ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 18° 41' 5.311"
18.6848086
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 48' 0.0184"
100.8000051
เลขที่ : 196332
วิทยานิพนธ์ : ความสัมพันธ์ระหว่างเมืองน่านกับสุโขทัยและล้านนา ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 - 22 จากหลักฐานทางโบราณคดี
เสนอโดย สนง.วัฒนธรรม จ.น่าน วันที่ 24 มีนาคม 2565
อนุมัติโดย สนง.วัฒนธรรม จ.น่าน วันที่ 25 มีนาคม 2565
จังหวัด : น่าน
0 396
รายละเอียด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเมืองน่านกับสุโขทัย และล้านนา ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 – 22 จากการรวบรวมหลักฐานทางโบราณคดี ร่วมกับหลักฐานที่ได้จากการสำรวจทางโบราณคดีในพื้นที่ 3 พื้นที่ ได้แก่ อาเภอปัว อำเภอภูเพียง และอาเภอเมืองน่าน โดยผลการวิจัยสามารถแบ่งได้เป็น 6 ระยะ คือ

ระยะที่ 1ร่องรอยการตั้งถิ่นฐานก่อนสมัยพญาภูคา (ราวพุทธศตวรรษที่ 17 - 18) พบเพียงหลักฐานเอกสารพื้นเมืองพะเยาที่แสดงให้เห็นร่องรอยการตั้งถิ่นฐานในพื้นที่จังหวัดน่าน

ระยะที่ 2สมัยพญาภูคา (ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 18) การตั้งถิ่นฐานมีความชัดเจนและสัมพันธ์กับล้านนาเป็นครั้งแรกแต่เป็นด้านการขยายอำนาจ

ระยะที่ 3กำเนิดเมืองพลัว (ปัว) (ก่อน พ.ศ. 1835 - 1881) เมืองพลัวอาจเกิดขึ้นบนเส้นทางเครือข่ายการค้า และเป็นครั้งแรกที่สุโขทัยแผ่อานาจขึ้นมาถึงเมืองน่าน

ระยะที่ 4เวียงภูเพียงแช่แห้งและเวียงน่าน (พ.ศ. 1899 - 1985) เมืองน่านสัมพันธ์กับสุโขทัยอย่างใกล้ชิดทั้งการเมืองและเครือญาติรวมถึงงานศิลปกรรม ขณะที่หลักฐานทางโบราณคดีและการผลิตภาชนะดินเผาเมืองน่านแสดงถึงความสัมพันธ์กับทั้งสุโขทัยและล้านนา

ระยะที่ 5เมืองน่านภายใต้การปกครองของล้านนา (พ.ศ. 1993 - 2101) อิทธิพลทางการเมืองจากล้านนาเข้าสู่เมืองน่านเป็นครั้งแรกพร้อมกับงานศิลปกรรม ทั้งยังอาจทำให้ล้านนาได้ประโยชน์ด้านทรัพยากรอีกด้วย

ระยะที่ 6เมืองน่านขึ้นกับพม่า (พ.ศ. 2101 - 2326) แม้พม่าจะเข้าปกครองเมืองน่านแต่อิทธิพลด้านงานศิลปกรรมจากล้านนายังคงสืบมา

การเข้าถึงไฟล์

http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1848

บรรณานุกรม

อริย์ธัช นกงาม. (2561).ความสัมพันธ์ระหว่างเมืองน่านกับสุโขทัยและล้านนา ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 - 22 จากหลักฐานทางโบราณคดี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.

หมวดหมู่
เอกสารหนังสือ
สถานที่ตั้ง
จังหวัด น่าน
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง ปริญญา นาควัชระ อีเมล์ nan-culture@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดน่าน
จังหวัด น่าน รหัสไปรษณีย์ 55000
โทรศัพท์ 054-711650
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่