ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 56' 16.0354"
14.9377876
ลองจิจูด (แวง) : E 103° 48' 19.4897"
103.8054138
เลขที่ : 196364
ปราสาทศีขรภูมิ
เสนอโดย สุรินทร์ วันที่ 30 มีนาคม 2565
อนุมัติโดย mculture วันที่ 30 มีนาคม 2565
จังหวัด : สุรินทร์
0 321
รายละเอียด

ปราสาทศีขรภูมิ

อายุสมัย อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ และบูรณะปฏิสังขรณ์ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๒ – ๒๓

กรมศิลปากร ได้ทำการขุดแต่งศึกษาบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์ปราสาทศีขรภูมิและประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดขอบเขตฌบราณสถานปราสาทศีขรภูมิในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๙๘ ตอนที่ ๑๐๒ วันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๓๔ กำหนดพื้นที่โบราณสถานปราสาทศีขรภูมิ ประมาณ ๑๐ ไร่ ๒ งาน ๒๗ ตารางวา

รายละเอียด

ปราสาทศีขรภูมิ ก่อสร้างด้วยอิฐ หินทราย และศิลาแลง ประกอบด้วย ปราสาทอิฐ ๕ องค์ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส โดยมีปราสาทประธาน ๑ องค์อยู่ตรงกลาง และมีปราสาทบริวาร ๔ องค์ ล้อมอยู่ทั้ง ๔ ทิศ ทั้งหมดตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกัน และมีสระน้ำล้อมรอบเว้นทางเข้าด้านหน้าด้านหลัง

ปราสาทประธาน มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุม ไม่มีมุขยื่น มีประตูทางเข้า-ออกด้านทิศตะวันออกเพียงด้านเดียว ทับหลังแกะสลักจากหินทรายรูปศิวนาฏราชบนแท่น มีรูปหงส์แบก ๓ ตัวอยู่เหนือเศียรเกียรติมุข มีรูปพระคเณศ พระพรหม พระวิษณุ และพระอุมาอยู่ด้านล่าง ส่วนเสาประดับกรอบประตูสลักเป็นลายเทพธิดา ลายก้ามปู และรูปทวารบาล ส่วนบริเวณหน้าบันเป็นอิฐประดับลวดลายปูนปั้น

ปราสาทบริวาร มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุม มีประตูทางเข้า-ออกด้านทิศตะวันออกด้านเดียว พบทับหลัง ๒ ชิ้น สลักด้วยหินทราย ชิ้นที่หนึ่งสลักเป็นภาพพระกฤษณะประลองกำลังกับช้างและคชสีห์ ชิ้นที่สองสลักเป็นภาพพระกฤษณะประลองกำลังกับคชสีห์ ส่วนปราสาทบริวารองค์ด้านหน้าขวาของปราสาทประธานพบจารึกหินทรายบนผนังกรอบประตู เป็นจารึกอักษรธรรมอีสาน ภาษาไทย-บาลี กล่าวถึงเรื่องราวของกลุ่มพระเถระผู้ใหญ่และท้ายพระยา ร่วมกันบูรณะปฏิสังขรณ์โบราณสถานแห่งนี้

ปราสาทศีขรภูมิ เป็นศาสนสถานที่สร้างขึ้นเนื่องในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย และต่อมาคงมีการดัดแปลงให้เป็นวัดในพุทธศาสนา ตามที่มีหลักฐานการบูรณะปฏิสังขรณ์ในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๒ – ๒๓ ในสมัยอยุธยาตอนปลาย จากลักษณะลวดลายบนเสาประดับกรอบประตูและทับหลัง ปราสาทศีขรภูมิอยู่ในศิลปะขอมแบบบาปวน (พ.ศ.๑๕๖๐ – ๑๖๓๐) และแบบนครวัด (พ.ศ.๑๖๕๐ – ๑๗๒๐)

แต่ละปีจะจัดงานประเพณีสืบสานตำนานพันปีปราสาทศีขรภูมิ จะจัดอยู่ในช่วงเดือน พฤศจิกายน ของทุกปี โดยภายในงานมีการจัดกิจกรรมต่างๆ จำนวนมาก เช่น การจัดขบวนแห่วัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่นโบราณ ทั้ง เขมร ลาว กูย จีน, พิธีบวงสรวงองค์ปราสาทศีขรภูมิ, การแสดงแฟชั่นโชว์ผ้าไหม เอกลักษณ์สุรินทร์ ชุด “สายใยไหมพลังแห่งน้ำ”, การแสดง “เรือศีขรภูมิ” อันวิจิตรตระการตา พร้อมชมการแสดงนิทรรศการวิถีชีวิตดั้งเดิม เขมร ลาว กูย และเลือกซื้อสินค้า ของดีศีขรภูมิ

สถานที่ตั้ง
ตำบล ระแงง อำเภอ ศีขรภูมิ จังหวัด สุรินทร์
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง สำนักงานวัฒนธรรม สุรินทร์ อีเมล์ surin@m-culture.go.th
ชื่อที่ทำงาน admin
ตำบล นอกเมือง อำเภอ เมืองสุรินทร์ จังหวัด สุรินทร์ รหัสไปรษณีย์ 32000
โทรศัพท์ 044511963
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่