ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 29' 35.619"
16.4932275
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 25' 59.8382"
102.4332884
เลขที่ : 196710
ภูมิปัญญาอาหารอีสาน ต้มส้มปลากรดใส่ใบเสี้ยว
เสนอโดย ขอนแก่น วันที่ 15 มิถุนายน 2565
อนุมัติโดย ขอนแก่น วันที่ 15 มิถุนายน 2565
จังหวัด : ขอนแก่น
0 328
รายละเอียด

ต้มส้มปลากรดใส่ใบเสี้ยวนางดวงใจ ช่วยเงิน 12/1 หมู่ 5 ตําบลหนองเรือ อําเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น ได้เล่าว่า ต้มส้มปลากดใส่ ใบเสี้ยวถือเป็นอาหารพื้นบ้าน ตั้งแต่ดั้งเดิมของคนอีสาน ผักเสี้ยว มีชื่อเรียกหลายชื่อ อาทิเช่น เสี้ยวดอกแดง เสียวหวาน เป็นต้น ลักษณะของผักเสียวหรือเสียวดอกแดง มีลําต้นชูกิ่งขึ้นสูงหลายเมตรแต่ถ้าตัดแต่งให้เป็นพุ่มเอาไว้เด็ดยอดอ่อนสูงประมาณ ๑ เมตรเศษๆ กําลังเป็นพุ่มพอเหมาะ แต่ถ้าปล่อยให้ต้นสูงจะเด็ดยอดอ่อนกินลําบากหน่อย ใบสีเขียวเข้มแต่ใบอ่อนยอดอ่อนจะมีสีเขียวอ่อนสว่าง ดอกออกเป็นช่อมีกลีบดอกสีชมพูอมม่วงคล้ายกล้วยไม้ นิยมนํามาปลูกริมรั้วเพื่อเก็บมาทําอาหาร ส่วนที่จะนําไปประกอบอาหารคือ ยอดใบอ่อนของใบเลี้ยว

วัตถุดิบการทําอาหาร ประกอบด้วย :1.ปลากรด 2.ตะไคร้ 3.ใบมะกรูด 4.พริกขี้หนู 5.น้ํามะนาว หรือยอดมะขามอ่อน, ใบส้มเสี้ยว 6.น้ําปลา 7.ผักชี 8.ใบแมงลัก 9.หอมเป (ใบเลื่อย) 10.มะเขือเทศ 11.เกลือ 12.หอมแดง

วิธีทำ

1. นำน้ำซุปใส่หม้อตั้งไฟจนเดือด ใส่ข่า ตะใคร้ ใบมะกรูด พริกขี้หนูทุบ ปล่อบให้เดือดต่ออีกสักครู่ ใส่เนื้อปลา กดลงไปในน้ำเดือด

2. นำมะเขือเทศ หอมแดง ยอดมะขามอ่อน พอเดือดดีจนผักสุก จึงปรุงรสด้วยเครื่องปรุง ปล่อยให้เดือดอีกครั้ง ยกลง

3. คนให้เข้ากัน โรยหน้าด้วยผักชีฝรั่ง หอมแป ใบแมงลัก นำมารับประทานกับข้าว

ลักษณะเด่น/เอกลักษณ์: เนื้อปลาอร่อย น้ำซุปออกเปรี้ยวของใบเสี้ยว น่ารักประทาน

สถานที่ตั้ง
ตำบล หนองเรือ อำเภอ หนองเรือ จังหวัด ขอนแก่น
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
อีเมล์ khonculture@gmail.com
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่