รำวงคองก้า เป็นศิลปะการแสดงหนึ่งที่เกิดขึ้นในสมัยจอมพล ป. พิบูลย์สงคราม ซึ่งได้นำเข้ามาและนำมาเป็นนโยบายของชาติ เพื่อเป็นกุศโลบายในกสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่คนภายในประเทศ ในระหว่างช่วงสงคราม รำวงคองก้า จึงอยู่ในความทรงจำด้วยเสน่ห์และคุณค่าทางวัฒนธรรม สำหรับจังหวัดหนองบัวลำภู ที่โดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดหนองบัวลำภู ที่มีการสืบทอดมาตลอด คือรำวงคองก้าบ้านขาม ตำบลบ้านขาม จังหวัดหนองบัวลำภู ตามประวัติของรำวงคองก้า มีพัฒนาการมาจากรำโทนใช้จังหวะคองก้าแบบคิวบา มีการเต้นส่ายสะโพก ผสมผสานกับการรำวง รำวงคองก้าบ้านขาม เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๑ โดยนายจันทร์ ขันติโก และนายสมศรี พันธุ์ก่ำ ชาวบ้านขาม เดินทางไปว่าจ้างรำวงของนางบัวผัน สมานฉันทร์ บ้านห้วยบง จังหวัดขอนแก่น เพื่อมาแสดงการรำวงและเปิดโอกาสให้ชายหนุ่ม และผู้ร่วมงานซื้อบัตรและร่วมรำวง จนเกิด ความนิยมและรวมตัวกันเป็นกลุ่มคณะ และเป็นที่รู้จักกันว่า รำวงคองก้าบ้านขาม เป็นรูปแบบของการละเล่นของชาวบ้านใน ท้องถิ่นบ้านขามลักษณะของการแสดงรำวงเป็นการ แสดงเพื่อความบันเทิงการแสดงครั้งหนึ่งมีผู้แสดงประมาณ ๒๐ คู่ แบ่งเป็นชาย–หญิง รำเป็นวงกลม บนลาน เวที หรือที่ว่างที่ เหมาะสมในการละเล่น ผู้เล่นใช้ท่ารำและ ย่ำ เท้าเดินตามจังหวะเพลงไทย ไม่เคร่งครัดท่ารำ การแต่งกายแต่งตามแบบนิยม ของท้องถิ่นอีสาน หรือการแต่งกาย ตามสมัยนิยมก็ได้ นอกจากเป็นการแสดง ของคณะที่แสดงแล้วยังเปิดโอกาสให้ ผู้ร่วมงานหรือชาวบ้าน ร่วมรำวงด้วย