ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 47' 26.048"
16.7905689
ลองจิจูด (แวง) : E 103° 40' 5.3238"
103.6681455
เลขที่ : 196653
สิมโบราณ อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์
เสนอโดย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ วันที่ 30 พฤษภาคม 2565
อนุมัติโดย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ วันที่ 30 พฤษภาคม 2565
จังหวัด : กาฬสินธุ์
0 577
รายละเอียด

อำเภอคำม่วง

๑.ประวัติและความเป็นมา

ความเป็นมาของอำเภอคำม่วง เดิมขึ้นอยู่กับการปกครองของอำเภอ สหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ กระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศจัดตั้งกิ่งอำเภอคำม่วง ขึ้นเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๑๕ และได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอคำม่วง ในวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๑๙ โดยที่ว่าการอำเภอคำม่วง ตั้งอยู่บ้านคำม่วง หมู่ที่ ๔ ตำบลทุ่งคลอง

“ คำม่วง ” มีความหมายแยกออกเป็น ๒ คำ คือคำว่า “ คำ ” และ “ม่วง ” เป็นการเรียกลักษณะของธารน้ำที่ไหลซึมจากพื้นดินตลอดปี และบังเอิญไหลผ่านต้นมะม่วงใหญ่ เมื่อมองดูจึงเหมือนธารน้ำไหลจากโคนต้นมะม่วง จึงนำมาตั้งชื่อเป็น “ลำห้วยคำม่วง”และได้นำมาตั้งชื่อเป็นบ้านคำม่วง และอำเภอคำม่วง ตามลักษณะภูมิประเทศของที่ตั้งอำเภอคำม่วง สำหรับชนกลุ่มแรกที่มาอยู่บริเวณบ้านคำม่วง อพยพมาจากบ้านกุดสิม ปัจจุบันบ้านกุดสิมขึ้นกับการปกครองของอำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยได้ตั้ง ถิ่นฐานอยู่ที่บ้านเก่าเดื่อ (ปัจจุบัน คือ หมู่ที่ ๖ ตำบลทุ่งคลอง) ต่อมาได้เกิดโรคฝีดาษระบาด จึงได้ย้ายมาที่โคกคำม่วง และได้ขยายไปตั้งหมู่บ้านต่าง ๆ จนถึงปัจจุบันแบ่งการปกครองออกเป็น ๖ ตำบล ๒ เทศบาลตำบล คือ ตำบลทุ่งคลอง ตำบลโพน ตำบลเนินยาง ตำบลนาบอน ตำบลดินจี่ ตำบลนาทัน เทศบาลตำบลคำม่วงและเทศบาลตำบลโพน

อำเภอคำม่วง มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นอยู่หลายแห่ง ทั้งที่เป็นมรดกทางธรรมชาติและมรดกทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะทางด้านทิศเหนือของอำเภอที่เป็นเทือกเขาภูพาน มีระบบนิเวศวิทยาที่ยังคงมีความอุดมสมบูรณ์ ทั้งภูเขา น้ำตก หน้าผา ถ้ำที่สวยงาม อาทิ ภูพรานยอด ภูปอ ภูโป่ง ภูปูน ภูตุ่น ภูถ้ำพระ ภูผักหวาน ผานางคอย ในเขตตำบลนาบอน อ่างเก็บน้ำห้วยสมอทบ อันเนื่องมาจากโครงการพระราชดำริ และถ้ำช้างสี ในตำบลดินจี่ น้ำตกสร้างแข้ น้ำตกอังข่า น้ำตกตาดใหญ่ น้ำตกถ้ำขี้เกีย ถ้ำกกพุงและภูผาเพชร (ภูนางเพีย) ในเขตตำบลนาทัน ภูพันหยอดซึ่งเป็นป่าที่มีความหลากหลายทั้งในส่วนของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ ในพื้นที่ ๓,๖๐๐ไร่ ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคลองได้ปรับปรุงพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

๒. สถานที่ท่องเที่ยว

สิมโบราณ อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์

อำเภอคำม่วง มีศาสนสถานเก่าแก่ที่ชาวอำเภอคำม่วงจะต้องช่วยกันอนุรักษ์และรักษาไว้เพื่อให้เยาวชนรุ่นหลังได้ศึกษาค้นคว้าต่อไป สิม(โบสถ์)โบราณ เป็นศาสนสถานที่พุทธศาสนิกชนชาวอีสานใช้เป็นสถานที่ทำพิธีบวชของชายไทยในสมัยก่อน จะมีบริเวณและขนาดเล็กกว่าโบสถ์ในสมัยปัจจุบัน จะมีผู้เข้าร่วมพิธีประมาณ ๓-๕ คนเท่านั้น อำเภอคำม่วงมีสิมโบราณอยู่ ๒ แห่ง คือที่วัดโพธิ์พิพัฒนารามสูงเนิน บ้านสูงเนิน หมู่ที่ ๕ ตำบลเนินยางซึ่งเป็นสิมที่ยังไม่มีการปรับปรุง มีอายุกว่า ๑๐๐ ปี อีกแห่งตั้งที่วัดโพธิ์ชัยบ้านโพน เทศบาลตำบลโพน หมู่ ๔ บ้านโพน เทศบาลตำบลโพน โดยมีพระครูโพธิ์ชัยพัฒนคุณ เจ้าคณะอำเภอคำม่วง เป็นผู้ดูแล ซึ่งเป็นสิมที่ได้รับการปรับปรุงแล้ว และยังใช้ทำพิธีอยู่จนทุกวันนี้ โดยมีอายุประมาณกว่า ๘๐ ปี

สิมทั้ง ๒ แห่งได้ขึ้นทะเบียนของมหาวิทยาลัยขอนแก่นแล้ว

๓.ผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม

ผ้าฝ้ายย้อมคราม

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านโพนแพง หมู่ที่ 4 ตำบลดินจี่ อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์

ชาวบ้านโพนแพงส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรม เมื่อเสร็จจากการทำไร่ ทำนา

แล้วผู้หญิงจะทอผ้า ผ้าที่ทอจะนำมาใช้ในครอบครัว และใช้ในชีวิตประจำวันในโอกาสต่างๆ เช่น ผ้าสไบ

ผ้าแพร ผ้าซิ่น เป็นต้น การทอผ้า เป็นงานของผู้หญิงซึ่งถือเป็นการเตรียมตัวทำหน้าที่เป็นแม่บ้านการสืบทอด

ภูมิปัญญาพื้นบ้านนี้จึงมีการถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่งสืบมาจนถึงปัจจุบัน

การผลิตผ้าย้อมครามบ้านโพนแพง เป็นมรดกทางภูมิปัญญาที่ได้รับการสั่งสมและถ่ายทอดมา

จากบรรพบุรุษ จากรุ่นหนึ่งไปสู่รุ่นหนึ่งที่ซึมซับเข้าสู่วิถีของคนในชุมชน โดยเฉพาะผู้หญิงจะได้รับการถ่ายทอด

ความรู้และกระบวนการผลิตผ้าย้อมครามที่มีการนำมาใช้ในชีวิตประจำวันในรูปแบบต่างๆ ทั้งของตัวเองและ

สมาชิกในครอบครัว ผ้าย้อมคราม ได้สร้างเอกลักษณ์เฉพาะของชุมชนในเรื่องการแต่งกายด้วยกระบวนการ

ผลิตที่อาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ เริ่มตั้งแต่การเตรียมพื้นที่ปลูกฝ้าย

และคราม การปลูกฝ้ายและคราม การบำรุงรักษา การเก็บเกี่ยว การเตรียมฝ้าย การเตรียมน้ำคราม การเตรียม

น้ำสีย้อมธรรมชาติ การย้อม การแปรรูป โดยอาศัยอุปกรณ์ที่หาได้ในท้องถิ่น ทำให้ผ้าย้อมครามแต่ละผืน

ประกอบไปด้วยภูมิปัญญาของชุมชนที่หลากหลาย สามารถบอกเล่าเรื่องราวและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ

ของชุมชน

ปัจจุบันชาวบ้านโพนแพง สภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป จึงมีการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม

โดยมีการปรับเปลี่ยนจุดประสงค์การทอผ้าย้อมครามจากเพื่อไว้สวมใส่ในครัวเรือนเป็นการทอผ้าเพื่อ

การค้าขาย ท าให้เกิดการรวมกลุ่มทอผ้าย้อมครามขึ้น อาทิ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนออมทรัพย์เพื่อการผลิต

ผ้าย้อมคราม ดำเนินการผลิตผ้าย้อมครามเพื่อแปรรูปเป็น ผ้าซิ่นย้อมคราม สไบย้อมคราม เสื้อย้อมคราม

กระเป๋าย่ามย้อมคราม เป็นต้น

สถานที่ตั้ง
ตำบล เนินยาง อำเภอ คำม่วง จังหวัด กาฬสินธุ์
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง พิชิตพล ปาระภา อีเมล์ m.culture.ks@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ ศาลากลางจังหวัดกาฬสินธุ์
ตำบล กลางหมื่น อำเภอ เมืองกาฬสินธุ์ จังหวัด กาฬสินธุ์
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่