ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 12° 10' 58.3295"
12.1828693
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 33' 22.7606"
102.5563224
เลขที่ : 196618
ต้นตะบูน บ้านท่าระแนะ
เสนอโดย ตราด วันที่ 24 พฤษภาคม 2565
อนุมัติโดย ตราด วันที่ 24 พฤษภาคม 2565
จังหวัด : ตราด
0 462
รายละเอียด

ชื่อตันไม้ สามัญ (COMMON NAME) : CANNONBALL MANGROVE, CODAR MANGROVE

ชื่อวงศ์ : MELIACEAE (วงศ์กระท้อน)

ชื่อวิทยาศาสตร์ (SCIENTIFIC NAME) : XYLOCARPUS GRANATUM J. KOENIG

ชื่อท้องถิ่น (VERNACULAR NAME) : กระบูน กระบูนขาว ตะปูน ตะบูนขาว

กลุ่มต้นตะบูน อายุกว่า ๑๐๐ ปี ขนาดเส้นรอบวง ๒.๖๐ - ๓.๔๐ เชนติเมตร สูง ๑๐ - ๑๕ เมตร อยู่ในป่าชายเลนนับพันไร่ที่ยังอุดมสมบูรณ์ ของบ้านท่าระแนะ ตำบลหนองคันทรง อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด ซึ่งเป็นป่าชายเลนที่ได้รับรางวัลอันดับหนึ่งของประเทศเรื่องความอุดมสมบูรณ์เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๖ โดยป่าชายเลนแห่งนี้ ประกอบไปด้วย ป่าโกงกาง ป่าจาก และป่าตะบูน ในพื้นที่กว่า ๒,๐๐๐ ไร่ ซึ่งต้นตะบูนในป่าแห่งนี้มีมากกว่า ๑,๐๐๐ ต้น จัดเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ของทั้งชาวบ้านและสัตว์ทะเล โดยในอดีต ชาวบ้านจะนำต้นตะบูนมาใช้สอยในครัวเรือน ทำทัพพีตักข้าว ไปจนถึงเฟอร์นิเจอร์ เนื่องจากเป็นไม้ที่มีความคงทน แข็งแรง ปัจจุบันทางชุมชนได้เปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศให้นักท่องเที่ยวได้ชมมหัศจรรย์ทางธรรมชาติ "มหัศจรรย์ลานตะบูน" ซึ่งเกิดจากรากของตันตะบูนใน ป่าชายเลนที่เลื้อยขึ้นมาถักทอเป็นคลื่นสานกันอยู่บนพื้นดิน โดยการมีรากลอยอยู่บนดินโคลน ไม่จมอยู่ใต้ดินเหมือนต้นไม้ทั่วไป เอกลักษณ์แห่งต้นตะบูนนี้ยังได้รับการยกย่องให้เป็น "รุกขมรดกของแผ่นดิน" ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๑ ของกระทรวงวัฒนธรรม โดยการจะเดินทางไปชมลานตะบูนนั้นเราต้องนั่งเรือเข้าไป ตลอดระยะทาง ๒ กิโลเมตร ผ่านต้นไม้ขนาดใหญ่ให้ความรู้สึกว่ากำลังเข้าไปในป่ายุคดึกดำบรรพ์

หมวดหมู่
อื่นๆ
สถานที่ตั้ง
ชุมชนบ้านท่าระแนะ
หมู่ที่/หมู่บ้าน 2
อำเภอ เมืองตราด จังหวัด ตราด
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม (๒๕๖๑) รุขมรดกของแผ่นดิน
ตำบล ห้วยขวาง อำเภอ เขตห้วยขวาง จังหวัด กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ 10310
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่