กัน หน้าตักกว้างตั้งแต่ ๐.๕๐ ถึง-๑.๕๐ เมตร
๒. พระพุทธรูปขนาดใหญ่ปางมารวิชัย ๑ องค์ ขนาดหน้าตักกว้าง ๓.๓๖ เมตร สูงตลอดรัศมี ๖ เมตร
๓. พระพุทธรูปปูนปั้นปางไสยาสน์ ๑ องค์ ขนาดยาว ๑๒ เมตร สูง ๒ เมตร หันพระเศียรไปทางทิศตะวันออก ผินพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ
๔. พระพิมพ์ดินดิบ
๕. จารึกพระนามย่อพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์และเจ้านายเชื้อพระวงศ์ที่เคยเสด็จประพาสเรียงตามลำดับดังนี้
๑) จปร. ๑๐๘ (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)
๒) ปปร. ๒๕.๑๐.๒๔๗๑ (พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว)
๓) บส. ๓๐.๑๐.๗๓ (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิจ)
๔) ภปร. ๑๗.๓.๒๕๐๒ (พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร)
๕) สก. ๑๗.๓.๒๕๐๒ (เด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง)
๒. พระอุโบสถ
พระอุโบสถวัดคูหาสวรรค์ ตามความในหนังสือทำเนียบวัดจังหวัดของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินมาประกอบพิธียกช่อฟ้าพระอุโบสถวัดคูหาสวรรค์ เมื่อวันที่ ๑๐ ก.ย. ๒๕๒๐ สำหรับพระประธานในพระอุโบสถนั้น สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง (พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๕) ได้พระราชทานมาพร้อมพระพุทธรูปยืน ซ้ายขวา อีก ๒ องค์ พระประธานในพระอุโบสถของวัดคูหาสวรรค์นั้นสวยปานองค์พระวิษณุกรรมรังสรรค์ องค์พระสร้างมาจากทองคำ