ประวัติความเป็นมา : พื้นที่ตั้งโครงการมีเนื้อที่ทั้งหมด 34 ไร่ 3 งาน เดิมเป็นที่ดินของนางสาวอำนวย โพธิ์เจริญ ใช้ทำนาปี ผลผลิตค่อนข้างต่ำเนื่องจากสภาพดินเป็นดินเปรี้ยว ต่อมาได้น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ผ่านกองราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง) และได้โอนกรรมสิทธิ์เป็นของมูลนิธิชัยพัฒนา เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2541 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานพระราชดำริในคราวประชุมมูลนิธิชัยพัฒนา เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2542 ให้นำพื้นที่ดังกล่าวมาจัดทำเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาตามธรรมชาติ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ได้ถวายความเห็นไว้ จึงได้มีการเลี้ยงและเพาะพันธุ์ปลานิลจิตรดา เพื่อแจกจ่ายประชาชน ชุมชน ที่จะนำพันธุ์ปลานิลจิตรดาไปเลี้ยงและเพาะพันธุ์ขายเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชนและครอบครัวต่อไปลักษณะของแหล่ง/ความสำคัญ/อัตลักษณ์/ความโด่ดเด่น :1. เป็นจุดสาธิตการเพาะขยายพันธุ์ปลานิลจิตรลดา2. ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเพาะเลี้ยงปลานิลจิตรลดาแก่เกษตรกรและผู้ที่มีความสนใจ3. จำหน่ายปลานิลที่เพาะขยายพันธุ์ เพื่อเสริมรายได้ให้แก่โครงการ4. แปรรูปปลานิลเพื่อเพิ่มมูลค่าและจำหน่ายเป็นรายได้โครงการโครงการ/กิจกรรมที่เป็นการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาดูงาน1. โครงการด้านการประมง ได้แก่ กิจกรรมเพาะพันธุ์ปลา กิจกรรมเพาะเลี้ยงปลา กิจกรรมเพาะปลานิลพระราชทาน ดำเนินการเพาะพันธุ์ปลานิลเพื่อจำหน่ายและพระราชทาน2. โครงการแปรรูปผลิตผลจากการเกษตร ได้แก่ กิจกรรมแปรรูปปลานิล ดำเนินการนำปลานิลมาแปรรูปเป็นปลานิลแดดเดียวไร้กางเพื่อจำหน่าย3. โครงการบริหารงานทั่วไป ได้แก่ กิจกรรมบริหารงานทั่วไป กิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยี กิจกรรมไม้ผล ดำเนินการบริหารงานทั่วไปในโครงการ โดยการตัดหญ้า ทำความสะอาดบริเวณภายในโครงการให้สวยงามสะอาดตา แก่ผู้เข้ามาติดต่อประสานงาน ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะขยายพันธุ์ปลานิล และดูแลไม้ผล (มะม่วง)