ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 8° 24' 41.2395"
8.411455430110504
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 57' 58.1481"
99.96615226268887
เลขที่ : 196535
วิหารพระทรงม้า วัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร
เสนอโดย นครศรีธรรมราช วันที่ 3 พฤษภาคม 2565
อนุมัติโดย นครศรีธรรมราช วันที่ 3 พฤษภาคม 2565
จังหวัด : นครศรีธรรมราช
0 742
รายละเอียด

วิหารพระทรงม้าวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารหรือที่ชาวบ้านเรียกกันทั่วไปว่าวิหารพระม้าหรือมีชื่ออย่างเป็นทางการว่าวิหารมหาภิเนษกรมณ์เป็นวิหารหลักใช้สำหรับเป็นทางขึ้นไปประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น การแห่ผ้าขึ้นพระธาตุ เพื่อเป็นการสักการะบูชาองค์พระมหาธาตุเจดีย์ จัดเป็นประตูขึ้นไปสู่การเคารพสักการะสิ่งสูงสุด คือ พระทันตธาตุของพระพุทธเจ้า ผู้คนที่เดินทางมาจากทั่วสาระทิศมักจะได้มาสักการะบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นของคู่บ้านคู่เมืองที่วิหารพระทรงม้า เป็นลำดับแรก

วิหารพระทรงม้า หรือ วิหารมหาภิเนษกรมณ์ เป็นวิหารขนาดไม่ใหญ่นัก มีรูปปูนปั้นแสดงถึงพุทธประวัติในตอนที่มีการเสด็จออกบวชของเจ้าชายสิทธัตถะหรือพระพุทธเจ้า โดยที่ “มหาภิเนษกรมณ์” นั้นหมายถึง การเสด็จออกเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่แก่มวลมนุษย์ เป็นการเสด็จออกบวชของเจ้าชายสิทธัตถะ ซึ่งเป็นความประสงค์ของเจ้าชายสิทธัตถะที่จะแสวงหาทางหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง หรือที่เรียกว่า โมกขธรรม ซึ่งจะยังประโยชน์เพื่อช่วยปลดเปลื้องทุกข์ให้แก่พระองค์และแก่ผู้ศรัทธาทั้งปวงตามแนวทางของเจ้าชายสิทธัตถะนั้นได้ จึงกล่าวได้ว่าการออกบวชของเจ้าชายสิทธัตถะนั้นเป็นไปเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่ และในกาลต่อมาหลังการตรัสรู้จึงได้กลายเป็น “พระพุทธเจ้า” นั่นเอง

ดังนั้น ที่ด้านข้างบันไดขึ้นไปสู่พระมหาธาตุเจดีย์ในวิหารพระทรงม้าเมื่อได้มีการก่อสร้างขึ้น จึงมีการปั้นปูนเป็นเรื่องพุทธประวัติตอน “มหาภิเนษกรมณ์” ขึ้น เป็นรูปเจ้าชายสิทธัตถะทรงม้าทั้งด้านซ้ายและด้านขวา มีเหล่าเทพเทวาต่าง ๆ มากมายมาร่วมถวายศรัทธา และการที่ชาวนครศรีธรรมราชสร้างวิหารพระทรงม้าขึ้นมาเพื่อเป็นการสะท้อนโลกทัศน์ของตนเองต่อความศรัทธาในพระพุทธศาสนา แล้วยังให้แก่อนุชนได้พบเห็นและได้ตระหนักถึงเจตนาของความสำคัญเบื้องแรกในการสร้างวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารนี้ ซึ่งเป็นโลกทัศน์ของชาวนครที่เชื่อมต่อกับพระมหาธาตุเจดีย์นั้นเอง

ลักษณะของวิหารพระทรงม้าเป็นการสร้างวิหารเชื่อมต่อกับพระบรมธาตุเจดีย์ออกมาทางด้านทิศเหนือ วิหารพระทรงม้าแต่เดิมเป็นวิหารที่มีหลังคาเดียวกันกับ “วิหารเขียน” ในอดีต วิหารแห่งนี้มีประตูโค้งสามารถเดินทะลุถึงกันได้ ต่อมาเมื่อวิหารเขียนได้ถูกใช้เป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อเก็บรักษาของจัดแสดง จึงมีการสร้างผนังกั้นแบ่งแยกขาดออกจากกัน วิหารนี้จึงกลายเป็นสองส่วน คือ เป็นวิหารพระทรงม้าหนึ่งสวน และวิหารเขียนอีกหนึ่งส่วน โดยมีพระพุทธรูปประทับขนาดใหญ่ กั้นกลางหรือแยกวิหารออกเป็นสองส่วน พระพุทธรูปนี้เป็นงานศิลปะปูนปั้นแล้วปิดทอง ประทับด้วยปางห้ามญาติ พร้อมด้วยพระอัครสาวกเป็นปูนปั้นยืนขนาบด้านซ้ายและด้านขวา คือ พระโมกคัลลานะและพระสาลีบุตร ตามลำดับ

สถานที่ตั้ง
วัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน - ซอย - ถนน ราชดำเนิน
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองนครศรีธรรมราช จังหวัด นครศรีธรรมราช
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด นครศรีธรรมราช
บุคคลอ้างอิง ผศ.ฉัตรชัย ศุกระกาญจน์ อีเมล์ ns-culture2009@hotmail.com
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่