ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 18° 35' 40.4776"
18.5945771
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 1' 17.8597"
99.0216277
เลขที่ : 196522
ตุงค่าคิง
เสนอโดย ลำพูน วันที่ 25 เมษายน 2565
อนุมัติโดย ลำพูน วันที่ 25 เมษายน 2565
จังหวัด : ลำพูน
0 481
รายละเอียด

ตุง

ตุงเป็นภาษาถิ่นเหนือ หมายถึง ธงของชาวล้านนา มีรูปแบบและใช้วัสดุต่างกัน ทำด้วย ผ้า ไม้ โลหะ ด้าย หรือกระดาษ แบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้ ตุงที่มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าห้อยลง ได้แก่ ตุงไชย ตุงค่าคิง ตุงสามหาง และตุงกระด้าง อีกชนิดหนึ่งเป็นธงรูปสามเหลี่ยมที่เรียก ช่อ จ้อ หรือธงช่อ โดยตุงนั้น บางทีเขียนทุงหรือธุง แต่ออกเสียงว่าตุง ภาษาถิ่นอีสานเรียกทุง

ตุงค่าคิง

ตุงค่าคิงเป็นภาษาถิ่นเหนือ หมายถึง ตุงที่ทำด้วยกระดาษว่าวสีขาว กว้างประมาณ ๑ คืบ ยาวเท่ากับความสูงของเจ้าของตุง ตกแต่งขอบด้วยกระดาษเงิน กระดาษทอง หัวท้ายตัดให้แหลม คันตุงทำด้วยเรียวไม้ไผ่ ตุงชนิดนี้ใช้ในพิธีสะเดาะเคราะห์ พิธีสืบชะตา หรือพิธีบูชากองเจดีย์ทรายวันสงกรานต์ ของชาวล้านนาเพื่อความสวัสดีและอยู่เย็นเป็นสุข

ตุงค่าคิงเมืองลำพูน

ตุงค่าคิงเมืองลำพูนนั้น มีลักษณะเป็นตุงผ้าหลากสีตัดให้มีสรีระเหมือนอย่างคน หรือเทวดา สวมมงกุฎและเครื่องทรงอย่างเทวดาที่ปรากฎในประติมากรรมวัดจามเทวี โดยตุงค่าคิงเมืองลำพูนนั้น มีความยาวตั้งแต่หัวตุงจรดตีนตุงอยู่ ๑๖๕ ซม. กว้าง ๒๘ ซม. ช่วงเอวไปจนถึงตีนตุงตัดเป็นลวดลายแบบพื้นเมืองล้านนาที่สวยงาม ประดับดัวยกระดาษทอง และลายดอกกระดาษทองแบบพื้นเมืองล้านนา ตุงค่าคิงใช้ในพิธีสืบชะตาสะเดาะเคราะห์ในวันมหาสงกรานต์ หรือวันพญาวัน ในประเพณีปี๋ใหม่เมืองล้านนา โดยตุงค่าคิงนั้น แทนคนหนึ่งคน คิง หมายถึง ตัว หรือร่างกายตนเอง ฉะนั้นตุงค่าคิงจึงหมายถึงตุงแทนตัว หรือตุงที่มีขนาดเท่าตัวเอง โดยชาวล้านนาเชื่อว่า หากตัวไม่ได้อยู่ร่วมพิธีก็ให้เอาตุงที่มีขนาดเท่าตนเองเข้าร่วมพิธีแทน เพื่อสืบชะตา สะเดาะเคราะห์ เคราะห์ใดที่จะเกิดแก่เราก็ให้ตุงรับไปแทน

วัสดุอุปกรณ์ในการทำตุงค่าคิง ๑ ตัว

๑. ผ้าโทเร ขนาด ๒๘ x ๑๖๖ ซม. จำนวน ๑ ผืน

๒. พิมพ์ตุงค่าคิงส่วนหัวถึงปลายลำตัว และส่วนหาง

๓. กำไลข้อมือ ๒ อัน ทำจากกระดาษทองตัดขอบหยักฟันปลา โดยใช้กระดาษทองกว้าง ๗ ซม. พับครึ่ง จะได้ด้านละ ๓.๕ ซม. แล้วทำการตัดเป็นรูปทรงโค้ง โดยไม่ให้ขาดออกจากกัน

๔. กระดาษทองตัดขอบหยักฟันปลา กว้าง ๘ มม.

๕. กาวผสม (กาวลาเท็กซ์ผสมกาวยาง อัตราส่วน ๓:๑)

๖. ไม้ไผ่เฮียะที่ทำการจักเปลือกไผ่ออกแล้ว กว้าง ๔ – ๕ มม. ยาว ๑๕ ซม. ๑ ชิ้น
ยาว ๗.๕ ซม. ๑ ชิ้น และยาว ๒ ซม. ๑ ชิ้น รวมเป็น ๓ ชิ้น

๗. ดอกลายประจำยาม จำนวน ๘ ดอก

๘. กรรไกรจีน

๙. ดินสอ

๑๐. เชือกปอยาว ๔๐ ซม.

๑๑. คลิปหนีบกระดาษขนาดเล็ก

๑๒. ผ้าแห้ง ๒ ผืน

๑๓. ถังใส่น้ำเปล่า

๑๔. แผ่นพลาสติกใส ขนาด ๑๐ x ๑๒ ซม. ๑ แผ่น และขนาด ๓๐ x ๖๐ ซม. ๑ แผ่น

๑๕. ไม้บรรทัดไม้ไผ่ หนา ๕ มม. กว้าง ๑.๕ ซม. ยาว ๓๕ ซม. ๑ เล่ม

๑๖. ไม้บรรทัดเหล็กขนาด ๒ ฟุต ๑ เล่ม

๑๗. หน้าตุงสำเร็จ ๒ หน้า

๑๘. พิมพ์ส่วนลำตัว ขนาด ๑๖ x ๓๐ ซม. สำหรับทำกรอบสี่เหลี่ยม

๑๙. ขวดหยอดกาวผสม ทำจากขวดบรรจุกาวแบบหยอด หรือขวดน้ำจิ้มแบบเติม

๒๐. แปรงสีฟัน

๒๑. ราวตากตุง ทำจากเชือกขึงระหว่างเสา

สถานที่ตั้ง
ชุมชนคุณธรรมวัดจามเทวี
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองลำพูน จังหวัด ลำพูน
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน
อีเมล์ culturelamphun@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองลำพูน จังหวัด ลำพูน รหัสไปรษณีย์ 51000
โทรศัพท์ 053-510243 โทรสาร 053-510244
เว็บไซต์ https://www.m-culture.go.th/lamphun/main.php?filename=index
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่