ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 8° 25' 10.5668"
8.4196019
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 48' 59.3726"
99.8164924
เลขที่ : 196560
รังจำปา
เสนอโดย นครศรีธรรมราช วันที่ 5 พฤษภาคม 2565
อนุมัติโดย นครศรีธรรมราช วันที่ 5 พฤษภาคม 2565
จังหวัด : นครศรีธรรมราช
0 272
รายละเอียด

ความเป็นมา (ภูมิหลัง/ความเชื่อ)

รังจำปา เป็นเครื่องสานที่ใช้ห่อผลไม้ที่มีขนาดใหญ่ จำพวก ขนุน จำปา มะพร้าว เพื่อป้องกันหนอน หรือแมลงที่อาจทำความเสียให้ให้ผลไม้ได้ โดยทั่วไปทำจากใบมะพร้าว นำใบมาคลี่และสานเพื่อให้สามารถใช้งานได้

ขั้นตอนการทำรังจำปา

การทำรังจำปา เริ่มด้วยเลือกทางมะพร้าวที่มีก้านใบสมบูรณ์ดีไม่มีรอยฉีกขาดหรือมีแต่น้อย ตัดทางให้เป็นท่อนติดก้านใบข้างละ ๓ ก้าน รวม ๖ ก้าน นำท่อนทางที่ตัดแล้วจำนวน ๒ ท่อนสานเข้าด้วยกัน โดยจับท่อนทางทั้งคู่หันหน้าเข้าหากัน สานขึ้นรูปทีละด้านด้วยลายขัด เมื่อขัดตอกได้ ๔ ตาแล้ว ใช้ก้านมะพร้าวทำเป็นหมุดกลัดตอกเส้นบนสุดของทั้งสองข้างไว้กันหลุด แล้วพลิกไปสานด้านตรงข้ามต่อไป ขัดตอกตามวิธีเดิมจนได้ รูปคล้ายกรวย ปลายตอกทั้งสองของแต่ละท่อนทางจะไปรวมอยู่ด้านเดียวกัน ขัดตอกตามวิธีเดิมจนใกล้สุดปลายตอกใบ รวบปลายใบขัดเป็นปม ๒ ปม คล้ายผมเปีย ก็จะได้รังจำปาสำหรับใช้งาน

ประโยชน์

รังจำปา เป็นเครื่องมือที่ทำจากภูมิปัญญาท้องถิ่นผสานกับทักษะในการจักรสานของชาวบ้าน นำใบมะพร้าวซึ่งถือว่าวัตถุดิบจากธรรมชาติมาสานจนกลายเป็นเครื่องมือที่สามารถใช้ห่อผลไม้ต่าง ๆ ของชาวสวน และรังจำปายังมีความสวยงามตามธรรมชาติโดยสามารถนำมาประยุกต์เป็นที่สำหรับใส่ผลไม้สำหรับนำเป็นของฝากได้อีกด้วย

คำสำคัญ
รังจำปา
สถานที่ตั้ง
ชุมชนวัดดินดอน
ตำบล ท่าดี อำเภอ ลานสกา จังหวัด นครศรีธรรมราช
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช
บุคคลอ้างอิง อาจารย์ชูศรี แก้วปาน อีเมล์ ns-culture2009@hotmail.com
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่